เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 สาขาเกษตรอินทรีย์ “ณัฐรินี สกุลจงเกษมสุข”กับแนวคิด” ความสุขที่แท้จริงเริ่มต้นจากอาหารที่ดี และอาหารที่ดีเริ่มต้นจากธรรมชาติที่ยั่งยืน”

เกษมสุข 1

นางสาวณัฐรินี สกุลจงเกษมสุข อายุ ๕๔ ปี บ้านเลขที่ ๓๖๕ หมู่ที่ ๘ ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การศึกษา ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิตเอกปฐมวัย

อาชีพ เกษตรกร (ปลูกพืชผสมผสาน)

ผัก

ผลงานดีเด่น แนวคิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน

๑. แนวความคิดในการทำงาน เดิมทีประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวและทำงานเกี่ยวกับการเมือง ซึ่งในระหว่างนั้นคุณพ่อคุณแม่ป่วยด้วยโรคมะเร็งและเสียชีวิตในเวลาต่อมาจึงทำให้เกิดแนวคิดที่อยากจะดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้างโดยเชื่อว่าอาหารที่เรารับประทานนั้นมีผลโดยตรงต่อสุขภาพ เพราะฉะนั้นการปลูกผักปลอดสารพิษไว้บริโภคเองจึงตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งการทำเกษตรอินทรีย์จึงเป็นทางเลือกที่ทำให้มั่นใจว่าเราจะได้ผลผลิตที่ปลอดภัยไว้รับประทาน ดีต่อสุขภาพและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดีแน่นอนและการได้อยู่ในฟาร์ม ทำงานกลางแจ้ง ได้สัมผัสธรรมชาติจะช่วยลดความเครียด ทำให้จิตใจผ่อนคลายและสงบนี่คือการดูแลสุขภาพทั้งกายและใจในแบบที่เรียบง่ายแต่ได้ผลจริง

“ความสุขที่แท้จริงเริ่มต้นจากอาหารที่ดี และอาหารที่ดีเริ่มต้นจากธรรมชาติที่ยั่งยืน”

ผัก 4

๒. การพัฒนาใฝ่รู้ เริ่มต้นจากการปลูกผักสลัดในกระถางไว้ข้างบ้าน ประมาณ ๓๐ – ๔๐ กระถาง สาเหตุที่เลือกผักสลัด เพราะว่ามันสวยและเป็นคนที่ชอบกินผักสลัดอยู่แล้ว ช่วงแรก ๆ ไม่ประสบผลสำเร็จเลย ผักต้นไม่สวย ยืดบ้าง เพราะได้แสงไม่เพียงพอ เนื่องจากยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกผัก ไม่ได้ศึกษานิสัยของผักสลัดอย่างจริงจัง จึงปรับแนวคิดใหม่ ศึกษาหาความรู้ด้านการผลิตพืชอินทรีย์ ศึกษาดูงานจากแปลงผลิตพืชอินทรีย์ ไปเยี่ยมชมแปลงอินทรีย์ของเกษตรกรที่มีผลงานโดดเด่น เพื่อเรียนรู้แนวทางการทำเกษตรที่มีประสิทธิภาพเพิ่มเติม เรียนรู้เพิ่มเติมผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ หน่วยงานราชการอื่น ๆ

ผัก 2

-ฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาความรู้และศักยภาพเกษตรกรในการจำหน่ายสินค้าออนไลน์

-เข้าร่วมสัมมนารวมพลเชื่อมโยงเครือข่ายเกษตรกรและองค์กรเกษตรกร

-เข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรต้นแบบ ศพก. เพื่อเสริมความรู้ด้านการใช้ระบบฐานข้อมูลในการทำเกษตร

-อบรมด้านการผลิตพืชเกษตรอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร

ผัก 5

-ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านการผลิตพืชปลอดภัย ทำให้ต่อมาผลผลิตเริ่มดีขึ้น สามารถนำมาทำกินเองภายในครัวเรือนได้ ประมาณปี ๒๕๖๓ ผลผลิตเยอะขึ้นสามารถทำขายได้มาจนถึงทุกวันนี้

๓. การแก้ไขปัญหาด้านการผลิต เศรษฐกิจและสังคม

ด้านการผลิต เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกเป็นดินทรายไม่เหมาะกับการปลูกพืชผักจึงได้มีการปลูกผักแบบยกแคร่ โดยใช้ดินผสมเพื่อทดแทนการปลูกแบบแปลงปลูก และมีการใช้ปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีย์ทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ปุ๋ยและหน้าฟาร์ม นอกจากนี้ยังนำผลผลิตไปจำหน่ายยังจุดบริการที่ทางหน่วยงานภาครัฐจัดไว้ให้ ซึ่งช่วยเพิ่มช่องทางให้กับประชาชนที่สนใจสามารถมาซื้อผักและผลไม้อินทรีย์ได้

-ขายผักในฟาร์มเป็นกิโลกรัม โดยขายทุกชนิดรวมกัน ไม่แยกขายทีละชนิดทำาให้จัดการผลิตในฟาร์มได้มีประสิทธิภาพ

ต้นข้าว

-เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในฟาร์มด้วยการนำผลผลิตในฟาร์มทำการจำาหน่ายทุกวันหยุดสุดสัปดาห์และนักขัตฤกษ์โดยการรับจองออร์เดอร์ล่วงหน้าเท่านั้น คนในครอบครัวช่วยกันทำ ช่วยกันเสิร์ฟ

ด้านสังคม สร้างเครือข่ายความร่วมมือในชุมชนและสนับสนุนการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย ทำให้เกิดความตระหนักในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนโดยมีเครือข่ายการผลิตเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรสร้างสุข เพื่อการท่องเที่ยว จำ นวน ๒๓ รายได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์ ๑๒ ราย ระยะปรับเปลี่ยน ๑ ราย และ PGS จำนวน ๑๐ ราย

ผัก 9

๔. การบริหารจัดการที่ดี คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคโดยการหลีกเลี่ยงสารพิษตกค้าง อีกทั้งยังมุ่งเน้นการผลิตที่มีคุณภาพ และวางแผนการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดด้วยการ เพาะเมล็ดผลิตผักในฟาร์มทุก ๗ วัน ขายผักรวมกันทุกชนิดเป็นกิโลกรัม และเพิ่มมูลค่าผลิตในฟาร์มด้วยการแปรรูปควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนในการผลิตโดยใช้ปัจจัยการผลิตในฟาร์มอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักต่อเชื้อชีวภัณฑ์ใช้เองและนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากกรมวิชาการเกษตรมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการผลิตพืชอินทรีย์ในชุมชน เพื่อสนับสนุนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างเกษตรกร

ผัก 11

ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

๑. การผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพพืชอินทรีย์

พื้นที่ปลูก ไม่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีหรือโลหะหนัก มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็นสัดส่วน พื้นที่ปลูกพืชผัก ไม้ผล คอกปศุสัตว์ และร้านอาหาร น้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกเป็นน้ำสระจากภายในแปลง มีการพักน้ำในถังพักน้ำก่อนนำมาใช้ภายในแปลง การวางแผนการจัดการ (แนวกันชน) มีมาตรการและการปฏิบัติป้องกันการปนเปื้อนที่ชัดเจนทั้งทางดิน น้ำ อากาศ มีการปลูกพืชเป็นแนวกันชนรอบด้าน

ผัก 13

เมล็ดพันธุ์และส่วนที่ใช้ขยายพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มาจากแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ และบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ที่ได้รับการรับรองและใช้ต้นพันธุ์ เมล็ดพันธุ์จากร้านค้าทั่วไป มีกระบวนการล้างเอาสารเคมีออกก่อนนำมาเพาะภายในแปลง

การจัดการผืนดินความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีการปรุงดินเองทั้งหมด ส่วนผสมหลัก คือ มูลวัว มีหน้าดินครึ่งส่วน แกลบเก่า ขุยมะพร้าว แหนแดง น้ำหมักอินทรีย์จากปลา น้ำหมักผลไม้ที่ทำเอง เป็นต้น เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชความอุดมสมบูรณ์ของดินและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ทำให้พืชมีความแข็งแรงและเจริญเติบโตได้ดี

ผัก 15

๒. ความยั่งยืนและความต่อเนื่องในระบบการจัดการพืชอินทรีย์

ใช้ทรัพยากรอย่างรอบคอบเพื่อไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เน้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินโดยไม่พึ่งพาสารเคมี และส่งเสริมการใช้ปุ๋ยหมัก การหมุนเวียนพืชผล และการเพาะปลูกที่ช่วยอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการจัดการแปลงปลูกอย่างถูกต้องทำาให้ระบบนี้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน การเชื่อมโยงกับตลาดที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์อินทรีย์ทั้งตลาดออนไลน์ ตลาดชุมชน ร้านอาหาร

ผัก 16

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

๑. เป็นผู้นำกลุ่มหรือชุมชน

  • เป็นสมาชิกเครือข่าย ศพก. อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
  • ผู้ให้คำแนะนำกลุ่มลูกค่า ธกส.ที่สนใจปลูกผักอินทรีย์
  • เป็นแหล่งเรียนรู้พืชอินทรีย์
  • มีความเป็นผู้นำ ได้รับการยอมรับในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตพืชอินทรีย์
  • เป็นวิทยากรในการบรรยายให้ความรู้ด้านการผลิตพืชอินทรีย์แก่ชุมชนและเกษตรกรในเครือข่ายและรายอื่น ๆ ที่สนใจ

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. การจัดการสุขลักษณะที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี เพื่อให้เกษตรกรและผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี รวมถึงระบบนิเวศที่ดีด้วยเช่นกัน กำจัดวัชพืชโดยการตัดหญ้า ไม่เผาเศษวัชพืช เศษวัสดุจากการตัดแต่งในฟาร์มทุกอย่างนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักและน้ำหมักสูตรต่าง ๆ ทั้งสูตรบำารุงพืช และสูตรไล่แมลง ทำให้จัดการขยะในฟาร์มเป็น Zero-waste

๒. การใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี

-ใช้แหนแดงเพื่อเพิ่มปริมาณไนโตรเจนในดิน

-ใช้น้ำหมักปลาทะเลเพื่อเพิ่มธาตุอาหารแก่ต้นพืช

-ใช้ปุ๋ยหมักผสมกับดินปลูกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินปลูก

-ใช้ปุ๋ยชีวภาพไมคอร์ไรซ่ารองก้นหลุมเพื่อรากแข็งแรงและต้นเจริญเติบโตได้เร็ว

-ใช้แตนเบียนไข่โครแกรมมา ควบคุมไข่หนอนใยผัก

-ใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม