สถาบันเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ กลุ่มเกษตรกรแปรรูปสัตว์น้ำ ปี 2568″ วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง” อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

Screenshot 2025 05 24 at 18 52

“วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง”อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๔

สมาชิกแรกตั้ง ๑๘ ราย

สมาชิกปัจจุบัน ๓๘ ราย

ประธานกลุ่ม นางสาววนิศรา ภัทรพงศ์พันธ์

ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ ๓๔๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลหน้าสตน อำาเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

กลุ่มเกษตรกร

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม

๑. ปากน้ำแพรกเมือง เป็นชุมชนที่มีอาชีพหลักคือการทำประมง ผู้ชายจะออกทำประมง ผู้หญิงจะเป็นแม่บ้านซึ่งจะมีความถนัดในการแปรรูปสัตว์น้ำ ดังนั้นเพื่อต่อยอดความถนัดด้านการแปรรูปและต้องการสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวจึงรวมกลุ่มแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่ ในปี ๒๕๕๙ เริ่มจากสมาชิก ๕ ราย โดยแปรรูปอาหารทะเลเพื่อจำหน่ายใช้ชื่อว่า “กลุ่มสัมมาชีพหน้าสตน”

เกษตร 3

ต่อมาในปี ๒๕๖๓ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้เข้ามาสนับสนุนจัดตั้ง“กลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเลปากน้ำแพรกเมือง” ให้การสนับสนุนการแปรรูปทั้งด้านสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ รวมถึงการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากชุมชน เพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนโดยได้ร่วมกันดำเนินการแปรรูปอาหารทะเลจากวัตถุดิบในชุมชน ภายใต้แบรนด์ “บ้านแพรกเมือง” ซึ่งให้ความสำคัญ เรื่องความสดสะอาด ผลิตถูกสุขอนามัยและเป็นสินค้าจากเรือประมงพื้นบ้าน โดยแปรรูปสัตว์น้ำตากแห้งและปลาเค็มเพื่อจำหน่าย จนสามารถยกระดับตนเอง
สู่การเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารทะเลบ้านแพรกเมือง เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๔ มีผลิตภัณฑ์หลากหลาย เช่น ตากแห้ง เครื่องแกง น้ำพริกหลากหลายสูตร กุ้งแห้งหมึกปรุงรส

Screenshot 2025 05 24 at 18 57 15

๒. สถานประกอบการได้รับมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข และได้รับเลขสารบบอาหาร จำนวน ๑๐ ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกปลาอินทรีเค็ม น้ำพริกนรกปลาย่าง ไตปลาหยอง (แกงไตปลาแห้ง) น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกสวรรค์ น้ำพริกตะไคร้ น้ำพริกแมงดากุ้งแห้ง เครื่องแกงส้มสำาเร็จรูปชนิดผง เครื่องแกงเผ็ดสำเร็จรูปชนิดผง ได้รับการคัดสรรผลิตภัณฑ์ OTOP จาก
กรมการพัฒนาชุมชนในปี ๒๕๖๗ จำนวน ๓ ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกสวรรค์ ๕ ดาว น้ำพริกตะไคร้ ๔ ดาว และน้ำพริกแมงดา ๓ ดาว ได้รับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวจากกรมประมง จำนวน ๖ ผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกปลาอินทรี น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกนรกปลาย่าง น้ำพริกสวรรค์ น้ำพริกตะไคร้ และน้ำพริกแมงดา

S

๓. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การปรับรูปแบบไตปลาดั้งเดิมมาเป็นไตปลาหยองพร้อมบริโภคเพื่อเก็บรักษาได้นานขึ้นและสะดวกในการรับประทาน และเพิ่มความหลากหลายในการผลิตน้ำพริกสูตรดั้งเดิม โดยพัฒนาสูตรน้ำพริกเพิ่ม เช่น น้ำพริกเผากุ้งแห้ง น้ำพริกสวรรค์ น้ำพริกตะไคร้ น้ำพริกแมงดา น้ำพริกปลาอินทรี น้ำพริกปลากรอบ น้ำพริกนรกปลาย่าง เป็นต้น

Screenshot 2 3

ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน

๑. มีระเบียบข้อบังคับกลุ่มชัดเจน ให้สมาชิกถือปฏิบัติ

๒. มีระบบเอกสารสามารถตรวจสอบได้ เช่น บันทึกการประชุม บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นต้น

Screen

๓. มีการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์

-มีการควบคุมสุขลักษณะในการผลิตที่ดี โรงเรือนผลิตมีโครงสร้างและการออกแบบที่ถูกสุขลักษณะ การผลิตที่ดี และมีการดูแลรักษาโรงเรือนให้อยู่ในสภาพดี สะอาด ไม่มีช่องเปิดที่ทำให้เป็นทางเข้าของสัตว์พาหะ บำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือให้สะอาดอยู่ในสภาพดีสมบูรณ์ มีสายการผลิตที่สามารถป้องกันการปนเปื้อนข้ามของเชื้อจุลินทรีย์จากห้องผลิตที่มีความเสี่ยงสูงสู่ห้องผลิตที่มีความเสี่ยงต่ำทำให้การผลิตเป็นไปอย่างถูกสุขลักษณะไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อน

Screensho 1

-มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการแปรรูป เช่น โรงตากพลังงานแสงอาทิตย์ ตู้อบลมร้อน กึ่งอุตสาหกรรมตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ เครื่องผัดอัตโนมัติ เครื่องปิดฝากระป๋อง เครื่องพิมพ์ฉลากสินค้า เครื่องซีลสุญญากาศและมีการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพดี สะอาด ทำให้สินค้ามีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย รวมถึงสามารถเพิ่มกำลังการผลิตและความหลากหลายชนิดของสินค้า

ประวัติ

-มีการจัดทำสูตรการผลิตสินค้าเป็นเอกสารเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มสามารถเข้าถึงและนำไปปฏิบัติเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ทุกรุ่นการผลิตมีคุณภาพที่สม่ำเสมอ

Screens

๔. การรับซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำ

-รับซื้อวัตถุดิบสัตว์น้ำจากชาวประมงพื้นบ้านที่อยู่ในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชาวบ้านในชุมชน ยกระดับความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

-มุ่งเน้นและสนับสนุนการทำประมงอย่างยั่งยืนโดยใช้วัตถุดิบสัตว์น้ำจากการทำประมงที่ถูกกฎหมายสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารใบทะเบียนเรือซึ่งเป็นการสร้างมูลค่า (Value) ให้กับสินค้าที่นอกจากผู้ซื้อจะได้สินค้าที่มีคุณภาพถูกสุขอนามัยแล้วยังเป็นการสนับสนุนการทำประมงอย่างยั่งยืนอีกทางหนึ่งด้วย

Screenshot 2025 05 24 at 19

๕. มีการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งเดิมบรรจุโดยใช้เครื่องซีลสุญญากาศ และได้เพิ่มรูปแบบบรรจุภัณฑ์เป็นบรรจุสินค้าในกระป๋อง

๖. มีการพัฒนากลุ่ม และพัฒนาศักยภาพของสมาชิกโดยการเข้าร่วมอบรม เช่น การออกแบบบรรจุภัณฑ์และสินค้า โดยโครงการ U2T มหาลัยสู่ตำบล มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และร่วมระดมความคิด ในการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาการออกแบบบรรจุภัณฑ์พร้อมลงพื้นที่ประเมินกลุ่มลูกค้า ตลาดน้ำริมคลองหัวไทร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช อบรม
การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการสู่ยุค ๔.๐ สัมมนาสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรมาตรฐานด้วยระบบตามสอบสินค้าบนระบบคลาวด์ อบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตรและอบรมการทำผงเครื่องแกง ทั้งนี้ มีการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาประยุกต์ใช้การวางแผนการผลิต การตลาดรวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย มีคุณภาพปลอดภัย เพิ่มมูลค่า และยืดอายุการเก็บรักษา

๗. มีการศึกษาดูงานผู้ประกอบการรายอื่น และนำผลการดูงานมาปรับใช้ โดยนำมาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์กรือโป๊ะ ทำให้กรือโป๊ะมีความกรอบ ไม่อมน้ำมันและสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น ได้แนวคิดในเรื่องการกำหนดปริมาณของสินค้าซึ่งสามารถปรับรูปแบบสินค้าเป็นสินค้าที่บรรจุใส่ซองเล็ก ๆ สามารถบริโภคหมดในครั้งเดียว นำวิธีการอบแห้งเพื่อลดความชื้น
ในส่วนผสม ทำให้น้ำพริกสามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น

๘. มีความสามารถในการบูรณาการทำงานเชื่อมโยงการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น ปตท. สผ. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กรมประมง กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

๙. มีช่องทางการจำหน่ายสินค้าทั้ง Offlineและ Online เช่น Shopee ร้านบ้านแพรกเมือง Facebook Page บ้านแพรกเมือง Baan Phrark Mueang และ Application Line

๑๐. มีการพึ่งพาตนเอง โดยมีการปรับนโยบายของกลุ่มตั้งแต่ปี ๒๕๖๕ โดยนำรายได้ไปเป็นเงินทุนสำรอง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ ๒๐ ในปี ๒๕๖๔ เป็นร้อยละ ๗๐, ๘๐ และ ๘๕ ในปี ๒๕๖๕, ๒๕๖๖ และ ๒๕๖๗ ตามลำดับ ซึ่งนำเงินไปจัดซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

๑. สมาชิกในกลุ่มมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ดังนี้

-ร่วมคิดและกำหนดวิสัยทัศน์ ร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผนในการพัฒนากลุ่ม

-มีการประชุมกลุ่มเป็นประจำเดือนละ ๑ ครั้ง ร่วมแสดงความคิดเห็นในการวางแผน/กิจกรรมของกลุ่ม
รู้ปัญหา ร่วมแก้ปัญหา ร่วมรับผิดชอบในการทำงานให้สำเร็จ

๒. สมาชิกร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และปลูกฝังสร้างจิตสำนึก โดยปล่อยปูร่วมกับธนาคารปูเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ ร่วมจัดทำซั้งบ้านปลา ร่วมจัดงานด้านสิ่งแวดล้อมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และสมทบทุนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน

๑. ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายหน่วยงาน มีเงินทุนหมุนเวียนเป็นเงินของกลุ่มทั้งหมดโดยไม่มีหนี้สิน มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย อีกทั้งมีแนวทางการพึ่งพาตนเองเพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างยั่งยืน

๒. มีการจัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นโดยนำรายได้ของกลุ่ม ไปจัดซื้อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น เครื่องปิดฝากระป๋อง เครื่องพิมพ์ฉลากสินค้า

๓. ปัจจุบันมีเงินทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม๔๗,๗๐๐.๐๐ บาท เป็นเงินหุ้นทั้งหมด และไม่มีหนี้สิน

๔. การจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย โดยมีกำไรสุทธิ ดังนี้

  • ปี ๒๕๖๕ เป็นเงิน ๔๓๔,๐๐๙.๐๐ บาท
  • ปี ๒๕๖๖ เป็นเงิน ๘๐,๒๔๘.๐๐ บาท
  • ปี ๒๕๖๗ เป็นเงิน ๑๓,๖๗๓.๗๓ บาท
  • หมายเหตุ :
  • ปี ๒๕๖๖ ปรับปรุงอาคาร ๘ เดือน
  • นำรายได้ไปจัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จึงทำให้ ผลกำไรตั้งแต่ปี๒๕๖๖-๒๕๖๗ ลดลง
  • ๕. มีความสม่ำเสมอในการดำเนินกิจกรรม คือ มีการวางแผนรับซื้อและจัดเก็บวัตถุดิบสัตว์น้ำ และมีเครือข่ายชาวประมงผู้จับสัตว์น้ำในชุมชนใกล้เคียง ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้ตลอดทั้งปี
  • ๖.ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ อุปกรณ์ เครื่องมือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
    จำกัด (มหาชน) สนับสนุนอาคารแปรรูปโดยใช้ร่วมกับธนาคารเพาะฟักลูกปูม้า สนับสนุนเงินสำหรับปรับปรุงอาคารเพื่อขออนุญาตสถานที่ผลิต นอกจากนี้ยังสนับสนุนเงินเพื่อซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องซีลสุญญากาศ ตู้แช่ฝาบน ตู้อบลมร้อนกึ่งอุตสาหกรรม เครื่องซีลเท้าเหยียบ ตู้อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องผัดอัตโนมัติ
  • สำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนตู้แช่ฝาบน เครื่องหั่น ซอย เครื่องบรรจุผงชั้นวางสแตนเลส ตู้แช่เย็น ๒ ประตู และเครื่องซีลสายพาน
  • กระทรวงพลังงาน สนับสนุนโรงตากพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด ๖x๘.๒ เมตร

การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การทํากิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์

๑. เป็นวิทยากรและแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน ถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ

๒. สนับสนุนทุนการศึกษา และมอบของขวัญให้ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น วันเด็ก งานวัฒนธรรม และร่วมงานทำบุญอำนวยความสะดวกในการใช้สถานที่เพื่อจัดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ประชุมกลุ่มสตรีตำบล เป็นต้น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม

การปลูกฝังและสร้างจิตสํานึก

๑. จัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งนำไปสมทบทุนงานอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

๒. สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการทำประมงที่ยั่งยืนวัตถุดิบสัตว์น้ำมาจากการทำาประมงถูกกฎหมาย

๓. ร่วมกิจกรรมในการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เช่น จัดทำชั้งบ้านปลา ปล่อยปูร่วมกับธนาคารปู ร่วมจัดงานด้านสิ่งแวดล้อมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง