‘จิ้งหรีด’หรือ’แมงสะดิ้ง’…เลี้ยงอย่างไรให้ได้คุณภาพ 

การเลี้ยงจิ้งหรีดหรือแมงสะดิ้งให้ได้คุณภาพมีขั้นตอน ดังนี้

การเลี้ยงจิ้งหรีดและสะดิ้ง ภูดิส หาญสวัสดิ์ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่นซึ่งเลี้ยงจิ้งหรีดเป็นอาชีพได้เล่าให้ทีมข่าวเรื่องเล่าข่าวเกษตร ถึงกระบวนการเลี้ยงจิ้งหรีดให้ได้คุณภาพว่า2 สายพันธุ์นี้ในเรื่องของกระบวนการเลี้ยง วิธีการเลี้ยงก็จะเหมือน ๆ กันนะครับ เริ่มต้นจากขั้นแรกวิธีการเตรียมบ่อ บ่อต้องสะอาด ที่นี่บ่อเวลาจะเตรียมเลี้ยงโดยใช้วิธีการเผาไฟ เอาไฟมาเผาฆ่าเชื้อ อาจจะมีเชื้อโรค อาจจะมีไข่แมลงชนิดอื่นที่เกาะอยู่ เราก็จะใช้เอาไฟมาเผา ในส่วนของแผงไข่เราจะใช้วิธีการอบฆ่าเชื้อ ทั้งนี้เราก็ได้งบประมาณในการสนับสนุนเป็นเครื่องอบแผงไข่ ที่สามารถฆ่าเชื้อให้สะอาดได้ 

4AB7A73D B333 4E24 8E35 DB35D4AC57C9 scaled

ซึ่งเรามีข้อมูลในเชิงวิจัยของทางสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ เอามาอ้างอิงในเรื่องของอุณหภูมิ ระยะเวลาในการอบแผงไข่ทำให้แผงไข่สะอาด แผงไข่สะอาด บ่อเลี้ยงสะอาด นั่นก็หมายความว่าตัวผลผลิตที่จะไปสู่ผู้บริโภคมันก็จะสะอาดตามไปด้วย อันนั้นคือจุดมุ่งหมายที่เราจะทำเป็นมาตรฐาน GAP 

หลังจากทำความสะอาดแล้วขั้นตอนต่อไปก็คือเราจะต้องเอาไข่ พันธุ์ไข่ที่เราอาจจะลองมาจากรอบก่อนหรือว่าจะซื้อใหม่มาจากฟาร์มอื่นก็เอามาใส่ ทีนี้ในทางเกษตรกรเขาจะเรียกปริมาณของพันธุ์ไข่เป็นขันบ่อนึงเราจะใช้อยู่ 2-3 ขันประมาณนั้นขันไข่นึงก็ 15-20 ซม.ความกว้างนะครับ วางเสร็จถ้าเป็นจิ้งหรีดก็ประมาณ 7 วันมันก็จะฟักตัวออกมาถ้าเป็นสะดิ้งก็ 7-10 วันจะช้ากว่าหน่อยก็จะฟักตัวออกมา 

27121971 12A0 4FC0 8907 6754B2894DD0 scaled

หลังจากฟักตัวออกมาก็เป็นตัวมดเล็ก ๆ ช่วงนั้นยังไม่ได้ให้อาหารมาก จะเป็นอาหารผงอาหารสำเร็จรูปแต่สะดิ้งและจิ้งหรีดจะต้องการน้ำมากกว่าก็จะต้องมีวิธีการในการให้น้ำเพื่อให้ทั่วถึงถ้าขาดน้ำจะตายเพื่อไม่ให้จมน้ำตาย เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคต่อไปในฤดูการเลี้ยงก็จะมีวิธีการอยู่ หลังจากผ่านพ้นไปช่วงระยะเวลานึง 45 วัน 

ถ้าเราแบ่งเป็น 3 ช่วง 15 วันแรก 15 วันกลาง 15 ท้าย การให้อาหารสูตรอาหารปริมาณโปรตีนแตกต่างกัน ช่วงแรกจะให้โปรตีน 21% ให้ปริมาณน้อยเพราะว่ายังเป็นตัวมดอยู่เลย ส่วนช่วงกลางก็ให้ปริมาณที่มากขึ้น พร้อมทั้งถ้ามีวิธีการในการลดต้นทุน อย่างเช่นมีรำอ่อนมาผสมอันนี้ก็ให้ได้ 

ส่วนช่วงท้าย 15 วันหลังก็อาจจะใช้โปรตีนจากอาหารสำเร็จรูปแค่ 14% ก็ได้มีขาย รวมถึงให้เป็นรำอ่อนเพิ่มมากขึ้นย่างนี้ก็ใช้ได้นะครับ หลังจากนั้นเสร็จถึงกระบวนการในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้เวลาช่วงนั้นมีการสั่นแผงไข่ เคาะแผง เก็บเกี่ยว ส่งขายก็ใช้เวลาอยู่ประมาณสัก 3 ไม่เกิน 4 วัน กระบวนการทั้งหมดหลังจากนั้นเราก็จะมีการทำแบบนี้วนรอบ ๆ ไป เท่ากับว่าจะใช้เวลาอยู่ประมาณสัก 60 วันไม่เกินต่อ 1 รุ่นก็จะได้ผลิตรุ่นต่อไป ปีนึงก็ประมาณ 6 รอบครับ

50EF09FB 2240 4BB5 A7A7 BABEFD0CE048 scaled

จิ้งหรีดเลี้ยงยังไงให้มีคุณภาพ สิ่งที่ต้องระมัดระวัง พี่น้องเกษตรกรที่อยากจะเลี้ยงจิ้งหรีดมีข้อแนะนำไหม“สำหรับมือใหม่หรือว่าคนที่สนใจ อย่างแรกเลยหาตลาดก่อน เรื่องของการเลี้ยงยังไม่น่ากังวลเท่าไหร่ ถ้าในภูมิภาคหรือในตำบล อำเภอเราเนี่ยไม่มีผู้เลี้ยง อันนี้เลี้ยง 2 บ่อ 4 บ่อเลี้ยงเลยครับ ขายเฉพาะในชุมชนก็ไม่พอ มีอยู่หลายชุนชนมีอยู่หลายบ้านมาศึกษามาดูงาน เสร็จพอบอกแถวบ้านไม่มี ก็ได้ข้อมูลไปแล้ว ไปเลี้ยง ปรากฏว่าขายในหมู่บ้านชุมชนไม่พอจริง ๆ อย่างที่สองถ้าได้ตลาดแล้วให้ศึกษาในเรื่องของต้นทุนก่อน เพราะว่าบางทีสื่อที่ดี คำบอกเล่าก็ดี หรือได้จากเจ้าหน้าที่นักวิชาการก็ดี ว่ารายได้มันดีแต่ต้องดูเรื่องของทุนก่อน 

การเลี้ยงจิ้งหรีดลงทุนครั้งแรกค่อนข้างเยอะ 

1.อาคารจะเป็นง่าย ๆ เป็นใต้ถุนแต่ว่าไม่ผ่านมาตรฐานนะครับ เป็นข้างบ้านสถานที่มิดชิดกันแดดกันฝนหน่อย 

2.บ่อเลี้ยง อย่างบ่อเลี้ยงสำเร็จรูปที่เป็นแผ่นสมาร์ทบอร์ดโครงเหล็กเนี่ย ปัจจุบันทั้งชุดอยู่ราคา 4,000 บาท ก็ถือว่าใช้ทุนค่อนข้างสูงเหมือนกัน 

สิ่งสำคัญคือ หนึ่งหาตลาดก่อน สองคำนวณทุนก่อน อย่าเพิ่งตัดสินใจเลี้ยงทันที ไม่ใช่ว่าเห็นข้อมูลรายได้ดี กิโลกรัมละ 70-100 ก็มีที่ขาย แต่ต้องดูทุนก่อน เสร็จหลังจากนั้นถ้าเกิดว่ามั่นใจละเลี้ยงมาเรามีที่ขายมั่นใจว่าเรามีทุน สามารถเลี้ยงได้เลย

AB933A09 83B2 42B5 9FAA B583F8125AD9 scaled

วิธีการเลี้ยงขั้นตอนข้อระวังโรคของแมลงก็มีอยู่นะครับ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอิริโดไวรัสหรือโรคท้องน้ำก็เกิดขึ้นได้ทุกระยะ แล้วก็โรคอัมพาตก็เกิดขึ้นได้ทุกระยะ ขึ้นอยู่กับว่ามีเชื้ออยู่ในตัวหรือเปล่า แต่สามารถที่จะป้องกันได้เบื้องต้นในเรื่องของความสะอาด เลี้ยงสัตว์อะไรก็แล้วแต่ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจ ทุกอย่างชอบความสะอาด ขอให้สะอาดไว้ก่อนก็อุ่นใจแล้วว่าเลี้ยงโต ส่วนอื่น ๆ จะเป็นเรื่องหนูเรื่องนก อันนั้นผมว่ามันเป็นพื้นฐานง่าย ๆ ของเกษตรกรที่สามารถจะป้องกันได้ เอามุ้งหรือสแลนมาควบคุมก็ได้ เดี๋ยวเกษตรกรจะเข้าใจของตัวเขาเองไม่ยาก

ขั้นตอนการเลี้ยงจิ้งหรีดแม้จะไม่ยากแต่การเลี้ยงให้ได้คุณภาพและมีมาตรฐานนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง คุณเอกหรือภูดิศ หาญสวัสดิ์ มีข้อแนะนำสำรับเกษตรกรมือใหม่ที่จะเลี้ยงจิ้งหรีดหรือสะดิ้งดังนี้ 

1.ต้องเอาตัวเองเป็นหลักก่อนว่าจะเลี้ยงเพื่ออะไร พออยู่พอกินมีเหลือแจกจ่าย มีมากก็เอาไว้ขายพอเป็นรายได้หมุนเวียน 

2.เพื่อเป็นเศรษฐกิจเป็นธุรกิจเลย ถ้าจับหลักได้ว่าตัวเองต้องการอะไรให้มุ่งไปทางนั้น 

อย่าทำแบบเลี้ยงเยอะ ๆ แต่พอขายไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แจกจ่ายพออยู่พอกินมันจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ผมมองแบบนี้นะ แต่ที่นี่พอจับเป็นธุรกิจเราต้องจริงจัง อย่าว่าแต่จิ้งหรีดเลยครับ ทุกๆประเภทที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจถ้าคิดจะทำเป็นธุรกิจต้องจริงจัง หาข้อมูลไปศึกษาหาตลาดหาผู้รู้ หานักวิชาการ หาเจ้าหน้าที่เราต้องมีพี่เลี้ยงทั้งหมดนะครับ ไม่ได้ยาก เขาทำได้เราก็ทำได้ ธุรกิจของแมลงมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในทุก ๆ ปี ตามที่ได้ข้อมูลและอบรมมาตลอด 

ฉะนั้นชวนครับ แนะนำถ้าสนใจก็มาคุยกัน ให้คำแนะนำได้ และก็อย่างที่กล่าวไปเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เพาะเห็ด ตอนนี้ก็คือในส่วนนั้นก็ทำน้อยลงบางกิจกรรมก็หยุดแล้ว แต่ปรับมาเป็นแมลงเป็นส่วนใหญ่ครับ ไม่ยากแต่ก็ไม่ง่ายซะทีเดียวต้องบอกอย่างนี้ครับ