“สุพัฒนพงษ์”แจงใช้ที่ ส.ป.ก.กว่าหมื่นไร่สร้างศูนย์EECไม่ผิดวัตถุประสงค์

“สุพัฒนพงษ์” แจงกลางสภาฯ ใช้ที่ดิน ส.ป.ก. 1.5 หมื่นไร่ สร้างศูนย์ธุรกิจอีอีซีไม่ผิดวัตถุประสงค์ ยันไม่ทำเป็นอุตสาหกรรม แต่เป็นธุรกิจบริการ

นาย สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลุกขึ้นชี้แจงเรื่องของงบฯ ปี 2566 ที่เกี่ยวกับโครงการอีอีซี โดยยืนยันว่า การใช้ที่ดิน ส.ป.ก.ประมาณ 1.5 หมื่นไร่ เพื่อการพัฒนาเป็นศูนย์ธุรกิจอีอีซีแห่งใหม่เมืองอัจฉริยะนั้น ไม่ผิดวัตถุประสงค์ และที่ผ่านมา มีการสำรวจและรับฟังความคิดเห็นประชาชนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งเกษตรกร ก็เห็นด้วย ยินดีเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ดินอมทราย ไม่อุ้มน้ำ มีเกษตรกร ปลูกยาง มันสำปะหลัง จึงเป็นทางเลือกในการพัฒนาอื่นๆ

F4608EC5 9312 4B16 AEC4 654F6DB11EC5

และเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ วงเงินลงทุนเฟดแรก 19,000 ล้านบาท ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

ทั้งนี้ ศูนย์กลางธุรกิจอีอีซี อยู่ในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภา ที่จะพัฒนาเป็นเมืองการบินภาคตะวันออก นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบอร์ดอีอีซี เคยแสดงความเห็นว่าโครงการนี้จะถอดแบบและเป็นมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองใหม่น่าอยู่ปูซาน โดยตั้งเป้าจะเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก

เป้าหมายของเมืองใหม่และศูนย์ธุรกิจอีอีซี ได้รวบรวมที่ดิน ส.ป.ก. บางละมุง จ.ชลบุรี ไว้แล้วประมาณ 14,619 ไร่ หรือประมาณ 15,000 ไร่ ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กิโลเมตร มีธุรกิจ 5 คลัสเตอร์ ประกอบด้วย ศูนย์สำนักงานใหญ่ของบริษัทนภูมิภาคและสถานที่ราชการ ศูนย์การเงินอีอีซี ศูนย์การพแพทย์แม่นยำเฉพาะด้าน ศูนการศึกษาวิจัย และธุรกิจพลังงานสะอาดและดิจิทัล แบ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนทุกลุ่มรายได้ 3,000 ไร่ มีตำแหน่งงาน ประมาณ 2 แสนตำแหน่ง พื้นที่สีเขียว 30% และพื้นที่ใช้สอย 70%

โครงการนี้จะเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดในช่วง 10 ปี มูลค่าการลงทุนทั้งโครงการประมาณ 1.34 ล้านล้าน ภาครัฐจะลงทุน  3% ที่เหลือเป็นรูปแบบการลงทุน PPP โดยผลการตอบแทนการลงทุนของรัฐ จะมาจากค่าเช่าที่ดิน ค่าส่วนกลาง และส่วนแบ่งรายได้จากระบบPPP

90C344BF 2E6B 4876 8834 BDF62D500444

สำหรับมูลค่าการลงทุนรวมของโครงการ ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ 37,674 ล้านบาท,สำนักงานอีอีซี 28,541 ล้านบาท เช่นค่าเวนคืนที่ดิน เตรียมโครงสร้างพื้นฐานของเมือง, ภาครัฐอื่น ๆ ลงทุน 9,133 ล้านบาท, การลงทุนแบบ PPP ในโครงการประเภทสาธารณูปโภคในเมืองระบบขนส่งสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 131,119 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการลงทุนจากเอกชนในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ประมาณ 1,180,808 ล้านบาท

โดยใน 3 ปีแรก ปี 2565-2567 รัฐจะใช้เงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและการจัดสรรที่ดิน ประมาณ 23,000 ล้านบาท แบ่งเป็น การลงทุน 19,000 ล้าน ดอกเบี้ย 4,000 ล้าน คาดว่าภายใน 10 จะคืนเงินส่วนนี้ให้กับรัฐบาล พร้อมดอกเบี้ย

สำหรับงบประมาณที่ขอให้รัฐบาลช่วยจัดสรร อาทิ ค่าชดเชยที่ดิน ค่าที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด ค่าปรับพื้นที่และเตรียมการ รวมทั้งค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานส่วนกลาง

D417EE7F C355 4363 9AB4 204ACC2815D9

สำหรับวาระที่เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ภายใต้ พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพ.ศ. 2561 มาตรา 6 (5) ระบุว่า พื้นที่อีอีซี จะต้องมีการพัฒนาเมืองให้มีความทันสมัยระดับนานาชาติที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย และประกอบกิจการอย่างมีคุณภาพ

และอาศัยอำนาจตามมาตรา 34 ที่ระบุไว้ว่า กรณีมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเขตอีอีซี ให้สำนักงานมีอำนาจดำเนินการโดยวิธีการจัดซื้อ เช่า เช่าซื้อ แลกเปลี่ยน เวนคืน หรือโดยวิธีการอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด

และการใช้ที่ดิน ส.ป.ก.ในมาตรา 36 บัญญัติไว้ว่า กรณีมีความจำเป็นเพื่อการพัฒนาอีอีซี คณะกรรมการโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจให้สำนักงานเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้มาตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อการดำเนินการหรือประกอบกิจการอื่นใด นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดำเนินการเพิกถอนเขตปฏิรูปที่ดินสำหรับที่ดินส่วนนั้น