“กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม” จัดตั้งเมื่อ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๘ สมาชิกแรกตั้ง ๓๒ ราย สมาชิกปัจจุบัน ๑๗๒ ราย
ประธานกลุ่ม นายสำราญ โพธิพันธ์
ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ ๑๘๘ หมู่ที่ ๓ ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม
แนวคิดในการจัดตั้งกลุ่ม เริ่มมาจากเกษตรกรอำเภอบัวงาม ประสบปัญหาความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ เนื่องจากมีอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลักแต่ไม่ประสบความสำาเร็จ ขาดทุน เพราะไม่มีองค์ความรู้และเงินทุนที่เพียงพอในการประกอบอาชีพ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม” เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๘ และกลุ่มได้ส่งเสริมสนับสนุนการประกอบอาชีพของสมาชิก โดยจัดทำโครงการเพื่ออำนวยประโยชน์ให้กับสมาชิก ดังนี้
โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบนํ้าในไร่นาของสมาชิก เนื่องมาจากกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม สมาชิกทุกคนประกอบอาชีพทำนาปีเพียงอย่างเดียว แต่มีปัญหาน้ำไม่เพียงพอสำหรับทำนา โดยมีพื้นที่อยู่นอกเขตชลประทาน และสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ขาดความอุดมสมบูรณ์และไม่กักเก็บน้ำประกอบกับปัญหาภัยแล้งที่มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปีทำให้ผลผลิตข้าวที่ได้ไม่มีคุณภาพ จำหน่ายไม่ได้ราคาส่งผลให้สมาชิกมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ส่วนใหญ่ไม่สามารถชำาระหนี้คืนให้กับกลุ่มเกษตรกรได้ มีปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัว มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี กลุ่มเกษตรกรทำานาบัวงามจึงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้สมาชิกมีแหล่งน้ำใช้ในการทำนาอย่างเพียงพอ จึงจัดทำโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิก เป็นการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำพื่อมาแก้ปัญหาระบบน้ำในการทำนาของสมาชิก โดยการพิจารณาให้เงินกู้ยืมเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาแก่สมาชิก จำานวน ๑๕๘ ราย รายละ ๕๐,๐๐๐ บาทตามแผนผังแปลงพื้นที่ที่ได้สำรวจและจัดข้อมูลว่ามีศักยภาพ และมีความเหมาะสมในการกักเก็บน้ำได้และมีการจัดอบรมกิจกรรมการส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกรวมถึงติดตาม ตรวจสอบ แนะนำการดำเนินงานตามแผนงาน และกิจกรรมที่ระบุไว้ในแผนคำขอกู้ของสมาชิก ผลพลอยได้จากการที่สมาชิกมีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับทำนาแล้ว สามารถปลูกพืชผักหมุนเวียนได้ตลอดทั้งปี
และในปี ๒๕๖๔ มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคขุนและโคเนื้อให้สมาชิกที่สนใจมีความพร้อม เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกจำนวน ๓๖ ราย โดยให้เงินกู้ไม่เกินรายละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดหาโคจำนวน ๒ ตัว ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการเลี้ยงโคขุนและโคเนื้อรวมทั้งการขายปุ๋ยคอก กิโลกรัมละ ๒ บาท โดยโค ๑ ตัวจะได้ปุ๋ยคอกประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลกรัม/ปี ส่งผลให้สมาชิกมีรายได้สามารถชำระหนี้คืนให้กับกลุ่มเกษตรกรได้และยังมีเงินเหลือเก็บออมเพิ่มขึ้นทุกปี
โครงการมาตรฐานการปลูกข้าวที่ยั่งยืน โดยการทำนาข้าวถือเป็นอาชีพหลักของสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ๓,๕๒๐ ไร่ แต่สมาชิกประสบปัญหาราคาต้นทุนและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สมาชิกต้องรับภาระค่าใช้จ่ายทางการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้นซึ่งสวนทางกับราคาข้าวที่ตกต่ำ ผลผลิตได้น้อย และจากการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นและอีกประการหนึ่งได้แก่คุณภาพของข้าวไม่ตรงตามความต้องการของตลาด เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเน้นบริโภคสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยกันมากขึ้น สมาชิกจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ทำให้ต้องมีการพัฒนาการผลิตข้าวที่มีคุณภาพและปลอดภัย โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ด้วยระบบการผลิตที่สามารถลดต้นทุนและผลิตข้าวที่มีคุณภาพมาตรฐานการปลูกข้าวที่ยั่งยืนให้เป็นที่ยอมรับจากทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยกระบวนการผลิตข้าวคุณภาพมาตรฐาน คือการใช้ข้าวเปลือกจากแปลงที่ได้รับมาตรฐานการปลูกข้าวที่ยั่งยืน ทำให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือกที่มีคุณภาพปลอดภัยได้มาตรฐาน ทั้งนี้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการปลูกข้าวและการบริหารจัดการข้าวให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม
โดยทางบริษัทโรงสีไฟเจียเม้ง จำกัดสาขาเดชอุดม จะเป็นผู้ให้องค์ความรู้ในการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องและเหมาะสม และเป็นผู้รับซื้อผลผลิตด้วย โดยจะรับซื้อในราคาที่สูงกว่าข้าวทั่วไปกิโลกรัมละ ๐.๒๕ บาท นอกจากจะจำหน่ายได้ในราคาที่สูงแล้วการปลูกข้าวที่ยั่งยืนได้ส่งผลต่อการรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมของแปลงนาในชุมชน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมเพื่อช่วยลดและบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันด้วยโดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวที่ยั่งยืนจำนวน ๗๖ ราย พื้นที่ผลิต ๑,๘๗๓ไร่ โดยการปลูกข้าวที่ยั่งยืนสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เพราะใช้เมล็ดพันธุ์ จากเดิม๒๐ กิโลกรัม/ไร่ เหลือเพียง ๑๐ กิโลกรัม/ไร่ จึงสามารถลดต้นทุนได้ไร่ละ ๓๐๐ บาทและยังได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นประมาณ ๘๔ กิโลกรัม/ไร่
ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม จังหวัดอุบลราชธานีมีโครงสร้างการบริหารงานโดยมีคณะกรรมการดำเนินการจำนวน ๗ ราย ผู้ตรวจสอบกิจการ จำนวน ๑ ราย ที่ยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรและให้ความสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพทำการเกษตรของสมาชิก
ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงามมีทุนดำเนินงาน ๑๒,๘๕๙,๘๘๓.๐๑ บาท ทุนเรือนหุ้น ๓,๓๕๘,๖๓๐ บาท กำไรสุทธิ๖๓๔,๑๐๓.๒๔ บาท
การดำาเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรมี ๓ ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย โดยสามารถบริหารจัดการและอำนวยประโยชน์รวมถึงส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
กลุ่มเกษตรกรมีการจัดทำแผนดำเนินงานประจำปีและดำเนินการตามแผนและมากกว่าเป้าหมาย มีความสามารถในการจัดทำบัญชี ปิดบัญชี และจัดทำงบการเงินประจำปีได้ จัดทำทะเบียนสมาชิกได้เรียบร้อยตามที่กฎหมายกำาหนด มีระบบการควบคุมภายใน ๓ ปีย้อนหลังอยู่ในระดับดี
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม จังหวัดอุบลราชธานี มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ ๓ ปีย้อนหลัง เฉลี่ยร้อยละ ๗๖.๒๗ คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ๓ ปีย้อนหลังร้อยละ ๑๐๐ มีการประชุมสมาชิกอย่างสม่ำเสมอและสมาชิกมีส่วนร่วมทำธุรกิจด้านต่าง ๆ เฉลี่ยร้อยละ ๙๐.๒๓ สมาชิกมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสนอข้อคิดเห็น ปัญหาต่าง ๆ เพื่อร่วมกันแก้ไข พัฒนาให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่ม
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน
ความมั่นคงด้านการเงินของกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม ซึ่งวัดจากประสิทธิภาพในการดำาเนินธุรกิจ ๖ ตัวชี้วัด คือ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน อัตราส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายดำเนินงาน อัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนลูกหนี้ระยะสั้นที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด โดยกลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม มีเสถียรภาพทางการเงิน ๓ ปีย้อนหลังอยู่ในระดับมั่นคงดี ทั้ง ๓ ปี สมาชิกสามารถชำระหนี้ที่ถึงกำหนดได้ร้อยละ ๙๙.๘๓ กลุ่มเกษตรกรมีความมั่นคงด้านทรัพย์สิน มีอาคารสำนักงานที่ทำการกลุ่มเป็นหลักแหล่งถาวร มีเครื่องใช้สำนักงานและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ
การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มเกษตรกรทำนาบัวงาม ได้ร่วมกับสมาชิกและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อทำกิจกรรมในด้านสาธารณประโยชน์โดยมีการจัดกิจกรรมจิตอาสาทำความดี ทำความสะอาด ถนนหนทางในชุมชน ทำบุญเทศน์มหาชาติประจำปีและมีการมอบสิ่งของให้เด็กในชุมชนเนื่องในวันเด็ก เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน
ด้านการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นการทำกิจกรรมการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน โดยจัดกิจกรรมตัดแต่งต้นไม้และหญ้าที่รก รวมถึงมีการปลูกต้นไม้ในชุมชนด้านการให้บริการและจัดสวัสดิการแก่สมาชิกและครอบครัว มีการจัดสวัสดิการสงเคราะห์สมาชิกที่เสียชีวิต โดยจ่ายเงินช่วยเหลือรายละ ๒,๐๐๐ บาท และมีการช่วยเหลือสมาชิกและชุมชนที่ประสบวาตภัยโดยการช่วยเหลือเป็นเงินและสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น