ดีเปรสชั่น”โนรู”กำลังเคลื่อนจากร้อยเอ็ดสู่มหาสารคาม แต่ผลกระทบที่พัดผ่านตลอดคืนทำปริมาณฝนตกสูงสุดอยู่ที่จ.อุบลราชธานีและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งเกินจุดกักเก็บแล้ว

29 กันยายน 2565 ศูนย์กลาง“พายุโนรู” ลดระดับลงเป็นดีเปรสชั่นเคลื่อนตัวออกจากบริเวณ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร และคาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย 

ล่าสุดกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ศูนย์กลางอยู่ที่ จ.ร้อยเอ็ด กำลังมุ่งหน้าไปที่จ.มหาสารคาม จ.ขอนแก่น จ.ชัยภูมิ และจะเข้าสู่ภาคเหนือตอนล่าง จ.เพชรบูรณ์, พิษณุโลก, สุโขทัย และคาดว่าจะพัดผ่านสิ้นสุดเขตประเทศไทยที่ จ.ตาก

รายงานสภาพอากาศ 24 ชม.ที่ผ่านมาเมื่อวานนี้ (28/09/65)จากสถานีตรวจวัดของกรมอุตุนิยมวิทยาประเทศไทยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 203.1 มม. ที่ อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี

91234C08 AF11 4EB8 A2EC 1A86BE344EFC

ส่วน กทม.รายงานจากสำนักการระบายน้ำ ฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ปริมาณฝนสูงสุดวัดได้ 71.5 มม. ที่จุดวัดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ เขตสายไหม อุณหภูมิสูงสุดบริเวณประเทศไทย วัดได้ 35.8 องศาเซลเซียส บริเวณภาคเหนือ ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

แต่วันนี้ประเทศไทยยังมีฝนตกหนักและตกหนักมากในหลายพื้นที่ทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางกทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ 

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตากกำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนมชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรีอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

9B3BC0C7 D6BF 41D5 9F8E 504FA255044E

มีรายงานระดับน้ำในหลายเขื่อนและหลายอ่างเก็บน้ำในจังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำเกินกักเก็บแล้ว ขณะเดียวกันยังต้องรองรับน้ำจากพื้นที่อีสานใต้อีกหลายจังหวัดที่จะระบายเข้าลุ่มน้ำมูลก่อนลงแม่น้ำโขง โดยปัจจุบันยังมีฝนตกในหลายจังหวัด

824547AF 0C1F 46A3 A539 16842B0856F4
A9E76402 6F1F 41BD B437 B163BB1ABD3D