ธรรมนัสมอบกรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง

ธรรมนัส มอบกรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง เร่งศึกษาเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรมพืช  ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) ซึ่งไม่ใช่เทคโนโลยี GMOs ตอบโจทย์ ภาวะโลกเดือด (Global Boiling)”

16ADB8B6 82A8 4EF4 88E8 2C1C2C32BE58
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร รับไม้ทันที นั่งประธานสัมมนา “การขับเคลื่อนงานวิจัยภาคเกษตร ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ในภาวะโลกเดือด”

594BC07A 6A20 4C97 95F4 7BD96CEFA6A8
กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง

สืบเนื่องจาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้พิจารณาเรื่องความปลอดภัยของอาหารที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการปรับแต่งพันธุกรรม (Gene Editing, GE) เมื่อเดือน พค 2566  โดย FAO มีความเห็นว่า Gene Editing มีความปลอดภัยสูงและมีความแตกต่างจาก GMOs ซึ่งไม่มีการปนเปื้อนของ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น 

88DE8F05 E767 4D06 8EE4 270AF4D22811
กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง

อีกทั้ง ปัจจุบัน FAO และประเทศต่างๆ หลายประเทศทั่วโลกได้ให้การยอมรับถึงความปลอดภัยพืชที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยี Gene Editing นี้แล้ว ทั้งในเชิงการค้าและการบริโภค เช่นเดียวกันกับพืชปกติทั่วไป อาทิ ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย อินเดีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ แคนนาดา อเมริกา ประเทศกลุ่มอเมริกาใต้ เคนยา และไนจีเรีย เป็นต้น

671263
กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเสริมว่า การสร้างการรับรู้ และความเข้าใจ การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วย เทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม Gene Editing เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง  จึงขอยกตัวอย่างเบื้องต้นว่า เทคนิคการปรับแต่งพันธุกรรม (Gene Editing) เปรียบสเหมือน การดัดฟัน การทำเลสิก สายตา หรือ การทำศัลยกรรมเบื้องต้น เพื่อให้เกิดความสวยงามเป็นการแก้ไขข้อบกพร่อง ด้วยเทคโนโลยีที่มีความปลอดภัยต่อมนุษย์สูง และไม่มีการใช้ DNA จากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาตัดต่อพันธุกรรม 

109483
กรมวิชาการเกษตรขับเคลื่อนเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตรสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง

วันที่ 21 ธันวาคม 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน เปิดประชุมสัมมนาวิชาการเรื่อง “การขับเคลื่อนงานวิจัยภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ในภาวะโลกเดือด” ณ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2566 โดย สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร ได้เชิญ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง ร่วมเสวนาและให้ความคิดเห็น อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภาครัฐและเอกชน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ตามนโยบายรัฐบาล และร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” และ “การยกระดับรายได้เกษตรกร เพิ่มขึ้น 3 เท่า ภายใน 4 ปี ” นั้น  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ด้านการเกษตร  โดยเฉพาะ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร สมัยใหม่ (Modern Biotechnology Agriculture ) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) ซึ่งไม่ใช่การตัดต่อข้ามสายพันธุกรรม เหมือน GMOs

โดยพบว่า การปรับแต่งพันธุกรรมพืชด้วยการปรับแต่ง Gene ในตัวเองโดยไม่ต้องตัดต่อข้ามสายพันธุ์ สามารถทำ
ให้พืชมีความแข็งแรง เช่น การปรับแต่งยีนทนโรคทนไวรัสในมันสำปะหลัง การปรับแต่งยีนเพิ่ม GABA สูง ในมะเขือเทศ ปรับแต่งยีน ถั่วเหลืองให้มีกรดโอเลอิกสูง ผลผลิตเพิ่มขึ้น ต้านทานต่อโรคและแมลง ทนทานต่อสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และมีโภชนาการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

ดังนั้น ในสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาการระบาดของโรคแมลงและศัตรูพืชอย่างรุนแรงนี้ จึงมีความจำเป็นและถึงเวลาแล้วที่ควรจะต้องเร่งศึกษาการนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) มาใช้ให้ทันเวลาและเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ที่โลกประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว และรุนแรงมากขึ้น หรือที่เราเรียกว่า “ภาวะโลกเดือด (Global Boiling)”

การศึกษาการนำเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่จะสามารถช่วยยกระดับภาคการเกษตรได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ (การปรับปรุงพันธุ์พืช) จนกระทั่งถึงปลายน้ำ (การผลิตอาหาร) อีกทั้งยังสอดคล้องกับ นโยบายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดล บีซีจี (BCG Economy Model) ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยเปลี่ยนผ่านและก้าวข้ามสู่ระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ผ่านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ที่ มีความปลอดภัยสูง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีการปรับแต่งพันธุกรรม ที่มีความปลอดภัยสูง หรือ Gene Editing ( GEd ) เป็นต้น