ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตสกลนคร ผนึกกำลังเอกชนถ่ายทอดองค์ความรู้เพิ่มผลผลิตข้าวไทย ภายใต้โครงการ “เพิ่มข้าว-เพิ่มผลผลิตข้าวไทย”

เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ผนึกกำลังกับ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมีถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเพิ่มผลผลิตข้าวไทย ภายใต้โครงการ “เพิ่มข้าว เพิ่มผลผลิตข้าวไทย”

นายวัชระ ปิงสุทธิวงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมีกล่าวว่าโครงการอบรมเกษตรกร เพิ่มข้าว เพิ่มผลผลิตชาวนาไทย ครั้งนี้ ถือว่าเป็นการผนึกกำลังของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และภาคเอกชน เพื่อเสริมความรู้ด้านการใช้ปัจจัยการผลิต ไม่ว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์ เคมีเกษตร และที่สำคัญคือ ธาตุอาหารพืช หรือ ปุ๋ยเคมี การเผยแพร่องค์ความรู้ด้านวิชาการเกี่ยวกับการผลิตข้าวให้กับเกษตรกรถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมไปประยุกต์ใช้กับการปลูกข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น อีก

ทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องด้านการผลิตให้กับเกษตรกร ซึ่งหากเกษตรกรได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญโดยตรงย่อมเป็นผลดีกับเกษตรกรเอง ผมในฐานะผู้บริหาร ของบมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเต็มสูตร ตราหัววัว-คันไถ มีความยินดีที่เห็นโครงการนี้เกิดขึ้น และมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในทุกๆ ด้านกับทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งความรู้หลักของประเทศ รวมทั้งทุกๆ หน่วยงานของภาครัฐ เพื่อที่จะให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความภาคภูมิใจในอาชีพของตน

B104CC39 9AE1 4420 A7BA E5805BFE42F1 scaled

นายกองเอก เปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวเสริมว่า“สมาคม”มีพันธกิจหลักคือความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้เกษตรกรของประเทศไทยมีการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตรและมาตรฐานสากล เราได้ร่วมทำกิจกรรมกับเหล่าสมาชิกของสมาคมฯ ในการการเผยแพร่ความรู้ด้านการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตรผ่านสื่อและช่องทางต่างๆ อย่าทางสม่ำเสมอและต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความร่วมมือในการทำงานค้นคว้าวิจัยร่วมกับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยหวังผลให้เป็นการเพิ่มพูนองค์ความรู้ในด้านการเกษตรของประเทศไทย

C33088FE 8FF3 49FC B5A7 2465B01694DC

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า การจัดอบรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ต่อยอดจากการทำแปลงนาสาธิตเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ของ บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) และประสบการณ์โดยตรงของเกษตรกร ในพื้นที่บริเวณรอบมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการปลูกข้าวที่เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เอง

และในส่วนของการให้บริการทางวิชาการเป็นอีกหนึ่งพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยที่ร่วมกับภาคเอกชนซึ่งเราได้ร่วมกับ บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ครั้งนี้ เป็นปีที่สาม จากการทำแปลงนาสาธิตเพื่อหาองค์ความรู้ที่ถูกต้องใช้ได้จริงภายในพื้นที่ และเผยแพร่องค์ความรู้นี้ให้กับเกษตรกร เช่นโครงการอบรมเกษตรกร “เพิ่มข้าว” เพิ่มผลผลิตข้าวไทย ที่เป็นกิจกรรมร่วมที่เกิดขึ้นในวันนี้ เราเองในฐานะสถาบันการศึกษา เรามีองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญพร้อมที่จะให้คำแนะนำแก่เกษตรกร เรามีโครงการดาวล้อมเดือน ซึ่งหมายถึง มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนดวงเดือนล้อมรอบด้วยดาวเล็กดาวน้อยซึ่งหมายถึงชุมชนโดยรอบ เราจึงต้องมีความเกื้อกูลกัน ร่วมกันพัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นภายในชุมชน

4551F339 ECD0 4FB5 9BE4 294DB0102861

นางสมใจ ครุธตำคำ เกษตรกรร่วมโครงการแปลงนาสาธิต โครงการเพิ่มข้าว กล่าวว่า โครงการอบรมเกษตรกรเรื่อง “เพิ่มข้าว” เพิ่มผลผลิตข้าวไทย ถือว่าให้ประโยชน์กับเกษตรกรผู้เข้าร่วมอบรม ถือว่าเป็นการติดอาวุธให้กับเกษตรกรและชาวนา ได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมในวันนี้ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้น เพราะหากเรามีความรู้ความเข้าใจในการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตไม่ว่าจะเป็นปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เคมีเกษตร รวมถึงการเพาะปลูกข้าวอย่างถูกวิธี ก็จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้นด้วย

แนวคิดของโครงการเพิ่มข้าว บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมีจัดตั้งโครงการเพิ่มข้าวขึ้นมา เพื่ออยากช่วยพี่น้องเกษตรกรชาวนาได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น และรายได้เพิ่มขึ้น ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามที่จะลดต้นทุนของเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมีต้นทุนการปลูกข้าวที่ต่ำลง แต่เราคิดต่าง คิดสวนทางในแง่ของการปรับเปลี่ยน ที่เปลี่ยนจากการลดต้นทุน มาเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่มีรายได้เพิ่มขึ้น จากผลผลิตที่มีมากขึ้น

คำว่าเพิ่มต้นทุนในครั้งนี้สามารถขยายความได้ว่า ไม่ใช่เป็นการเพิ่มต้นทุนโดยไม่มีหลักเกณฑ์ แต่เป็นการคิดคำนวณต้นทุนและผลลัพธ์ หรือผลผลิตต่อหน่วยที่จะได้กลับมาต้องคุ้มค่ากว่าเดิม เพราะถ้าหากจะมุ่งเน้นแต่การลดปัจจัยการผลิตเพียงอย่างเดียว ก็เหมือนกับการลดปัจจัยการผลิตพืชที่สำคัญออกหรือลดไม่ถูกจุด ดังนั้น พืชก็จะไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้ได้เหมือนกัน 

โดยปัจจัยการเพิ่มผลผลิตข้าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1. ปัจจัยด้านการผลิตโดยตรง เช่นเมล็ดพันธุ์ปุ๋ย สารเคมี ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ 2. ปัจจัยทางอ้อมในส่วนของการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วมช่วยส่งเสริม หรือลดต้นทุนการผลิตในส่วนของการลดต้นทุนปัจจัยด้านการผลิต ที่จะเห็นได้ว่าในบางครั้งเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ที่มากเกินความจำเป็นทำให้เกิดโรคแมลงมากขึ้น และถือเป็นการเพิ่มต้นทุนค่าสารเคมี 

ดังนั้น การลดปัจจัยอย่างแรกที่ทำง่ายที่สุดคือการลดปริมาณการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวให้น้อยลง แต่มาเพิ่มระยะห่างของการเพาะปลูกให้มากขึ้น จะทำให้ข้าวสามารถแตกกอได้ดี โดยอ้างอิงจากงานวิจัยหลายแห่ง พบว่าเมื่อข้าวอยู่รวมกันแน่นจนเกินไป จะทำให้ประสิทธิภาพของการแตกกอลดน้อยลง แต่ถ้าปล่อยให้มีระยะห่างในการแตกก่อให้ได้รับแสงอย่างทั่วถึง ข้าวจะสามารถแตกกอได้ดี มีลำต้นที่แข็งแรงสมบูรณ์ ต้านทานโรคได้ดี นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เพียงแค่ลดปริมาณการหว่านเมล็ดพันธุ์ลง ก็ช่วยลดต้นทุนลงได้ ในขณะที่ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจัยต่อมาคือ ปุ๋ย ประเด็นของการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ที่เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่เกษตรกรควรจะนำมาใช้ประกอบการเพาะปลูก โดยในส่วนนี้ทางบริษัทได้มี 1. ห้องแลปวิเคราะห์ปุ๋ยที่ได้มาตรฐานและแม่นยำ ตรงตามค่าธาตุอาหารที่พืชและดินต้องการของในแต่ละพื้นที่ 2. แลปดิน หรือคลินิกดินประจำอยู่ที่โรงงาน เพื่อเปิดกว้างให้กับเกษตรกรทุกคนส่งดินมาวิเคราะห์ได้ฟรี พร้อมกับการวิเคราะห์สูตรปุ๋ยที่เหมาะกับค่าดินในแต่ละพื้นที่ให้ด้วย

“ในมุมของบริษัทเมื่อเกษตรกรทราบว่าปุ๋ยที่เหมาะสมกับดินของเขาคือสูตรอะไร เราก็จะพัฒนาสูตรปุ๋ยของเราที่มีโรงงานผลิตและสามารถผลิตปุ๋ยได้หลากหลายสูตร ผลิตส่งต่อให้กับร้านค้าในชุมชนเกษตรกรก็จะได้ใช้ปุ๋ยที่ถูกสูตรตรงตามค่าดินที่เขาวิเคราะห์ เขาก็สามารถที่จะลดต้นทุน ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยในปริมาณมาก ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ย ยูเรีย หรือปุ๋ยสูตรเดิมๆที่ใช้กันมานาน แต่ไม่เหมาะกับค่าวิเคราะห์ดินอีกต่อไป

ถัดมาเป็นปัจจัยเสริมทางอ้อมแต่เป็นสิ่งสำคัญ คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการลดต้นทุน หรือทำให้การเพาะปลูกสะดวก รวดเร็วขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้เทคโนโลยีของบริษัทที่มี มาผนวกกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ด้วยการใช้ระบบดาวเทียมสารสนเทศในการติดตามสภาพอากาศ การพยากรณ์ปริมาณฝนระยะยาวล่วงหน้า การวางแผนปลูก รวมถึงการติดตามสุขภาพข้าวในแปลง ผ่านแอปพลิเคชันใบไม้ รีคัลท์ 

AB0C8022 7DA6 4DB7 9FA4 797F016F4418

รวมถึงการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยที่มีความคุ้นเคยในพื้นที่บวกกับมีงานวิจัยรองรับ ส่วนทางบริษัทเข้ามาต่อยอดเทคโนโลยีปุ๋ยในการเพิ่มหรือลดธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม ซึ่งเป็นเรื่องที่บริษัทมีความชำนาญและมีประสิทธิภาพในส่วนนี้ที่จะเข้าไปช่วยเกษตรกรได้ซึ่งผลการดำเนินโครงการเพิ่มข้าวในปีแรกถือว่าประสบผลสำเร็จไปด้วยดี จากการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยและภาคเอกชน สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวให้กับเกษตรกรได้ 

จากจุดเริ่มต้นของโครงการเกิดขึ้นในปี 2020 เริ่มทำ 8 แปลง จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ทำแปลงทดลองเพิ่มข้าวทั้งหมดมากกว่า 40 แปลงทั่วประเทศ และได้รับความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ในเบื้องต้นให้ความสนใจเข้ามาชมแปลงสาธิต และให้ความเห็นถึงความแตกต่างระหว่างแปลงข้าวของเกษตรกรเองกับในแปลงสาธิตที่มีการแตกกอได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่บริเวณใกล้เคียง มีการเจริญเติบโตและการติดรวงมากขึ้น เมล็ดของข้าวแกร่งขึ้น และมีความยาวของเมล็ดที่มากขึ้น ทำให้เกษตรกรในพื้นที่เริ่มสนใจติดตามผลลัพธ์ นำไปสู่การสร้างเกษตรกรต้นแบบ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกข้าวแบบฉบับโครงการเพิ่มข้าวให้กับคนในท้องถิ่นต่อไป