กรมวิชาการเกษตร เร่งต่อยอดงานวิจัยจากผลการประชุม APEC “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล”

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ในโอกาสที่ประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเซียแปชิฟิก(APEC) ระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย. 2565 ที่ผ่านมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ผลักดันสนับสนุนนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ความปลอดภัยทางอาหาร การค้าระหว่างประเทศ การผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกัน  

โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการพูดถึงในการประชุม APEC 2022 คือการผลักดันในการใช้แนวคิดเศรษฐกิจ BCG ที่ยืนยันถึงผลลัพธ์ตามหัวข้อหลักของการประชุม 3 ข้อคือ “Open, Connect, Balance” หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” กรมวิชาการเกษตรมีภารกิจและงานวิจัยที่รองรับแนวคิดดังกล่าวเตรียมพร้อมที่จะผลักดันให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดังนี้

C4C7137C 1159 411C 97B0 5C41149E1AF4

    Open – เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ โดยกรมวิชาการเกษตรยกระดับความมั่นคงทางอาหารมุ่งสู่ การเป็นผู้นำการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อนชื้นของโลก (World Leader of Tropical Seeds) โดยเร่งพัฒนาการวิจัยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์พืช ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพระดับสูง ยกระดับคุณภาพและผลผลิต ท่อนพันธุ์เมล็ดพันธุ์ให้เป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ (Seed-Hub) ของภูมิภาคเศรษฐกิจ APEC พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการค้าเมล็ดพันธุ์ระดับโลก เปิดเวทีเจรจาการค้าเมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศผ่านการประชุม เมล็ดพันธุ์พืชแห่งเอเซียและแปซิฟิค ประจำปี 2565 หรือ Asian Seed Congress 2022 ที่กรมวิชาการเกษตร เป็นเจ้าภาพร่วมกับ สมาคมเมล็ดพันธุ์พืชภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค (APSA) สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 

    Connect – การเชื่อมโยงกัน กรมวิชาการเกษตร ได้มีการเตรียมวางแผน รับมือ สำหรับการส่งออก ผักและ ผลไม้ ที่เป็นแหล่งสร้างรายได้แหล่งใหญ่ของประเทศให้ราบรื่น สำหรับวิกฤตใหม่ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจับมือกับกลุ่มพันธมิตรทั่วโลก เปิดตัวระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-phyto) ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรตั้งแต่ประเทศปลายทางจนถึงเกษตรกรเป็นการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าพืชและผลิตภัณฑ์สร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศ รวมทั้งยกระดับคุณภาพมาตรฐานผัก ผลไม้ premium fruits 

    Balance – สู่สมดุล กรมวิชาการเกษตร ได้ลงนาม MOU ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเพื่อส่งเสริมการดำเนินการตรวจรับรองประเมินโครงการ รับรองการคำนวณคาร์บอนเครดิตทางการเกษตรและป่าไม้ ดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด และประเมินคาร์บอนเครดิตในภาคการเกษตร ที่สอดคล้องกับนโยบายผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว BCG (Bio-Circular-Green Economy) ให้เป็นกลไกที่สำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด CDM (Clean Development Mechanism) และ การใช้คาร์บอนฟุตปรินท์ (Carbon Footprint) ที่ตอนนี้เป็นประเด็นสำคัญในการส่งออกสินค้าเช้าสู่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป

FCA68638 20B4 424A B465 28C22101646E

    อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังมีความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(สกสว) สถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร คณะทำงานยกระดับเกษตรอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรม คณะทำงานพืชเศรษฐกิจใหม่  ในการผลักดันนโยบายที่เกี่ยวเนื่องกับการประชุม APEC ที่ผ่านมา นำร่องในการสนับสนุนการใช้สารชีวภัณฑ์ สำหรับการทำเกษตรปลอดภัย, การจัดเตรียมมาตรฐาน Green รับรองแปลงเพาะปลูกผลผลิตต้นทางสำหรับการผลิตเอทานอล, การขับเคลื่อนการเกษตรด้วยปัญญาประดิษฐ์ และ การประเมิน Carbon credit สำหรับ แปลงอ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน