อธิบดีกรมวิชาการเกษตรสั่งศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษให้คำแนะนำเกษตรกรดูแลไม้ผลหลังน้ำลด

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรูในปีที่ผ่านมาทำให้จังหวัดศรีสะเกษเจอสถานการณ์ลมแรงและฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากมีน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย จึงได้สั่งการให้ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัดศรีสะเกษออกให้การช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหลังจากน้ำลดเพื่อให้คำแนะนำแก่เกษตรกรที่ประสบภัย และมอบปัจจัยการผลิต โดยศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษได้มอบเมล็ดพันธุ์ผัก  ในพื้นที่ อำเภอกันทรารมย์  อำเภอยางชุมน้อย  อำเภอวังหิน  อำเภอยางชุมน้อย อำเภอกันทรลักษ์  และอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

สำหรับทุเรียนเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของพายุโนรู ส่งผลให้พื้นที่ปลูกทุเรียนจำนวน 4,386 ไร่ ได้รับความเสียหาย น้ำท่วมขังแปลงทุเรียน ส่งผลให้ต้นทุเรียนเสื่อมโทรมและตายเนื่องจากเกิดโรครากเน่าโคนเน่า 

0AB88AD1 CF58 4E94 BADC D7601D5C07AD

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ ได้ออกให้คำแนะนำ/ปรึกษาแก่เกษตรกรในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์ เพื่อการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรครากเน่าโคนเน่า โดยให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรค ดังนี้

1. ควรป้องกันกำจัดโดยการใส่ปูนขาวบริเวณทรงพุ่มต้นที่เป็นโรค เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างเพื่อให้ไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา

2. ตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เพื่อให้แสงสามารถส่องผ่านได้

3. พบการระบาดเฉพาะจุดที่โคนหรือกิ่ง  ให้ขูดเปลือกลำต้นหรือกิ่งแขนงใหญ่บริเวณที่เป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วทาแผลด้วยสารเคมี เมทาแลกซิล 25% หรือ 35% ดับบิวพี อัตรา 50-60 กรัม/น้ำ 1 ลิตร

4. พบอาการรุนแรงที่ราก ลำต้น หรือกิ่งใหญ่ให้ใช้สาร ฟอสฟอรัส แอซิค 40% ใส่กระบอกฉีดยา ผสมน้ำสะอาด อัตราส่วน 1 : 1 ฉีดเข้าที่ลำต้นหรือกิ่งในแนวท่อน้ำท่ออาหาร อัตรา 20-60 ซีซี/ต้น (ขึ้นกับความรุนแรงของโรค

5A7D4589 9557 4600 B064 4686F9E04CFA

ทั้งนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ออกติดตามให้คำแนะนำการบริหารจัดการสวนทุเรียนคุณภาพ และการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค-แมลง อย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ด้วย

6C4889BF 267E 4F0F 8A3C C1DDC1545BE3