เฉลิมชัย มุ่งมั่น Booster เกษตรกรไทย สู่ “เกษตรมูลค่าสูง” สร้างความมั่นคงภาคการเกษตรไทย

ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า ภาคการเกษตรของประเทศไทย ถือเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญ ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งรองรับแรงงานขนาดใหญ่ และเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ ถือเป็นรากฐานด้านความมั่นคงทางอาหารทั้งของประเทศและของโลก ก่อเกิดรายได้มากมายให้กับประชาชนและประเทศ รวมทั้งเป็นภาคเศรษฐกิจที่ช่วยรองรับและโอบอุ้มเศรษฐกิจไทย ในช่วงวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนถึงการระบาดของโรคโควิด-19

273795709 511805050307949 4263935350869699005 n
ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

ประกอบกับแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารในปัจจุบัน จะเป็นโอกาส ให้ภาคเกษตรมีการพัฒนาสินค้า และผลิตภัณฑ์ ที่สร้างมูลค่าให้สูงขึ้นได้ ถือเป็นความท้าทาย ในการพัฒนาภาคเกษตร เพื่อที่จะขับเคลื่อน ให้ภาคเกษตรเติบโต ก้าวทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งสร้างมูลค่าและรายได้ของภาคเกษตรให้สูงขึ้น สอดคล้องกับสัดส่วนของประชากรในภาคเกษตร ซึ่งหากสามารถสร้างความมั่นคงให้ประชากรกลุ่มนี้ได้ จะขยายตัวต่อเนื่องไปยังภาคธุรกิจอื่น ก่อให้เกิดรายได้และความมั่นคงในประเทศ

%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B0
เกษตรมูลค่าสูง

การดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเกษตรให้เติบโต มีศักยภาพ และยกระดับความสามารถในการแข่งขัน โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศ ที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ มีเป้าหมายสำคัญ เพื่อให้GDP ภาคเกษตร และประสิทธิภาพของการผลิตเพิ่มขึ้น เน้นการปรับเปลี่ยนการผลิตไปสู่สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง อย่างครอบคลุม ตั้งแต่ด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด

ด้านการผลิต : ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการ ทรัพยากรการผลิต ให้เกิดความยั่งยืน ลดต้นทุนการผลิต ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม พัฒนากระบวนผลิต ให้เข้าสู่ระบบมาตรฐาน GAP และสนับสนุนเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งเน้นผลิตสินค้า ที่มีมูลค่าสูง เช่น สมุนไพร และสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคในอนาคต ที่ใส่ใจสุขภาพมากขึ้น

ด้านการแปรรูป : ผลักดันให้มีการแปรรูปสินค้าเกษตร ให้เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง ตามแนวทาง BCG MODEL เพื่อลดการจำหน่ายสินค้าเกษตร ในลักษณะที่เป็นวัตถุดิบ ที่ยังมีมูลค่าต่ำ

รวมทั้งการผลักดันการสร้างและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในสินค้าเกษตรและอาหาร ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคภายในประเทศ และเป็นที่ยอมรับของประเทศคู่ค้า เพื่อการส่งออก

ด้านการตลาด : ส่งเสริมองค์ความรู้ สร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกร พัฒนาสินค้า ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยศึกษาความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าอย่างเป็นระบบ มีการนำเสนอคุณค่าสินค้าเกษตร และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยเทคโนโลยี และแนวคิดสร้างสรรค์ ให้มีความโดดเด่น และเพิ่มมูลค่าให้สินค้า ด้วยการสร้างภาพลักษณ์ หรือจุดเด่นให้กับตราสินค้า ทำให้ตลาดรู้จักสินค้า และทำการตลาดด้วยสื่อออนไลน์ โดยเสนอสินค้าสู่ผู้บริโภค และพัฒนาช่องทางการตลาด ทั้งในรูปแบบตลาด Offline และการเข้าสู่ตลาด Online รวมถึงยกระดับประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์การเกษตร เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มคุณภาพการบริการแก่ผู้บริโภค

นอกจากนี้ ยังเน้นการนำงานวิจัยและเทคโนโลยี นวัตกรรม เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และต่อยอดงานวิจัย ให้ครอบคลุม ตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์ดี กระบวนการผลิตที่เหมาะสม พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค รูปแบบสินค้าและช่องการตลาดที่เข้าถึงง่าย เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้ออย่างง่าย และรวดเร็ว

16085581635762
เกษตรมูลค่าสูง

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการต่าง ๆ จะบรรลุเป้าหมายและสัมฤทธิ์ผลได้ ต้องอาศัยทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และเกษตรกร ซึ่งต้องมีการบูรณาการร่วมกันอย่างแท้จริง ต้องวางแผนการบริหารจัดการ ทั้งในการกำหนดนโยบายและการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลอย่างที่คาดหวัง