อิสราเอลพบซากปลา หลักฐาน ‘มนุษย์ทำอาหาร’ เก่าแก่สุด

คณะนักวิจัยนานาชาติค้นพบหลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับการทำอาหารจากแหล่งโบราณคดีเกเชอร์ บีนอต ยาอาคอฟ (Gesher Benot Ya’aqov) ในอิสราเอล

การค้นพบดังกล่าวเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ อีโคโลจี แอนด์ อีโวลูชัน (Nature Ecology & Evolution) เมื่อไม่นานนี้ โดยเหล่านักวิจัยได้ตรวจสอบซากปลาโบราณ ซึ่งเป็นหลักฐานกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับเตาไฟรอบทะเลสาบฮูลาในหุบเขาจอร์แดน

ผู้เชี่ยวชาญพบ “ความแตกต่างอันมีนัยสำคัญ” ระหว่างกระดูกปลาที่เก็บรวบรวมจากชั้นดินทางโบราณคดี 8 ชั้นของพื้นที่บริเวณดังกล่าว กับกระดูกปลาตามธรรมชาติที่ขุดพบในพื้นที่ใกล้เคียง

นอกจากนั้นพื้นที่แรกยังมีความหลากหลายของสายพันธุ์ปลาไม่มากนัก โดยมีปลาโบราณขนาดใหญ่สองสายพันธุ์ที่พบได้ชัด โดยหลังจากวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงขนาดฟันปลาโดยละเอียด 

ทีมงานเผยว่ามนุษย์โบราณนำปลาที่จับได้จากทะเลสาบข้างต้นมาเผาด้วยไฟที่อุณหภูมิต่ำกว่า 500 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อรวมกับข้อมูลอื่นๆ บ่งชี้ว่าปลา “ถูกปรุงและบริโภคในพื้นที่” และนับเป็นหลักฐานแรกสุดของการปรุงอาหารโดยมนุษย์โฮมินิน (Hominin)

แถลงการณ์ร่วมจากคณะนักวิจัยอิสราเอล รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติสหราชอาณาจักร และมหาวิทยาลัยโยฮันเนส กูเตนเบิร์กประจำเมืองไมนซ์ของเยอรมนี เมื่อวันอังคาร (15 พ.ย.) ระบุว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นสัญญาณเก่าแก่ที่สุดของการใช้ไฟประกอบอาหาร ซึ่งเก่าแก่ถึงราว 780,000 ปีก่อน

ทั้งนี้ การศึกษาเผยว่าปลาเป็นอาหารสำคัญของเหล่านักล่าสัตว์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และบ่งชี้ถึงการพัฒนาเทคนิคการทำอาหารของคนยุคก่อนด้วย

200E29DF 3C6C 496A 9C5E 817D4B50E4C2

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ จาก : สำนักข่าวซินหัว (XinhuaThai)