DITP จัดทำข้อมูลตลาด โอกาสการค้า ทิศทางแฟชั่น สิ่งทอใยกัญชง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เดินหน้ายกระดับอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยที่ทำจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง สู่สินค้ามูลค่าสูง เปิดตัวข้อมูลแนวโน้มตลาด โอกาสทางการค้า ทิศทางแฟชั่นผ่านรายงาน “Hemp Market Report Series for Textiles Industry” เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในการวางแผนการผลิต การทำตลาด

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้จัดทำ“โครงการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก” เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าที่มีมูลค่าสูงต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอและการเพิ่มมูลค่าสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ของไทยจากเส้นใยกัญชง ผ่านการสนับสนุนข้อมูลด้านตลาดเชิงลึกและแนวทางการพัฒนาธุรกิจและสินค้าจากกัญชงให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาศักยภาพและแข่งขันได้ในระดับสากล  สอดคล้องกับนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเร่งรัดการส่งออกด้วยยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจ BCG Model เพื่อพัฒนาศักยภาพ SMEs ไทย ตลอดจนเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

9D0A5AB8 B9B0 489C AF76 7A398D2C75DD

ล่าสุดยังได้จัดทำข้อมูลแนวโน้มตลาดและโอกาสในการส่งเสริมการค้าสำหรับสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง โดยได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์จัดทำข้อมูลเป็นชุดรายงานในชื่อ “Hemp Market Report Series for Textiles Industry” แบ่งเป็น 3 ฉบับ ได้แก่

  ฉบับที่ 1 Hemp Market Report ประกอบด้วยเนื้อหาการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดกัญชงของโลก การศึกษาตลาดศักยภาพของไทย และการเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทยสู่การเจาะตลาดโลกด้วยการเพิ่มมูลค่าจากกัญชง 

ฉบับที่ 2 Hemp Business เป็นการศึกษาการผลิต การประกอบธุรกิจการค้าและการส่งออก ผ่านกรณีศึกษา การวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และโอกาสในการลงทุน ตลอดจนตัวอย่างการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม และ

ฉบับที่ 3 Hemp Design แนวทางการออกแบบสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์จากกัญชงให้ตอบโจทย์ตลาดเป้าหมายและเทรนด์ BCG Economy ของโลก

1AC7A4F9 CA31 4635 BC2F BB6619D0EFE0

“ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวเนื่องของไทย ถือเป็นก้าวใหม่ที่สำคัญในการเชื่อมโยงภาคการผลิตสู่โอกาสทางการค้าในตลาดโลก โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดชุดรายงานทั้ง 3 ฉบับ ได้ที่เว็บไซต์กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศhttps://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/762786/762786.pdf&title=762786&cate=819&d=0” นายภูสิตกล่าว

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา กรมฯ ได้มีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาต้ นแบบสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ทําจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก การสัมมนาให้ความรู้ผู้ประกอบการ เรื่อง ตลาดและการประกอบธุรกิจด้านการค้าสําหรับสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ทําจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง และการจัดนิทรรศการแสดงผลงานต้นแบบสินค้าแฟชั่นและไลฟ์สไตล์จากกัญชง รวมทั้งการจัดทำข้อมูลแนวโน้มตลาดและโอกาสในการส่งเสริมการค้าสำหรับสินค้าสิ่งทอและครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง  

529A7392 E8F1 4C7A 9ED1 A22581BCFE90

สำหรับสถานการณ์การส่งออกสินค้าสิ่งทอ (ไม่รวมเคหะสิ่งทอ) ในช่วง 3 เดือนของปี 2565 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 1,724.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.75 โดยไทยส่งออกไปยังตลาดสำคัญได้เพิ่มขึ้นได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย บังคลาเทศ กัมพูชา เมียนมา อินเดีย และเยอรมนี สินค้าที่สำคัญ ประกอบด้วย เครื่องนุ่งห่ม 601.78 ล้านเหรียญสหรัฐ(34.89%) ผ้าผืนและด้าย 552.38 ล้านเหรียญสหรัฐ (32.03%) และสิ่งทออื่น ๆ ได้แก่ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ตาข่ายจับปลา ผ้าแบบสำหรับตัดเสื้อและผ้าที่จัดทำแล้ว ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ 570.55 ล้านเหรียญสหรัฐ (33.08%)

AF8F4BD6 55A0 42DE A6C5 C936B24C8DB2
76AB1626 D170 400D 9360 30AF25137C63

ปัจจุบันรัฐบาลได้ผลักดันให้กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ที่มีศักยภาพ และมีการส่งเสริมการนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาสในการส่งเสริมและผลักดันกัญชงสู่สินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก เนื่องจากกัญชงเป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีคุณสมบัติพิเศษมากมาย และมีกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์แนวโน้มตลาดโลกได้เป็นอย่างดี 

โดยตลาดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ทำจากเส้นใยและผลิตภัณฑ์จากใยกัญชง มีขนาดตลาดมูลค่ากว่า 1.42 แสนล้านบาท และคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อไปอีกกว่าร้อยละ 22.4 ภายในปี2570 เนื่องจากความต้องการที่สูงขึ้นของเส้นใย และน้ำมันกัญชง โดยมีนํามาแปรรูปในระดับอุตสาหกรรมสําคัญ อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ กลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น