“มูซานคิง”…ราชาทุเรียนมาเลย์ 

เดินผ่านตลาดจริงใจเมื่อวานนี้เห็นทุเรียนสดเหลืออยู่ลูก ตูดแตกแล้ว กลิ่นทุเรียนหอม อ่อนๆ พออ่านป้ายเป็น “มูซานคิง” จากสวนดัง จ.ยะลา เลยถามน้องๆที่ขาย ได้ความว่า…เหลืออยู่ลูกเดียวลูกสุดท้าย สุกแล้วเนื้อไม่เละแน่นอน เป็นทุเรียนที่ขายดีมากๆ

จับดูไปดูมา เอาก็เอา จากความตั้งใจจะเดินไปดูทุเรียนเบ็ญจพรรณของไทย ไปๆมาๆได้มูซานคิง กลับบ้าน ทุเรียนสัญชาติมาเลย์ (มีเพื่อนฝูงหลายคนบอกว่า “มูซานคิง” ว่ากันตามตรงเมืองไทยก็มีเป็นทุเรียนปักษ์ใต้แถวยะลา นราธิวาส ก็ปลูกกันมานาน เป็นทุเรียนพื้นถิ่นบ้านเราด้วยซ้ำ)

59622B06 E74F 4DDD B1F6 17DE439313B2

เอาหละจะทุเรียนดั้งเดิมที่บ้านเราแต่ไปโด่งดังเป็นทุเรียนมาเลย์ก็ต้องยอมเขาหละ แต่วันนี้บ้านเราก็ปลูกกันหลายที่ อย่างยะลามีหลายสวน รวมไปถึงแถวตะวันออกมีมูซานคิงที่ให้ผลผลิตแล้วเช่นกัน

ได้ทุเรียน “มูซานคิง” กลับไปถึงบ้านใช้มีดเล็กๆแหกตูดทุเรียนที่แตกอยู่แล้วจับฉีกออกจากกัน แกะง่ายครับ สัมผัสแรกที่มองเห็นเนื้อในคือ โอ้..เนื้อสวยมาก สีเหลืองอร่าม สีเหลืองจัดกว่าหมอนทอง เนื้อดูเนียนแห้ง ดูรวมๆแล้ว น่ากินอย่างยิ่ง

00F0096E 92BD 4A47 BD30 54C870341331

แล้วรสชาติเป็นอย่างไร คำแรกบอกเลยติดขม แต่คำที่สองความหวาน ความละเมียด เนื้อเนียน กินง่ายเริ่มมา เป็นทุเรียนที่อร่อยอีกสายพันธุ์หนึ่ง สวนตัวชอบที่สุกแล้วไม่เละ เนื้อแห้ง หวานมันกำลังดี กินเพลินเม็ดเล็กลีบ

ทุเรียนหนึ่งลูกแกะแล้วได้ 4 พู กินไป 2 พู อีก 2 ใส่ช่องฟีสแช่แข็งไว้กินมื้อเช้า(ขอบอกว่าแช่แข็งอร่อยมากกกกก) กับค่าตัวทุเรียน  771 บาท (ลูกสุดท้ายลดราคาจากโลเกือบห้าร้อยเหลือสามร้อยกว่าบาท) ถือว่าคุ้มราคา

1B7E6088 E7F5 4A98 86CF CBCD0AFF367F

แล้วเปรียบเทียบกับทุเรียนพันธุ์ไทยหรือสู้พันธุ์ไทยได้ไหม ตอบยากครับ ความชอบเป็นเรื่องรสนิยม “มูซานคิง” ถ้าไม่ดีจริงเขาคงไม่เป็นราชาทุเรียนมาเลย์ได้ อย่างที่จีนเอง มูซานคิงนี่ ราคาสูงกว่าหมอนทองบ้านเราด้วยซ้ำ 

ส่วนตัวชอบ “มูซานคิง” ในหลายมิติ อย่างน้อยๆมูซานคิง คนกินจะไม่มีวันเจอมูซานคิงอ่อนออกสู่ตลาดแต่รวมๆเรื่องรสชาติและความชอบส่วนตัวอาจจะน้อยกว่า “กบพิกุล” น้อยกว่า “กบชายน้ำ” อยู่พอสมควร

ส่วนเกษตรกรจะปลูกมูซานคิง ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกครับ มูซานคิงเป็นทุเรียนกินสุกแก่จัด ชนิดหล่นจากต้นยิ่งอร่อย เหมาะแล้วที่มาเลย์แช่แข็งส่งขายจีน เกษตรควรศึกษาข้อดี จุดเด่นจุดด้อยให้ดีก่อนตัดสินใจปลูก