“หมูแพงจากอะไร…ใครตอบได้”

หมูแพงจากอะไร…โรคร้ายหรือต้นทุนอาหารสัตว์ เจาะกลางใจ โดย “ขุนพิเรนทร์”

ข่าวราคาหมูเริ่มขยับขึ้นจากข้อมูลสภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 17/2565) สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประกาศราคาสุกรขุนมีชีวิตหน้าฟาร์ม ณ วันพระที่ 30 เมษายน 2565 ผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาคยังคงร่วมสนองนโยบายรัฐบาลโดยรักษาระดับราคาสุกรหน้าฟาร์มอยู่ไม่เกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม ในช่วงที่ทุกฝ่ายพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 

หลังเริ่มนโยบายเปิดประเทศ 1 พฤษภาคม 2565 นี้ โดยพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงพึ่งพาชิ้นส่วนสุกรและสุกรขุนจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งจะมีราคาในพื้นที่สูงกว่าพื้นที่อื่นเล็กน้อย โดยผู้เลี้ยงสุกรยังคงรับแบกภาระต้นทุนการเข้มงวดด้านสุขภาพสัตว์ และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง และยังคงรอความซัดเจนกับแนวทางแก้ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ 

โดยราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มในเขตต่างๆ ดังนี้ 

ภาคตะวันตก 98-100 บาทต่อกิโลกรัม 

ภาคตะวันออก 98-100 บาทต่อกิโลกรัม 

ภาคอีสาน 98-100 บาทต่อกิโลกรัม 

ภาคเหนือ 100 บาทต่อกิโลกรัม 

ภาคใต้ 98 บาทต่อกิโลกรัม 

สำหรับราคาลูกสุกรขุนเล็กราคา 16 กิโลกรัม 

ณ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2565 : 3,400 บาท บวกลบ 96 บาท

“ขุนพิเรนทร์” มีข้อมูลเชิงลึกสถานการณ์สุกรล่าสุด

ข้อมูลจำนวนสุกรและจำนวนเกษตรกรประจำเดือนเมษายน 2565 มี จำนวนสุกรทั้งหมดในเดือนเมษายนรวมทั้งสิ้น 10,296,405 ตัว เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร 109,942 ราย ประกอบด้วย สุกรพ่อพันธุ์ 55,732 ตัวสุกรแม่พันธุ์ 1,055,499 ตัว สุกรขุน 9,005,141 ตัว

EFD8D0C8 2009 4EBF BD07 4A8F5EADEF5D

ข้อมูลสุกรและจำนวนเกษตรกรเดือนเมษายน 2565 เปลี่ยนแปลงจากเดือน มีนาคม 2565

สุกรแม่พันธุ์เดือนเมษายน 2565 เป็น 1,055,499 ตัว ลดลงจากเดือนมีนาคม 2565 ที่มีจำนวนแม่พันธุ์เป็น 1,063,568 ตัว หรือลดลง 8,069 ตัว คิดเป็นร้อยละ 0.76 ซึ่งเป็นการลดลงในอัตราไม่สูงอาจกล่าวได้ว่าแม่พันธุ์ในระบบการผลิตค่อนข้างไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ยังเป็นแรงจูงใจในการเลี้ยงสุกร ส่งผลให้ราคาลูกสุกรขนาดน้ำหนัก 16 กิโลกรัมที่เกษตรกรซื้อเพื่อนำไปขุน ในเดือนเมษายนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม เป็นตัวละ 3,200 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.27 แม้ว่าภาระต้นทุนการผลิตด้านอาหารสัตว์ ค่น้ำมันเชื้อเพลิง ค่าน้ำ ค่าไฟ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม

สุกรขุนเดือนเมษายน 2565 เป็น 9,005,141 ลดลง จากเดือน มีนาคม 2565 ที่มีจำนวน 9,140 924 ตัว หรือลดลงร้อยละ 1.49 เนื่องจากปัจจัยด้านต้นทุนการเลี้ยงของเกษตรกรทั้งค่พันธุ์ ค่าอาหารสัตว์ ค่าน้ำค่าไฟ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศที่แปรปรวน จึงส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงสุกรในรอบนี้ ทั้งนี้จำนวนดังกล่าว คิดเป็นผลผลิตสุกรขุนที่จะออกสู่ตลาดเฉลี่ยเดือนละ 1.50 ล้านตัว(เฉลี่ย 6 เดือน) ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการตลาดในประเทศ ที่คาดการณ์ไว้เดือนละ ประมาณ 1.50 ล้านตัว

หมูไม่ขาดแล้วราคาหมูแพงเกิดจากอะไร “ขุนพิเรนทร์” ฟันธงเลยอาหารสัตว์คือตัวแปรสำคัญ เมื่อเจาะลึกลงไปถึงรายละเอียดเปรียบเทียบกับต่างประเทศอย่างบราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก ต้นทุนการผลิตสุกรมีชีวิต ถูกกว่าเรามากกว่าครึ่ง

6409AF97 2725 4FA7 A930 5B7785154E0E

ล่าสุดวันนี้ 2 พ.ค.คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์(นบขพ.)และคณะกรรมการนโยบายอาหาร มีข้อสรุปเพื่อดูแลปริมาณวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เพียงพอภายในประเทศและการผลิตอาหารสัตว์ โดยให้สามารถนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้น และส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์มาชดเชยส่วนที่ขาดในปัจจุบัน 

โดยประเด็นสำคัญประกอบด้วย 

1.ยกเว้นเงื่อนไขที่กำหนดไว้เดิม ในการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนเป็นการชั่วคราวก่อน คือระหว่างเดือนพฤษภาคมถึง 31 กรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นการผ่อนปรนมาตรการที่กำหนดไว้เดิมในการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เพื่อชดเชยส่วนที่ขาดในประเทศ 

2.เพิ่มโควต้านำเข้าข้าวโพดจากเดิมกำหนดไว้ 54,700 ตัน เป็นไม่เกิน 600,000 ตัน ภายในเดือนพฤษภาคมถึง 31 กรกฎาคม 2565 จะมีผลให้ลดภาษีนำเข้าข้าวโพดจากอัตรา 20% เป็น 0% เป็นการชั่วคราว ในช่วง 3 เดือนนี้ 

3.การนำเข้าช่องทางอื่นตามปกติ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะช่วยจับคู่ธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เพียงพอในประเทศในช่วง 3 เดือนนี้ต่อไป 

ซึ่งเป็นการกำหนดให้นำเข้าวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ได้ 3 ช่องทาง มีปริมาณรวมกันไม่เกิน 1,200,000 ตันตั้งแต่เดือนเมษายนถึง 31 กรกฎาคม 2565 เพื่อชดเชยส่วนที่ยังขาดให้มีเหลือพอใช้หนึ่งเดือน และให้ตั้งคณะอนุกรรมการ 5 ฝ่าย เพื่อติดตามประเมินการผลดำเนินการทั้งหมดและสามารถเสนอให้ทบทวนหรือปรับปรุงมาตรการต่อไปได้เพื่อความเหมาะสม

ขุนพิเรนทร์ อ่านนโยบายแล้วยิ้มอ่อนๆ อาหารสัตว์ส่งผลกระทบมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปลายปี 2564 และมีการนำเสนอการแก้ปัญหาเรื่องนี้ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว มีการประชุมร่วมของปลัดกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ข้อมสรุปร่วมกันไปนานแล้ว แต่ในทางปฏิบัติพึ่งจะได้ฤกษ์ประกาศเป็นทางการ ช้าอึดอาดแบบนี้ คงจะทันแก้ปัญหาหละครับ

“อาหารสัตว์แพงและขาดตลาด…สุดท้ายโทษแต่โรคระบาด ASF”