องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ค้นพบ พันธุ์พืช-สัตว์ชนิดใหม่ของโลก แมลงหางหนีบ-มดชมภูพวง-มดท็อป-ดอกดินไข่ปลา

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM แถลงข่าว “การค้นพบพันธุ์พืช-สัตว์ชนิดใหม่ของโลก” ว่า ทีมนักวิจัยของ NSM ค้นพบแมลงชนิดใหม่ของโลก 5 ชนิด ได้แก่ 1.แมลงหางหนีบเดินดงเมืองเหนือ ถูกค้นพบบนที่สูงทางภาคเหนือ ใน จ.เชียงใหม่ 2.แมลงหางหนีบเดินดงเมืองจันท์ พบที่ จ.จันทบุรี 3.แมลงหางหนีบเดินดงสยาม พบที่อ.ปัว จ.น่าน ทั้ง 3 ชนิดเป็นแมลงหางหนีบที่ไม่มีปีก จึงบินไม่ได้ แตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ ที่มีปีกบิน สามารถบินได้ ตัวสีน้ำตาลถึงน้ำตาลดำ อวัยวะเพศผู้ค่อนข้างยาวกว่ากว่าง โดยแมลงทั้งสามชนิดถูกเก็บรักษาไว้ ณ คลังตัวอย่างแมลงที่ NSM ซึ่งเก็บรวบรวมตัวอย่างของแมลงกลุ่มนี้ไว้มากที่สุดของประเทศอีกด้วย

แมลง 13

ที่สำคัญล่าสุดเมื่อเดือน ม.ค. 2567 ที่ผ่านมา ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา NSM ร่วมกับ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแมลง กรมอุทยานแห่งชาติฯ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยจำปาสัก ได้ค้นพบและตั้งชื่อมดชนิดใหม่ 2 ชนิดในสกุล Plagiolepis โดยได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสาร Fae Eastern Entomologist ฉบับที่ 492 หน้าที่ 1-14 เป็นฉบับแรก และเรื่องแรกของวารสารที่ตีพิมพ์ในปี 2567 ได้แก่ มดชมภูพวง จากประเทศไทย และ สปป.ลาว และมดท็อป เพื่อเป็นเกียรติแก่นายวราวุธ ศิลปอาชา อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และครอบครัวผู้สนับสนุนวงการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย

แมลง 4
แมลงหาง
ดอกดิน
ดอกดินไข่ปลา

ผอ.NSM กล่าวต่อว่า นักวิจัย NSM ยังได้ค้นพบ “ดอกดินไข่ปลา” ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia subglobosa Noppornch. & Jenjitt. เป็นพืชวงศ์ขิง-ข่า (Zingiberaceae) สกุลเปราะหอม (Kaempferia L.) ได้รับการบรรยายลักษณะทางสัณฐานวิทยาและระบุให้เป็น “ดอกดินสกุลเปราะชนิดใหม่ของโลก” โดย ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล นักวิชาการ กองวิชาการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา NSM ร่วมกับ ผศ.ดร.ทยา เจนจิตติกุล อาจารย์ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารพฤกษศาสตร์นานาชาติ Blumea – Biodiversity, Evolution and Biogeography of Plants (Q2) ปี 2567 ฉบับที่ 69 วันที่ 18 ม.ค. 2567 ซึ่งดอกดินไข่ปลาเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย พบกระจายพันธุ์ที่ อ.บ้านตาก และ อ.สามเงา จ.ตาก เท่านั้น