เผาหรือไม่เผา เกษตรกรจะแก้ปัญหาอย่างไร

1424678

“ เคยเผาทุกปี ชาวบ้านที่ทำไร่อยู่บนพื้นที่สูงมาก เป็นโขดหิน รถเข้าไปไถไม่ได้ ก็พากันเผา ก่อนจะทำการหว่านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ท้องฟ้าที่เราเห็น จะเป็นสีขาว ไม่เห็นสีฟ้าเหมือนในขณะนี้ แต่ตอนนี้เลิกเผามา 3 ถึง 4 ปี แล้ว เมื่อก่อนมีความเชื่อว่า การเผามันจะมีด่างไฟ มันเหมือนเป็นปุ๋ยเป็นอะไรไปในตัวด้วย ถ้าไม่เผา พวกหนู พวกแมลง จะเยอะมาก ก็จะไปขุดคุ้ยกินเมล็ดข้าวโพดเวลาเราหว่านกัน”

1424679

นั่นเป็นคำพูดของนางประกายรัศมี ปินคำ หรือ พี่เอ๋ อายุ 51 ปี เกษตรกรที่อาศัยอยู่ที่ บ้านแม่วาก ตำบล แม่นาจร อำเภอ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้เล่าให้ฟังถึงเหตุผล ทำไมต้องเผาไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ พี่เอ๋ เป็นเกษตรกรที่ทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่ปี 2539 ทำเกษตรเชิงเดี่ยวมายาวนาน จนเห็นความเปลี่ยนเปลงของต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทุกปี ทั้ง ค่าปุ๋ย ค่ายา และ เมล็ดพันธุ์ ขณะที่ราคาขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ก็ขี้นลงตลอด ทำให้รายได้ไม่พอเลี้ยงครอบครัว

1424680


​“เมื่อก่อนตรงนี้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเดียว เพราะไม่มีน้ำ ต้องอาศัยน้ำฝน ถ้าไม่มีน้ำ ก็ไม่สามารถปลูกอะไรได้ ก็ปลูกข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่วเหลือง หลัก ๆ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พอมีน้ำเข้ามา ทางกรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพัฒนาพื้นที่สูง ( องค์การมหาชน ) เค้าก็เข้ามาเรียกประชุมเกษตรกร ทำความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกผัก ปลูกไม้ผล เพื่อทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวแบบเดิมที่พวกเราเคยทำกัน ตอนนั้นพี่ก็กลับมาคิดว่า จะเปลี่ยนไปปลูกไม้ผลดีหรือไม่ เผอิญโชคดี พี่กับแฟนคิดตรงกัน เราเลยค่อย ๆ ขยับจากการปลูกข้าวโพดทั้งหมด 25 ไร่ ก็เปลี่ยนมาปลูก ไม้ผล พวก มะม่วง อโวคาโด องุ่น ทุเรียน เป็นต้น แทรกร่วมกับการปลูกข้าวโพด นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้เลิกเผาไร่ข้าวโพดมาสี่ปีแล้ว เพราะหากเราเผา ไม้ผลที่ลงไปก็จะเสียหายด้วย”

1424681

พี่เอ๋ เล่าต่อว่า ตอนนี้ในหมู่บ้าน เริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาปลูกไม้ผลร่วมด้วยมากขึ้น จาก 15 ครัวเรือน เพิ่มเป็น 50 ครัวเรือน แล้วหยุดการเผากันเป็นที่เรียบร้อย เพื่อลดหมอกควัน ในอากาศ หรือ PM 2.5 ที่เป็นปัญหาอยู่ ส่วนคนที่ยังเผาคือ คนที่ไม่ได้ปลูกไม้ผล อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมีมาตรการสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเผา ทุกคนจะต้องฟังที่หมู่บ้านประกาศ หากประกาศช่วงนี้ห้ามเผา ก็ห้ามแตะต้อง พักหลัง ๆ 4-5 ปี ไม่ค่อยเห็น อีกทั้งยังมีข้อตกลงจากพ่อหลวง ที่ต้องเรียกประชุมลูกบ้าน หากใครจะเผาตอนไหน ก็ต้องมีลายเซนต์ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่งั้นผิดกฎหมาย”

1424682

พี่เอ๋ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า การปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำการเกษตร มาปลูกไม้ผล ร่วมด้วย ทำให้สภาพแวดล้อม เปลี่ยนไป อากาศสดชื่น ขึ้นจนสัมผัสได้ ขณะเดียวกัน อายุของตนและสามี มากขึ้น คงไม่สามารถทำงานหนักเหมือนเดิมได้ การปลูกไม้ผล ทำให้เราพอมีเวลา พักบ้าง ประกอบทั้งลูก ๆ ก็ไม่ได้รักการเกษตร จนจะยึดเป็นอาชีพ ดังนั้นการปลูกไม้ผล น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และยั่งยืนในอนาคต

1424683


​ด้านดร.ธีรวุฒิ ชุตินันทกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร กองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร กล่าวถึง เรื่องนี้ว่า ทางกรม ฯ ให้ความสำคัญกับเกษตรกรที่ปลูกพืชในพื้นที่สูงมาโดยตลอด และ พยายามวางแนวทางเพื่อลดการเผาขณะเดียวกัน เกษตรกรต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีรายได้ที่ยั่งยืน จึงได้วางแนวทางการส่งเสริมการลดการเผาในพื้นที่ภาคเกษตร โดยกรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการตามแนวนโยบาย 3R ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย

1424684

1 Re-habit คือส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัย ในการทำการเกษตรแบบเดิมที่มีการเผา เป็นแบบไม่เผา

2 Replace with high value crop คือการส่งเสริมให้เกษตรกร มีการปรับเปลี่ยนชนิดของพืชปลูกจากพืชที่มีการเผา เช่น ข้าวโพดในพื้นที่สูง เป็น พืชที่มีมูลค่าสูง เช่น กาแฟ อาโวกาโด ไม้ผล หรือ พืชยืนต้นที่มีศักยภาพ

1424685

3 Replace with alternate crop โดยการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชอื่นที่มีการใช้น้ำน้อย หรือ พืชที่ถูกลดพื้นที่จากการปรับเปลี่ยนพืชปลูก เช่นข้าวโพด มาปลูกทดแทนในพื้นที่ข้าวนาปรัง หรือ พื้นที่นอกเขตชลประทาน

811443

โดยกลไกที่ใช้ในการขับเคลื่อนในการลดตามกรอบ 3 R คือ การเพิ่มมูลค่าสิ่งเหลือใช้ และมาตรฐานการผลิตพืช หรือ GAP ซึ่งมีการพัฒนาเป็น GAP PM 2.5 Free เพื่อส่งเสริมการลดการเผาอย่างยั่งยืนสำหรับภาคเกษตร

811444

ดร. ธีรวุฒิ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุด เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2567 ได้มีประกาศของกรมวิชาการเกษตรในราชกิจจานุเบกษา เป็น หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับรองกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้งแบบไม่เผาเพื่อลดปัญหาฝุ่น PM2.5 (PM 2.5 Free Plus) นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร กำลังพัฒนา มกษ. ที่เป็นประกาศกระทรวง ฯ ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. เพื่อให้แนวทางการดำเนินงานสมบูรณ์ขึ้น ดังนั้นจึงเชื่อว่า จากแนวทางที่วางไว้ทั้งหมด จะทำให้สถานการณ์ PM 2.5 ดีขึ้นอย่างแน่นอน

S 18243634
S 18243634
S 18243643