รู้ยัง..”เศษซากพืช” มีค่า อย่าทิ้ง อย่าเผา

การไถกลบ “เศษซากพืช”ลงไปในดินช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้มีความโปร่ง ร่วน ซุย ไม่แน่นทึบ ระบายอากาศดี รากพืชเจริญเติบโตดี เป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ดิน ปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชนำไปใช้ ช่วยประหยัดปุ๋ย

“เศษซากพืช” มีธาตุอาหารหลากหลายชนิด เช่น คาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพเทสเซียม แคลเซียม เมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี การใช้เศษซากพืชคลุมดิน ช่วยรักษาความชื้นในดิน ส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตในดิน

296903108 390851183194102 4287835772523042573 n

อินทรียวัตถุในดิน (OM ) ได้มาจากการผุพังสลายตัวของซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ และมีการทับถมบนผิวดิน และคลุกเคล้ากันจนเป็นองค์ประกอบของดิน อินทรียวัตถุมีความสำคัญต่อความอุดมสมบูรณ์ของดิน เป็นแหล่งสำรองและปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ส่งเสริมให้โครงสร้างดินดี ไม่แน่นทึบ ช่วยรักษาน้ำในดิน และเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในดิน

แหล่งอินทรียวัตถุ ไม่ต้องซื้อ ไม่ไกล แถมใกล้ตัวเกษตรกร

เศษซากพืชหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เป็นส่วนที่เหลือหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชถือเป็นแหล่งของ “อินทรียวัตถุขนาดใหญ่” และใกล้ตัวเกษตรกร โดยไม่ต้องซื้อหา พบในสวนเกษตรกร ปริมาณน้้าหนักของวัสดุต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช และการจัดการเก็บเกี่ยว

“ประหยัดค่าปุ๋ย” แหล่งธาตุไนโตรเจน ( N )ของพืช

เศษซากพืช มีปริมาณไนโตรเจนแตกต่างกันไปตามชนิดพืช โดยกลุ่มพืชตระกูลถั่ว มักมีปริมาณ N สูง (1.25-4.1%) เช่น ซากถั่ว ใบมะขาม ใบจามจุรี ใบประดู่ ถั่วมะแฮะ ใบแคบ้าน และใบกระถิน เป็นต้น ส่วนพืชที่ไม่ใช่ตระกูลถั่ว มักมีปริมาณ N ต่ำกว่าพืชตระกูลถั่ว เช่น ใบอ้อย (0.5%) ใบมันส้าปะหลัง (1.3%) ฟางข้าว (0.4%) ใบข้าวโพด (0.6%)

วิธีนำเศษซากพืชลงดิน

เก็บไว้คลุมดิน

การคลุมผิวหน้าดินด้วยเศษซากพืช ช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดิน โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง การเลือกวัสดุที่เป็นสารอินทรีย์มาคลุมดินจะมีประโยชน์ นอกจากจะช่วยควบคุมและลดการระเหยของน้้าจากผิวดินแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการกำจัดวัชพืชโดยป้องกันไม่ให้วัชพืชงอกเจริญเติบโตได้ ช่วยควบคุมอุณหภูมิดิน และเมื่อส่วนของวัสดุได้สัมผัสกับดินโดยเฉพาะที่ผิวหน้าดิน วัสดุอินทรีย์ก็จะเริ่มย่อยสลายตัวและค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารสู่ดินได้อย่างต่อเนื่อง โดย “ปริมาณธาตุอาหารปล่อยสู่ดิน” ขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของเศษซากพืช ส่วนใหญ่เศษซากพืชตระกูลถั่วมักให้ปริมาณไนโตรเจนสูง

กลบลงในดิน

สับกลบวัสดุอินทรีย์หรือเศษซากพืชลงในดิน โดยเลือกใช้ เครื่องมือหรือการปฏิบัติ ที่คำนึงถึง “การรบกวนดินให้น้อยที่สุด” และควรระวังไม่ให้กระทบกับรากพืช ในกรณีปลูกพืชโดยเฉพาะพืชรากสั้น สับกลบลงไปในดินลึกประมาณ 15 เซนติเมตร จากผิวดิน

อีกแบบหนึ่ง ทำการขุดผิวหน้าดิน แล้วโรยหรือกลบเป็นชั้นบาง ๆ เหนือส่วนวัสดุอินทรีย์หรือเศษซากพืช เพื่อให้ดินได้สัมผัสกับวัสดุอินทรีย์ ซึ่งจะช่วยให้วัสดุอินทรีย์ เริ่มย่อยสลายตัวอย่างช้า ๆ และปล่อยธาตุอาหารลงไปในดิน และเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพดินในระยะยาว

อินทรีย์วัตถุ มีแล้วดินดี อย่างไร

สารเชื่อมของเม็ดดินให้เกาะตัวกันดี ดินโปร่ง ไม่แน่นทึบ ร่วนซุย ระบายน้้าและอากาศดี ลดการไหลบ่าและการชะล้างหน้าดิน รักษาน้ำให้คงอยู่ในดินได้ยาวนานแม้ในสภาพแห้งแล้ง

แหล่งพลังงานและอาหาร ของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในดิน ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณสิ่งมีชีวิตในดิน และรักษาความสมดุลของกิจกรรมภายในดินได้อย่างดี

แหล่งสำรองธาตุอาหาร ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช โดยไม่ต้องซื้อหา เมื่อสลายตัวในดิน ธาตุอาหารจะค่อย ๆ ปลดปล่อยลงสู่ดินให้พืชได้ดูดใช้อย่างต่อเนื่อง

เพิ่มพื้นที่เกาะยึดของธาตุอาหาร คอยดักจับธาตุอาหารในดิน ไม่ให้สูญหายไปโดยการชะล้าง โดยเฉพาะในดินทราย

แหล่งเก็บสะสมคาร์บอนขนาดใหญ่ ไม่ให้คาร์บอนสูญหายสู่อากาศไปในรูปก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) เพื่อบรรเทาปัญหาสภาวะโลกร้อน