เตือนให้ระวัง “ด้วงงวงมันเทศ”

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อนและมีฝนตกบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูก “มันเทศ” ในระยะ เริ่มลงหัว – เก็บเกี่ยวผลผลิต รับมือ “ด้วงงวงมันเทศ” ตัวเต็มวัยทำลายทุกส่วนของพืช ในขณะที่ตัวหนอนทำลายในหัวและเถา

“หัวมันเทศ”ที่ถูกด้วงงวงทำลายจะมีลักษณะเป็นทางคดเคี้ยว มีสีเขียวและสีดำ แม้ถูกทำลายเพียงเล็กน้อยก็ไม่สามารถรับประทานได้ เพราะมีกลิ่นเหม็นและรสขม “หัวมันเทศ” ที่ถูกทำลายรุนแรงจะเน่าและมีกลิ่นเหม็น

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

  1. หลีกเลี่ยงการปลูก “มันเทศ” ในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ
  2. หลีกเลี่ยงการปลูก”มันเทศ”ซ้ำที่เดิม ควรปลูกหมุนเวียนโดยใช้พืชต่างตระกูลกับมันเทศ

3.เลือกใช้เถา“มันเทศ“ที่สมบูรณ์แข็งแรงและปราศจากด้วงงวงมันเทศ และไม่นำเถามันเทศจากแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศมาปลูก

4.กำจัดวัชพืชที่เป็นตระกูลเดียวกันกับมันเทศบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูกมันเทศออกให้หมด

%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

5.รองก้นหลุมก่อนปลูก ด้วยสาร ฟิโพรนิล 0.3% G อัตรา 2.8 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ คาร์แทปไฮโดรคลอไรด์ 4% G อัตรา 2.8 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ ไดโนทีฟูแรน 1% G อัตรา 2.8 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ คาร์แทปไฮโดรคลอไรด์/ไอโซโปรคาร์บ 3%/3% GR อัตรา 2.8 กิโลกรัมต่อไร่ และโรยรอบ ๆ โคนต้นทุก 1 เดือน

6.ในสภาพมันสวน อายุ 4-6 เดือน ก่อนปลูกแช่เถามันเทศด้วย ไทอะมีทอกแซม 25% WG อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 5 นาที เมื่อมันเทศอายุ 1 เดือน พ่นสารฆ่าแมลง อิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 2 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ที่โคนต้นและเถาด้วย อัตราน้ำ 160 ลิตรต่อไร่ ทุกสัปดาห์

7.ใช้กับดักฟีโรโมน จำนวน 4 กับดักต่อไร่ เมื่อมันเทศอายุประมาณ 1 เดือน

8.ใช้ไส้เดือนฝอยสไตเนอร์นีมา คาร์โปแคปซี(Steinernema carpocapsae) อัตรา 50 ล้านตัวต่อน้ำ 20 ลิตรต่อ 267 ตารางเมตร พ่นหรือราดลงดินในแปลงปลูกมันเทศ เมื่อมันเทศมีอายุได้ 60 วันหลังปลูก และ ใช้ติดต่อกันทุก 15-20 วัน รวม 3-4 ครั้ง

*** ควรพ่นไส้เดือนฝอยตอนเย็น (หลังเวลา 17.00 น.) ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงแสงอาทิตย์ ในกรณีที่มีอากาศแห้งแล้งควรพ่นน้ำให้ความชุ่มชื้นก่อน