รู้หรือไม่…โจทย์ท้าทายธุรกิจ…ในมิติด้าน ESG คือ…?

ปี 66 โลกยังคงกังวลกับความไม่แน่นอนและความชะงักงันทางเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินการด้านความยั่งยืน หรือที่เรียกว่า ESG ของภาคธุรกิจด้วยเช่นกัน 

สำหรับประเทศไทย ภาครัฐก็ได้ให้ความสำคัญและออกมาตรการต่างๆ เพื่อผลักดันนโยบายที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ในขณะที่แนวโน้มการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศและภูมิภาคทั่วโลกก็เป็นไปอย่างเข้มข้น 

5F6356A2 3FF7 4CF7 A7E3 D706E3745424

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้รวบรวมประเด็นท้าทายต่างๆ ที่ภาคธุรกิจควรรับทราบ จับตามองและเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการด้านความยั่งยืนในปี 66 ไว้ดังนี้

1. ความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจโลกยังคงเผชิญความไม่แน่นอนสูงและมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ จากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ความผันผวนของราคาพลังงาน และข้อจำกัดในการหาแหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจ รวมไปถึงการตัดสินใจลงทุนในด้าน ESG  

2. มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของไทย (Thailand Taxonomy)  ระยะที่ 1 ในภาคพลังงานและภาคขนส่ง: โดยแบ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามการลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศออกเป็นสีเขียว เหลือง และแดง ซึ่งภาคธุรกิจสามารถอ้างอิงเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ต่ำลงได้หากจัดอยู่ในประเภทเขียวหรือเหลือง ในขณะที่กิจการในกลุ่มสีแดงอาจเผชิญกับข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น 

3. แนวโน้มการดำเนินมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดขึ้นทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (CBAM) ของสหภาพยุโรป (อียู) การเตรียมใช้กฎหมาย Clean Competition Act  ของสหรัฐฯ ร่างกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการทำลายป่าไม้ของสหภาพยุโรป แนวโน้มการผลักดันการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure) ที่หน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการป้องกันการฟอกเขียว (Greenwashing) และกระแส Anti-ESG 

9E9E7F13 1F2E 4BC9 8FEF 70221A918CE7