ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒ ผลผลิตสูง อายุสั้น ปริมาณโปรตีนสูง

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 ได้เสนอขอรับรองพันธุ์ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 เป็นพันธุ์แนะนำและคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพืช มีมติให้ปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและสมบูรณ์และเห็นชอบให้ผ่านการพิจารณาเรียบร้อยแล้วเมื่อ 10 พ.ค. 2566 และขณะนี้ผู้แทนคณะนักวิจัยปรับปรุงพันธุ์ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 ได้แก้ไขข้อมูลเรียบร้อยแล้ว สรุปดังนี้

1254606 1
ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒


ลักษณะเด่น

1.ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตฝักสดและฝักแห้งเฉลี่ย 422 และ 139 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 ถึง 27 และ 31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

2.อายุสั้น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 85-90 วัน เร็วกว่าพันธุ์สงขลา 1 ที่นิยมปลูกในปัจจุบัน 1 เดือน

3.มีปริมาณโปรตีนสูงกว่าพันธุ์สงขลา 1 3.22 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีน 18.7เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่า พันธุ์สงขลา ๑ ถึง 3.22 เปอร์เซ็นต์

1254609
ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒

พื้นที่แนะนำ

ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 สามารถปลูกได้ในสภาพพื้นที่ซึ่งเหมาะสมกับการปลูกถั่วหรั่ง

โดยทั่วไป คือ ในพื้นที่ดอน ดินร่วนปนทรายถึงดินทรายจัด

1254615
ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒


ข้อควรระวัง

1.ถั่วหรั่งสายพันธุ์ TVsu 89 มีความอ่อนแอต่อโรคใบไหม้ที่เกิดจากเชื้อ Rhizoctonio solani ในสภาพแปลงปลูกมากกว่าในพันธุ์สงขลา 1

2. ควรหลีกเลี่ยงช่วงปลูกที่จะทำให้เกิดการกระทบแล้งในช่วงอายุ 30-ุ60 วัน

1254605
ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒

ความพร้อมของพันธุ์

ในปี พ.ศ. 2566 ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา จะดำเนินการขยายเมล็ดพันธุ์คัดให้ได้จำนวน 100 กิโลกรัม สำหรับใช้ขยายเป็นชั้นเมล็ดพันธุ์หลัก 1,000 กิโลกรัม โดยมีเป้าหมายให้ได้เมล็ดพันธุ์ชุดแรกสำหรับการปลูกในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 100 ไร่ ในปี 2567 ซึ่งเกษตรกรผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

1255859 1
ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒

เสนอขอตั้งชื่อพันธุ์

ถั่วหรั่ง กวก. สงขลา ๒ “Bambara Groundnut DOA Songkhla ๒”