ประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย งานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565   

อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานมอบรางวัลประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย ในงานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565 ณ จังหวัดร้อยเอ็ด 

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 เวลา 11.00น. นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานมอบรางวัลประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย ในงานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม ณ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยนายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4,นายปัญญา มูลคำกา ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด ,เลขานุการกรม และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้   

0961E95C 5273 4EEB B2BA 4A83391CA2C6

การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาการตลาดควายไทย และอนุรักษ์ควายไทยพื้นเมือง มุ่งหวังส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดมีการปรับปรุงพันธุกรรมของควายไทย ให้มีคุณภาพดีขึ้นเป็นการเผยแพร่พันธุ์ควายไทยในพื้นที่ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป สร้างความภูมิใจในอาชีพของตนเองและสืบทอดอาชีพการเลี้ยงควายไทยจากรุ่นสู่รุ่น  ให้เกษตรกรคนรุ่นใหม่หันมาเห็นความสำคัญกับการผลิตควายไทยคุณภาพทั้งการจัดการเลี้ยงดู การคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ และร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยมากยิ่งขึ้นอีกทั้ง เพื่อเป็นการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มของควายไทย    กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย  การจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับควายไทย นิทรรศการแนะนำผลงานจากอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างเป็นต้น

11E75993 E562 475B A5CE 72DF7AD98108

นอกจากนี้ภายในงานยังประกอบได้ พิธีสู่ขวัญควาย ,การโชว์ควายเผือกและควายแคระแสนรู้  และ การประกวดควายไทย ทั้งนี้ มีควายงามเข้าประกวด จำนวนมาก  ประเภทของการประกวดประกอบด้วยได้แก่1.รุ่นฟันน้ำนม2.รุ่นฟันแท้ 1-2 คู่  3.รุ่นฟันแท้ 3คู่ขึ้นไป ทั้งเพศผู้และเพศเมีย  และแกรนด์แชมเปี้ยนเพศผู้และเพศเมีย 

ผลการประกวดกระบือเพศเมียรุ่นควายสาว อายุ 31 –  36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)

-รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อดาวเรือง จากแพรวาฟาร์ม

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  กระบือชื่อมะลิ จากแพรวาฟาร์ม

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  กระบือชื่อดอกคูณ จากสกลพานิชย์ฟาร์ม

ผลการประกวดกระบือเพศผู้ รุ่นควายหนุ่มอายุ 31 – 36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)

-รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อป๊อก 9 จากภาคินฟาร์ม

-รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กระบือชื่อทองอุดร จากแลนาฟาร์ม

-รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กระบือชื่อช้างนาคาจากลังกาฟาร์มควายงามเมืองนาคา

DCF07635 CDE1 424E A2C9 5103A4A13B27

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย  เนื่องจากควายหรือภาษาทางการเรียกว่า“กระบือ”  ที่รู้จักกันนี้ น้อยคนแล้วที่จะได้เคยเห็นตัวจริงควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน  คนไทยเทียมควายไถนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด  ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี ก่อนที่จะมีรถไถเกิดขึ้นมา การเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลงจนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น  

00983E06 AF49 4950 83DE F4CCCC6A85F6

นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงควายขอให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการเลี้ยงควาย สู่อาชีพที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

AB6103F1 ED6B 4476 89BC 59ECFCCEA0A8
DB081665 1592 4C87 BE00 38488BE143A5
CB52920B 698E 4822 A456 45E8040EA762
008FCF48 9313 4DB3 A6F4 F4328B78D899
81BD0F3B 5A21 4056 9BC3 B98B3780A4DD
9CB0A538 C1DA 4D88 84C3 9A8F1AADF84F