ธรรมนัส ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย” ชี้ หมดยุค ชาวนาแบกข้าว

S 10854489
ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมเวทีข้าวไทย ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “อนาคตข้าวไทย: โอกาสและความท้าทาย”ณ ห้องประชุมสุธรรมอารีกุล อาคารสารนิเทศ 50 ปี ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย” ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับข้าวซึ่งเป็นสินค้าเกษตรหลักของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถด้านการผลิตและการตลาดตลอดโซ่อุปทาน โดยมีแนวทาง ดังนี้

S 10854495
ธรรมนัส ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย”


1) ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวที่หลากหลายตรงความต้องการของตลาด มีความต้านทานโรค ให้ผลผลิตสูง มีรายได้เพิ่มขึ้น

2) นำเครื่องจักรกล เทคโนโลยี และนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้ในการผลิต เพื่อลดต้นทุนด้านการเกษตร

3) ส่งเสริมการทำนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศ ลดการเผาตอซังในไร่นา ส่งเสริมให้เกษตรกรนำเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นามาใช้ประโชน์ สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น การผลิตปุ๋ย การนำไปเป็นอาหารสัตว์ และการนำไปใช้ในโรงไฟฟ้าชีวมวล ช่วยลดมลพิษทางอากาศ PM 2.5

S 10854492
ธรรมนัส ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย”

4) สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรมีอำนาจในการต่อรองในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ข้าว สามารถพึ่งพาตนเองได้

5) ส่งเสริมการผลิตข้าวที่ได้มาตรฐานรองรับตรงตามความต้องการของตลาด

6) ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต

S 10854494
ธรรมนัส ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย”

7) เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสต์เพื่อการส่งออกข้าวไทย การส่งเสริมหาตลาดใหม่ที่มีกำลังซื้อ การเจาะกลุ่มตลาดข้าวเฉพาะ สร้างตราสินค้าให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณค่าและคุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าข้าวไทย

ร้อยเอกธรรมนัส กล่าวถึงกรณีที่มีประเด็นพันธุ์ข้าวไทยไม่ติดอันดับในการประกวดข้าวที่ดีที่สุดในโลก The World’s Best Rice 2023 ในปีนี้นั้น ขอชี้แจงว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากปีนี้ประเทศไทยไม่ได้ส่งพันธุ์ข้าวเข้าประกวด ซึ่งหน่วยงานที่ส่งเข้าประกวดคือ กระทรวงพานิชย์ และสมาคมผู้ส่งออกข้าว สำหรับกรณีการลักลอบนำเข้าสายพันธุ์ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านมาปลูกในไทยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แม้จะปลูกได้ปริมาณที่มากกว่าหรือเท่ากัน แต่ขอให้คำนึงถึงคุณภาพและเป็นสำคัญ เนื่องจากสายพันธุ์ข้าวไทยมีอัตลักษณ์เฉพาะ ซึ่งกรมการข้าวต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับแก่เกษตรกร อีกทั้งได้เตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้สำหรับฤดูกาลผลิตหน้าแล้ว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญจะทำอย่างไรให้เมล็ดพันธุ์ข้าวมีคุณภาพดี ผลผลิตต่ำ กรมการข้าวจึงต้องตระหนักและมุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ทนทานต่อโรค และตรงความต้องการของตลาดโลกเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย

S 10854496
นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย


ทั้งนี้ ประเทศไทยมีเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 4.68 ล้านครัวเรือน หรือประมาณ 17 ล้านคน เนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีและนาปรัง เฉลี่ยปีละ 70 – 71 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 47 ของเนื้อที่ทำการเกษตรทั้งประเทศ (149 ล้านไร่) มีผลผลิตข้าวประมาณ 31 – 32 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี หรือประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร โดยในปี 2565 ไทยส่งออกข้าวได้ 7.71 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 138,698 ล้านบาท และปี 2566 (ม.ค. – ก.ย.) ส่งออกได้แล้ว 6.08 ล้านตัน มูลค่า 117,590 ล้านบาท

messageImage 1702447607716
ธรรมนัส ปาฐกถาพิเศษ “นโยบายรัฐกับอนาคตข้าวไทย”


ด้านนายณัฏฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า “ปีนี้กรมการข้าวจะประกาศพันธุ์ข้าวเพิ่มอีก 8 สายพันธุ์ ช่วงเดือนเมษายน ส่วนเหตุและผลที่จะต้องประกาศในเมษายนคือ กรมการข้าวจะเตรียมความพร้อมก่อนประกาศ ขณะนี้ทำเมล็ดชั้นพันธุ์หลัก ซึ่งต้องใช้เวลาผลิต 4 เดือน ทำให้เกษตรกร พอพร้อมเราก็ประกาศ และสามารถแจกให้กับเกษตรกรนำไปเพาะปลูกได้

ปัจจุบันกรมการข้าวมีพันธุ์ข้าวมากกว่า 200 สายพันธุ์ และพันธุ์ที่กำลังเป็นที่ต้องการ คือ ข้าวพื้นแข็งกข 85 และ กข 95 เกษตรกรมารอคิวที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ฯตั้งแต่ตีสามจนถึงหกโมงเช้า กระแสตอบรับดีมาก เกษตรกร ความต้องการมาก เราต้องผลิตเมล็ดพันธฺุให้เพียวพอกันชาวนาไปใช้อื่น”

ในส่วนความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าว อธิบดีกรมการข้าวกล่าวว่า..ปัจจุบันกรมการข้าวผลิตเองได้ 1.05 แสนตัน ศูนย์ข้าวชุมชน ที่กรมการข้าวสนับสนุนอยู่ 2 แสนตัน รวมแล้วส่วนของภาคราชการ 3 แสนตัน เมล็ดพันธุ์ของสหกรณ์ 2 แสนตัน เอกชน 3 แสนตัน ที่เหลือ อีก 6 แสนตัน เกษตรกรนาปีเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเอง ซึ่งในแต่ละปีมีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปีละ 1.3 ล้านตัน และที่สำคัญเกษตรกรจะต้องเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ข้าว ทุก 3 ปี ถึงจะได้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ในภาครัฐโดยเฉพาะกรมการข้าวกับศูนย์ข้าวชุมชน ต้องผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเท่าไหร่ ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร อธิบดีกรมการข้าวกล่าวย้ำว่า 500,000 ตันถึงจะเพียงพอ

ทั้งนี้ กรมการข้าวเอง งบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด ขณะนี้กรมฯมีสภาพคล่องไม่เพียงพอ สำหรับเตรียมเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี สำหรับให้ชาวนาไว้เพาะปลูก จึงเตรียมเสนอของบกลาง วงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อสมทบเข้ากองทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์ข้าว ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 ล้านบาท สามารถผลิตเมล็ดพันธ์ข้าวได้ประมาณปีละ 1.05 แสนตัน เติมเข้ามาอีก 2,000 จะทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีสู่พี่น้องชาวนา 2.10 ตัน”

สำหรับการประชุมเวทีข้าวไทย ประจำปี 2566 จัดโดย มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับภาคีองค์กรพันธมิตร ได้แก่ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นถึงโอกาส ปัญหาและความท้าทายของเศรษฐกิจข้าวไทย นำไปสู่ความมั่นคงและยั่งยืน เพื่อแสวงหาความร่วมมือในการกำหนดทิศทางและสร้างยุทธศาสตร์ข้าว นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวและชาวนาไทยให้ปรับตัวก้าวทันกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ