รู้จักทุเรียน “บาตามัส” ความภาคภูมิใจของเกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนใต้

ชวนทำความรู้จักทุเรียน “บาตามัส” แสนอร่อย ความภาคภูมิใจของเกษตรกร 3 จังหวัดชายแดนใต้

ทุเรียนบาตามัส เป็นภาษามลายู ที่ชาวบ้านในพื้นที่เรียกขานกัน มีความหมายว่า ทุเรียนหมอนทอง ที่บ่งบอกได้ถึงความอร่อย เนื้อละเอียด กรอบนอกนุ่มใน มีกลิ่นหอม และหวานละมุน 

ซึ่งกว่าจะมาเป็น”ทุเรียนบาตามัส” ของโปรดของใครหลายคน เกษตรกรชาวสวนทุเรียนผู้เข้าร่วมโครงการทุเรียนคุณภาพฯ ต้องใช้เทคนิคการดูแล บำรุง รักษา ต้นทุนเรียน ที่ยกระดับไปอีกขั้นด้วยการทำทุเรียนให้ได้ทุเรียนเกรดพรีเมี่ยม ที่พัฒนาคุณภาพจนได้ระดับ GAP สามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกรในสามจังหวัดชายแดนใต้

48B30BC7 F315 4F00 9ED6 C979C771E2B0
BB59E8D8 C6DD 4509 8996 C55586B0EF32

โครงการทุเรียนคุณภาพฯ หรือชื่อเต็มว่า โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชาในจังหวัดชายแดนใต้ เริ่มดำเนินการในจังหวัดยะลาเป็นแห่งแรกเมื่อปี 2561 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 18 ราย ต้นทุเรียน 335 ต้น จากความสำเร็จในระยะแรก จึงได้ขยายพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ เพิ่มมากขึ้น ยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนรวม 20 กลุ่ม และเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนทุเรียนคุณภาพในสามจังหวัดชายแดนใต้อีกด้วย

87AFF7E4 F78E 4F51 A21C C0EE59D5DE37
B14E7B81 48AA 433D 8E05 88ABB6F4C367

ความมีคุณภาพของทุเรียนที่โครงการฯ พยายามสร้างให้เป็นมาตรฐานนั้น เกษตรกรจะต้องดูแลต้นทุเรียนตามขั้นตอนและวิธีการในคู่มือทุเรียนคุณภาพของโครงการฯ เช่น การตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ยการผสมเกสร การแต่งดอก การฉีดพ่นสารป้องกันแมลง การตัดแต่งผล การกำจัดวัชพืช การให้น้ำและการโยงกิ่ง ซึ่งต้องทำตลอดระยะเวลาการเติบโตของทุเรียนเพื่อให้ได้ทุเรียนคุณภาพตามความต้องการของตลาด คือ ผลผลิตเกรด AB 80 เปอร์เซ็นต์ หนามเขียว และไม่มีหนอน ซึ่งต้องอาศัยการทำเกษตรที่ประณีตโดยจุดหมายปลายทาง คือ การทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น นำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้

AB71C396 6174 4A07 A345 D1CB4D1EEA20

ขอบคุณข้อมูลและภาพ จาก : มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ