เตือนภัย หนอนชอนใบ ในลำไย

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศร้อน มีแสงแดดจัดสลับกับท้องฟ้ามืดครึ้มบางช่วงของวันและมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือน “ผู้ปลูกลำไย” ในระยะ แตกใบอ่อน เก็บเกี่ยว รับมือ “หนอนชอนใบ” เข้าทำลายในระยะที่ต้นลำไยแตกใบอ่อน ใบที่ถูกทำลายมีอาการคล้ายโรคใบไหม้ มีสีน้ำตาลแดง โดยที่หนอนเริ่มเจาะที่ฐานเส้นกลางใบ แล้วเคลื่อนไปทางปลายใบ ก่อนถึงปลายใบ “หนอน”จะชอนไชเข้าไปในส่วนเนื้อของใบ รอยที่หนอนเจาะเข้าไปจะพบมูลหนอนอยู่ด้วย เมื่อหนอนโตเต็มที่แล้ว จะออกมาเข้าดักแด้ข้างนอกตาม “ใบลำไย” โดยชักใยห่อหุ้มตัวเองอยู่ภายใน ถ้ามีการระบาดรุนแรง ใบอ่อนจะถูกหนอนทำลายหมด

279127511 322847583327796 7387912701907688654 n
หนอนชอนใบ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
๑. รวบรวมยอดอ่อนหรือใบอ่อนที่มีรอยทำลายของ “หนอนชอนใบ” เผาทำลาย
๒. เก็บดักแด้ของ “หนอนชอนใบ” ซึ่งเจาะออกมาเข้าดักแด้ตามใบแก่หรือใบเพสลาด นำไปทำลาย
๓. ถ้ามีการระบาดของ “หนอนชอนใบ” รุนแรงขณะลำไยแตกใบอ่อน ควรพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เช่น อิมิดาโคลพริด ๑๐% เอสแอล อัตรา ๘ มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร

สำหรับ “ลำไย” เป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานอย่างมากในประเทศไทย โดยจังหวัดที่ปลูกมากที่สุด คือจังหวัดลําพูนแต่ที่นิยมปลูกในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 5 ชนิด ชนิดแรก คือ ลําไยกะโหลก ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีผลใหญ่ เนื้อหวานอร่อยซึ่งก็จะแบ่งแยกย่อยไปอีกหลายสายพันธุ์ เช่น สีชมพู อีดอ อีแดง อีดํา เป็นต้น ส่วนชนิดที่ 2-5 ก็คือ ลําไยกระดูก ลําไยสายน้ำผึ้ง ลําไยเถา ลําไยขาว และลําไยธรรมดา