ธ.ก.ส. ชวนช้อป”ผลไม้สด”คุณภาพดีภาคเหนือ

ธ.ก.ส. สนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าแก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs เกษตร รวมถึงผู้บริโภคได้รับสินค้าคุณภาพดีจากสวนของเกษตรกรโดยตรง ธ.ก.ส. ชวนช้อปผลไม้คุณภาพจากภาคเหนือ พร้อมจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เพื่อสนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าแก่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบการ SMEs เกษตร รวมถึงผู้บริโภคได้รับสินค้าคุณภาพดีจากสวนของเกษตรกรโดยตรง “ธ.ก.ส. ชวนช้อปผลไม้คุณภาพจากภาคเหนือ” พร้อมจัดส่งสินค้าถึงหน้าบ้าน

IMG 57747 20220808084704000000

ไม่ว่าจะเป็นส้มโอหลากหลายสายพันธุ์ จากอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย พันธุ์ทองดี กล่องละ 10 กก. ราคาเพียง 300 บาท และพันธุ์ขาวใหญ่ กล่องละ 10 กก. ราคาเพียง 400 บาท ลำไยพรีเมียมจากกลุ่มแปลงใหญ่ลำไย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ตะกร้าละ 3 กก. ราคาเพียง 250 บาท และลำไยคุณภาพจากกลุ่มแปลงใหญ่ลำไย ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว กลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบลชมภู และกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ตะกร้าละ 5 กก. ราคาเพียง 260 บาท

สั่งซื้อได้เลยผ่านเพจ Facebook: Page สำนักงานเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ และแอปพลิเคชัน Line: @018drpli ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 30 กันยายนนี้ พร้อมจัดส่งฟรีถึงบ้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้ว่าการส่งออก “ผลไม้ไทย “จะขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ส่งออกไทย รวมถึงเกษตรไทยก็ยังเผชิญกับความท้าทายอยู่หลายประการ เช่น 1. การกระจุกตัวของตลาดส่งออก : ตลาดรับซื้อผลไม้ไทยกระจุกตัว พึ่งพาตลาดจีนเป็นหลักอาจมีความเสี่ยงจากมาตรการทางการค้าจีนที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการส่งออกของไทยเข้มงวดขึ้น อาจจะทำให้ต้นทุนการขนส่งของผู้ส่งออกไทยเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ รสนิยมการบริโภคผลไม้ของผู้บริโภคชาวจีนในอนาคตอาจเลือกที่จะหันไปซื้อผลไม้ที่มีรสชาติแปลกใหม่ที่ผลิตจากประเทศอื่นมากขึ้น อาจทำให้ไทยสูญเสียลูกค้าได้ ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการไทยหันมาแปรรูปผลไม้มากขึ้น เพื่อนำเสนอรสชาติที่แปลกใหม่ก็น่าจะเป็นโอกาสในการขยายตลาดส่งออกผลไม้ได้เพิ่มอีกทางหนึ่ง

2) รายได้ของเกษตรกรไทย : นอกจากนวัตกรรมทางการผลิตแล้ว นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเงินที่จับคู่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้มาพบกันบนโลกออนไลน์ก็มีความสำคัญต่อการปรับตัวของเกษตรกรไทย การปลูกถ่ายองค์ความรู้และวิธีการใหม่ ๆ อาทิ การทำช่องทางการขายแบบ E-commerce เป็นอีกช่องทางในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย

อย่างไรก็ดี การเติบโตของการส่งออก “ผลไม้ไทย” ในปัจจุบันสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี แม้เผชิญวิกฤติโควิด-19 และความไม่แน่นอนจากมาตรการที่อาจเกิดขึ้นใหม่หรือที่มีความเข้มงวดมากขึ้น