ทูตเกษตรฯแนะ”ทุเรียนไทย”วิ่ง สู้ ฟัด สกัดคู่แข่ง เร่งปรับตัวทั้งระบบ 

ทูตเกษตรนครกว่างโจว เปิดบทสรุปทิศทางปัจจุบัน-อนาคตทุเรียนไทย ต้องเร่งปรับตัวก่อนพ่ายคู่แข่งที่พัฒนาพันธุ์ใหม่สู้ แม้แต่เจ้าประเทศอย่างจีนยังเริ่มทดลองปลูกทุเรียนเองในหลายพื้นที่ พร้อมย้ำเร่งแก้จุดอ่อนระบบขนส่ง เพื่อรองรับการส่งออกปริมาณมาก

ฝ่ายเกษตร ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว รายงาน”ทุเรียนไทยในตลาดจีน ครึ่งแรกของปี2565 และความท้าทายของทุเรียนไทย” โดยระบุว่า สถานการณ์การนำเข้าปัจจุบันไทยเป็นประเทศเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกทุเรียนผลสดมายังจีนไต้ 

ในขณะที่ประเทศเวียดนามและจีนได้บรรลุข้อตกลงพิธีสาร การตรวจสอบกักกันทุเรียนผลสดส่งออกมายังจีนแล้ว โดยศุลกากรแห่งชาติจีน ได้ประกาศข้อกำหนดต้านการตรวจสอบกันกันทุเรียนผลสดนำเข้าของเวียดนามในเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565

แต่ในทางปฏิบัติ ยังไม่สามารถนำเข้ามายังจีนได้ เนื่องจากอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุทุเรียนของเวียดนามกับทางศุลกากรแห่งชาติจีน จึงยังไม่มีการเพิ่มรายชื่อทุเรียนจากเวียดนามในบัญชีรายชื่อผลไม้ที่ประเทศจีนอนุญาตให้นำเข้าและรายชื่อประเทศ/เขตที่ส่งออกในฉบับล่าสุด เมื่อวันที่11 สิงหาคม 2565 จึงทำให้ในส่วนของทุเรียนแช่แข็งนั้น ปัจจุบันจีนอนุญาตให้นำเข้าได้จากประเทศไทยและมาเลเซียเท่านั้น

EC1B4066 740C 4FF6 AC3E 17AF951A5AB4

“จีน” เป็นประเทศที่มีการนำเข้าทุเรียนเพื่อการบริโภคมากอันตับหนึ่งของโลก โดยในปี 2564 มีการนำเข้าทุเรียนจากไทยมากถึง 807,227 ตัน และในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 มีการนำเข้า 500,546 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.20 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

โดยพบว่าในครึ่งแรกของปี 2565 ช่วงเดือนที่มีการนําเขาทุเรียนมาก สอดคลองกับผลผลิตของไทยที่ออกมามาก คือ เดือนมิถุนายน (การนําเข้าปี 2565 และ 2564 คือ 218,963 และ 122,364 ตัน ตามลําดับ) 

ในขณะที่เดือนมกราคมของปี 2565 มีการนําเขามากกวาชวงเดียวกันของปี 2564 มาก (การนําเข้าปี2565 และ 2564 คือ 21,783 และ 9,492 ตัน ตามลําดับ) จึงเป็นช่วงที่ราคาซื้อขายต่ำกว่าเมื่อเทียบกับปี2564 ตามกลไกตลาด 

ในภาพรวมเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 พบว่า ราคาขายสงเฉลี่ยของทุเรียนไทย ในตลาดค้าส่งผักและผลไม้เจียงหนาน นครกวางโจว ใกล้เคียงกับปี 2564 โดยเพิ่มขึ้นรอยละ 0.76 ในขณะท่ีปริมาณการนําเข้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2

ช่องทางในการนำเข้าทุเรียนมีทั้งเส้นทางขนส่งทางอากาศ เส้นทางเรือ และเส้นทางบก โดยเส้นทงการนำเข้าทงบกนั้นปัจจุบันสามารถนำเข้าผ่านเขตปกครองตนเองกว่างชีจ้วง ทั้งหมด 3 ด่าน ได้แก่ ด่านโหย่วอี้กวน ต่านรถไฟผิงเสียง และด่านตงชิง ผ่านมณฑลยูนนานได้ 3 ด่าน ได้แก่ ด่านโม่ฮาน ด่านเหอโข่ว และด่านเทียนเป่า(ด่านเทียนเป่า อยู่ระหว่างการพัฒนาลานสินค้านานาชาติคาดว่า จะแล้วเสร็จปลายปี)

ในขณะที่ด่านหลงปัง และต่านสุยโข่ว ของเขตฯ กว่างชีจัวง แม้ว่าจะมีสถานที่ควบคุมตรวจสอบผลไม้นำเข้า แต่ยังไม่สามารถนำเข้าผลไม้จากไทยได้ เนื่องจากต่านทั้งสองอยู่ระหว่างการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานเพื่อยกระดับเป็นด่านสากล(สามารถนำเข้าผลไม้จากประเทศเวียดนามได้เนื่องจากเป็นด่านชายแดนระหว่างกัน) 

ในส่วนของด่านรถไฟโม่ฮาน และด่านสถานีรถไฟเหอโข่ว แม้ว่าจะเป็นด่านสากลแต่ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างสถานที่ควบคุมตรวจสอบผลไม้นำเข้า จึงยังไม่สามารถนำเข้าผลไม้จากต่างประเทศได้

ความท้าทายของทุเรียนไทยในตลาดจีน ด้วยสถานการณ์ความต้องการบริโภคทุเรียนในจีนที่มีมากขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นเป้าหมายของหลายประเทศที่ต้องการเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดทุเรียนผลสดในจีน

A15C001B 3710 4BCE A6F6 099857B81B5B

เวียดนาม

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทเวียดนาม รายงานว่า ผลผลิตทุเรียนของเวียดนามมีปริมาณรวม600,000 ตันต่อปีโดยในปี 2564 มีผลผลิต 642,600 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15  เมื่อเทียบกับ ปี 2563 ผลผลิตส่วนใหญ่ออกในเดือนเมษายน – กรกฎาคม และบางส่วนออกในเดือนตุลาคม – มีนาคมของปีถัดไปพันธุ์หลัก ๆ ได้แก่ Ri6 หมอนทอง เป็นต้น โดยมีพื้นที่ปลูกเพื่อการส่งออกอย่างเป็นทางการประมาณ312,500 -375,000 ไร่  ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ เช่น จังหวัด Tay Ninh, Binh Duong, Dong Nai, Binh Phuoc, Tien Giang และ Dak Lak (จังหวัด Dak Lak พื้นที่ปลูกประมาณ 106ไร่ ผลผลิตประมาณ140,000  ตัน) ทั้งนี้ เวียดนามได้เสนอรายชื่อสวนทุเรียน 123 แห่ง และโรงคัดบรรจุทุเรียน 57 แห่ง ให้กับศุลกากรแห่งชาติจีนพิจารณาขึ้นทะเบียนเพื่อส่งออกไปจีน

สปป.ลาว

สปป.ลาว ลาวมีการเพาะปลูกทุเรียนทั้งพันธุ์ดั้งเดิมและพันธุ์หมอนทองอยู่เดิมแล้วซึ่งมีการให้ผลผลิต แต่ไม่มีสถิติการรวบรวมพื้นที่เพาะปลูกอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ดี ภายหลังจากที่มีการก่อสร้างโครงการรถไฟลาว-จีน ได้มีผู้ประกอบการจีนจำนวนมากเข้าไปลงทุนเพาะปลูกทุเรียนในลาวอย่างต่อเนื่อง นั้น บริษัท Jiarun Agriculture Development จำกัด ของจีนได้มีการขอสัมปทานพื้นที่ จำนวน 5,027 เฮกตาร์(31,418.75 ไร่) ในเมืองสนามไชย แขวงอัตตะปือ โดยได้มีการเซ็นสัญญาระหว่างกันเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565  ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทางบริษัทจะร่วมมือกับสำนักวิจัยพืชกึ่งเขตร้อนทางใต้ของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรเขตร้อนของจีน (South Subtropical Crops Research Institute of Chinese Academy of Tropical Agicultural Science) สร้างนิคมอุตสาหกรรมการเกษตรสาธิตเพื่อฟื้นฟูป่า โดยจะสร้างเป็นนิคมอุตสาหกรรมการเกษตรสมัยใหม่ (ฐานอุตสาหกรรมทุเรียนที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต+การเกษตร สร้างระบบมอนิเตอร์สภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกอัจฉริยะมีมาตรฐานเป็นระบบ ประยุกต์ข้อมูลดิจิทัล ผลิตภัณฑ์สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้)

โดยเมื่อมิถุนายน 2565 ผู้เชี่ยวชาญเทคนิคด้านการเกษตรได้ดำเนินการเพาะและคัดเลือกต้นกล้าทุเรียนในล็อตแรกแล้วเสร็จ และเมื่อเดือนสิงหาคม 2565 พบว่าต้นกล้าเติบโตได้ดีและพร้อมจะดำเนินการลงแปลงเพาะปลูกแล้ว ซึ่งเปิดให้นักลงทุนจีนที่สนใจปลูกทุเรียนเพื่อเก็บผลผลิตสามารถลงทุนผ่านบริษัทได้โดยนักลงทุนจีนจะจ่ายเงินค่าปลูกต้นทุเรียนใน 5 ปีแรก ต้นละประมาณ 14,000  หยวน และตั้งแต่ปีที่ 6-50 ที่เป็นช่วงให้ผลผลิตก็จะจ่ายค่าดูแลรักษาต้นทุเรียนร้อยละ 30 ของผลผลิตทุเรียนที่จำหน่ายได้ให้กับผู้บริหารโครงการที่ทำหน้าที่ดูแลและบำรุงต้นทุเรียน

กัมพูชา

ประเทศ กัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนมากกว่า 34,000 ไร่ มีพื้นที่ให้ผลผลิตมากกว่า 22,000 ไร่ผลผลิตปีละมากกว่า 37,000 ตัน ส่วนใหญ่เพาะปลูกในจังหวัดกัมปอต กำปงจาม เกาะกง และ พระตะบอง ซึ่งหน่วยงานของกัมพูชาอยู่ระหว่างการเจรจากับศุลกากรแห่งชาติจีนเพื่อขอเปิดตลาดการส่งออกทุเรียนผลสดไปจีน

จีน

มณฑลไห่หนาน ของจีนเป็นพื้นที่แรกที่มีการทดลองปลูกทุเรียนในจีนตั้งแต่ปี 2501 (64 ปี)  โดยมีการนำพันธุ์จากมาเลเซียมาปลูกที่สำนักวิจัยพืชเขตร้อนเป่าถิงของสถาบันวิทยาศาสตร์ไห่หนานสเตทฟาร์ม แต่ก็ไม่ได้มีการติดผล ทำให้ที่ผ่านมาคิดว่าสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของมณฑลไห่หนานไม่เหมาะกับการเพาะปลูกทุเรียน ซึ่งหลังจากต้นทุเรียนที่เกษตรกรในอำเภอเป่าถิงให้ผลผลิตในปี 2562 ทำให้สำนักวิจัยพืชเขตร้อนเป่าถิงฯ กลับมาให้ความสนใจและเรียนรู้จากเกษตรกรที่ดูแลตันทุเรียนที่ให้ผลผลิตมีการใช้เทคนิคการผสมเกสรเทียมและการดูแลต้นทุเรียนในช่วงที่ออกดอกและติดผล ทำให้ต้นทุเรียนอายุ 64 ปีสูง 15 เมตร ให้ผลผลิตได้เป็นครั้งแรกในปี 2565 จำนวน 40 กว่าลูก

ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการยืนยันได้ว่า สภาพภูมิอากาศและดินของมณฑลไห่หนาน สามารถเพาะปลูกทุเรียนได้ซึ่งทางสำนักวิจัยพืชเขตร้อนเป่าถิงฯจะใช้ต้นทุเรียนดังกล่าวเป็นแม่พันธุ์ในการขยายพันธุ์เนื่ องจากเป็นต้นที่ ยืนหยัดผ่านสภาพอากาศและสภาพแวดล้อมของมณฑลไห่หนานมาอย่างยาวนาน และอยู่ระหว่างการริเริ่มโครงการแผนวิจัยและพัฒนาพันธุ์ทุเรียนที่เหมาะกับการเพาะปลูกในมณฑลไห่หนานโดยการรวบรวมพันธุ์ทุเรียนต่าง ๆ และเปรียบเทียบค้นหาพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพดินและอากาศของมณฑลไห่หนาน รวมถึงการพัฒนาพันธุ์ไฮบริดจากต้นแม่พันธุ์อายุ 64 ปีที่ให้ผลผลิตและจดสิทธิบัตรเป็นพันธ์ของสำนักวิจัยพืชเขตร้อนเป่าถิงฯ ด้วย ปัจจุบันมีการสร้างฐานสาธิตการเพาะปลูกทุเรียนของสำนักวิจัยพืชเขตร้อนเป่าถิงฯ พื้นที่ 208  ไร่ เพื่อคันหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในไห่หนาน

“สวนเงาะหัวเซิ่ง” ในตำบลซานเต้า อำเภอเป่าถึง ได้นำต้นกล้าทุเรียนจากเวียดนามมาปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์สวนเงาะจำนวน 40 ต้น ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557  โดยไม่รู้ว่าเป็นสายพันธุ์ใดและไม่คาดหวังว่าจะออกผล เมื่อปลูกได้ประมาณ 2 ปี ต้นก็เริ่มออกดอกและติดผล แต่ไม่นานผลก็หลุดจากต้น ในปีที่สามก็เป็นแบบเดียวกัน และในปลายปี 2561 ทุเรียนก็ออกดอกเช่นเคย จนกระทั่งเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์2562  พบว่าผลทุเรียนไม่ได้หลุดร่วงลงเหมือนแต่ก่อน และเริ่มมีผลที่ใหญ่ขึ้น จนมีการเก็บเกี่ยวล็อตแรกเมื่อเดือน 2562 ผลผลิตประมาณ  15 กิโลกรัม (การให้ผลผลิตครั้งแรกของการปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนาน) และพบว่าต้นทุเรียนก็ยังออกผลอีกไม่น้อย โดยมีการให้ผลผลิตจากต้นทุเรียนที่ปลูก ในอำเภอเป่าถึงมาอย่างต่อเนื่องปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศของมณฑลไห่หนาน

โดยในปี 2564 ให้ผลผลิตน้อยเนื่องจากมณฑลไห่หนานมีอากาศเย็นในช่วงต้นปีทำให้มีการออกดอกและติดผลน้อย ในขณะที่ในปี 2565 ต้นทุเรียนส่วนใหญ่ออกดอกและติดผล โดยต้นที่ให้ผลผลิตมากสุดมีจำนวน 70-80 ลูก ในขณะที่ต้นที่ให้ผลน้อยประมาณ 7-8  ลูก ผลผลิตที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากประสบการณ์และเทคนิคในการดูแลรักษาต้นทุเรียนที่สะสมมา

จากการที่ทุเรียนที่ปลูกในมณฑลไห่หนานมีการให้ผลผลิต ส่งผลให้เกษตรกรและผู้ประกอบการจีนเริ่มหันมาทดลองปลูกทุเรียนในมณฑลไห่หนาน โดยปัจจุบันคาดว่ามีพื้นที่เพาะปลูกในมณฑลไห่หนานประมาณ12,500 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอเป่าถิง เมืองซานย่า อำเภอหลิงสุ่ย และอำเภอเล่อตง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลไห่หนาน หากเป็นไปตามแผน คาดว่าจะเริ่มให้ผลผลิตได้ตั้งแต่ปี 2567 ประมาณปีละ45,000-75,000 ตัน

หน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาด้านทุเรียน และให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิคการเพาะปลูกและการดูแลต้นทุเรียนที่สำคัญในมณฑลไห่หนาน ได้แก่ สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน (Hainan Academy of Agricultural Sciences: HNAAS) สถาบันวิทยาศาสตร์ไห่หนานเสตทฟาร์ม(Hainan State Farms Academy of Sciences Group Co., Ltd.) สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรพืชเขตร้อนจีน(Chinese Academy of Tropical Agricultural Sciences: CATAS) และกรมเกษตรและกิจการชนบทมณฑลไห่หนาน ซึ่งต่างกำลังบูรณาการในการรวบรวมองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับทุเรียน ภายหลังการเห็นผลเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ามณฑลไห่หนานสามารถเพาะปลูกทุเรียนได้ ผลักดันและพัฒนาเทคนิคและเทคโนโลยีในการเพาะปลูก

การเพิ่มผลผลิต การดูแลรักษา การป้องกันโรคของต้นทุเรียน ตลอดจนการค้นหาและพัฒนาสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในมณฑลไห่หนานโดยเล็งเห็นว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรในมณฑลไห่หนานได้ ในมณฑลไห่หนานมีการก่อตั้งสมาคมทุเรียน 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมทุเรียนมณฑลไห่หนาน (ภายใต้การชี้แนะของสถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรมณฑลไห่หนาน) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563  สมาคมทุเรียนเมืองซานย่า (ภายใต้การชี้แนะของกรมเกษตรและกิจการชนบทเมืองซานย่า) จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564  และสมาคมอุตสาหกรรมทุเรียนอำเภอปกครองตนเองชนชาติหลีและเหมียวเป่าถิง จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564  ซึ่งต่างให้ข้อมูลเทคโนโลยีการเพาะปลูกทุเรียน สถานการณ์การพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียน แนวโน้มตลาดทุเรียน ตลอดจนฝึกอบรมทางเทคนิคต่าง ๆ แก่สมาชิก ขณะนี้มีเพียงมณฑลไห่หนานที่เดียวที่มีการจัดตั้งสมาคมด้านทุเรียนในจีน

มณฑลกวางตุ้ง

ในสวนของเกษตรกรในตำบลกวนจู เขตเตี้ยนไป้ เมืองเม่าหมิง พบว่า ต้นทุเรียนที่ย้ายจากมาเลเซียมาปลูกจำนวนหนึ่งเมื่อปี 2563  (พันธุ์มูซางคิง และหนามดำ) ซึ่งมีพันธุ์มูซางคิงหนึ่งต้นที่ออกดอกและติดผลสิบกว่าลูกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2565  คาดว่าจะเก็บผลได้ในช่วงเดือนตุลาคมทางเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนจะใช้ต้นที่ย้ายจากมาเลเซียมาปลูกเป็นต้นแม่พันธุ์เพื่อใช้ต่อกิ่งต้นกล้า ปัจจุบันได้มีการลงต้นกล้าทุเรียนพื้นที่  41.7 ไร่ มีต้นกล้าพันธุ์ทุเรียนที่ต่อกิ่งเสร็จแล้วจำนวน 20,000  ต้น และมีต้นกล้าที่ยังไม่ได้ต่อกิ่งอีกกว่า 2 แสนต้น โดยจะขยายพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนเป็น 125 ไร่

จากข้อมูลข้างต้นพบว่าในอนาคตอันใกล้ ตลาดทุเรียนในจีนจะมีการแข่งขันกันเพิ่มมากขึ้นโดยประเทศเวียดนามและลาวจะมีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุนด้านการขนส่งที่น้อยกว่าไทย รวมถึงมีช่องทางในการขนส่งเข้าจีนมากกว่าไทย เนื่องจากทั้งสองประเทศมีชายแดนติดกับจีนสามารถขนส่งผ่านด่านสากลและจุดผ่อนปรนการค้าชายแดน(ตลาดชาวชายแดนสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่น ๆในกรณีที่มีการนำเข้าน้อยกว่า 8,000 หยวนต่อคนต่อวัน ของชาวชายแดน)ได้ 

ในขณะที่ทุเรียนจากไทยจะขนส่งผ่านประทศที่สามทางบกได้ เฉพาะด่านสากลที่กำหนดอยู่ในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและไทยเท่านั้น ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของทุเรียนไทยในตลาดจีนต่ำกว่าทุเรียนของเวียดนามและลาว

ในขณะที่ทุเรียนที่เพาะปลูกในจีนที่คาดว่าจะให้ผลผลิตได้ในปี 2567 แต่ปริมาณไม่ได้มากนักเนื่องจากมีข้อจำกัดของพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก ต่างจากในลาวที่มีพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้อีกมาก ผลผลิตทุเรียนของมณฑลไห่หนานน่าจะจำหน่ายเพื่อรองรับการบริโภคในมณฑลไห่หนานและรองรับนักท่องเที่ยวของจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังมณฑลไห่หนาน ดังนั้น จึงเป็นความความท้าทายสำหรับทุเรียนไทยเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาตลาดและครองใจผู้บริโภคชาวจีนอย่างยั่งยืน

C84F5D00 4E43 40CA 89B7 1DBDBC6FD1E7

ประเด็นที่ผู้ประกอบการผลิตและส่งออกทุเรียนไทยต้องให้ความสำคัญ

1. การวางตำแหน่ง (Positioning) ของทุเรียนไทยในอนาคตที่ตลาดทุเรียนในจีนจะมีผู้เล่นเข้ามาแข่งขันมากขึ้น ไม่ใช่การผูกขาดทุเรียนของไทยประเทศเดียวดังเช่นในอดีต ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรร่วมกันวางตำแหน่งทุเรียนไทยในจีน เพื่อสร้างจุดเด่นและความแตกกต่างจากประเทศคู่แข่งที่มีราคาถูกกว่า ปัจจุบันทุเรียนหมอนทองของไทยได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีนเนื่องจากเนื้อหนานุ่ม รสชาติหวานและมีกลิ่นหอม ปริมาณผลผลิตมาก เน้นตลาดทั่วไป ในขณะที่ประเทศอื่นๆก็จะมีผลผลิตทุเรียนหมอนทองเข้ามาแข่งขันด้วยเช่นกัน

ทุเรียนของไทยสายพันธุ์อื่นยังไม่ได้มีการทำตลาดมากนักในจีน ยกเว้น พันธุ์ชะนีที่ทางบริษัทพาโกดาซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายผลไม้รายใหญ่ของจีนซึ่งมีสาขามากกว่า 5,000 สาขาทั่วจีน ได้พัฒนาแบรนด์ทุเรียนชะนีภายใต้ชื่อ “青尼, ชิงหนีหวัง” หรือราชาทุเรียนชะนี โดยได้มีการนำทุเรียนชะนีจากไทยมาจำหน่ายในจีนต่อเนื่องเป็นเวลา 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2559  ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภคในส่วนของมาเลเซียชูจุดเด่นของทุเรียนมูซางคิงในการขยายตลาดทุเรียนแช่แข็งมาเลเซียในตลาดจีน เน้นกลุ่มที่มีกำลังซื้อจึงถือได้ว่าเป็น Premium Product โดยให้คำนิยามว่าเป็น Hermes Durianจึงมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันทุเรียนไทยที่มีศักยภาพในการทำการตลาดพรีเมี่ยม

เช่น ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ทุเรียนก้านยาว เป็นต้น ซึ่งมีเรื่องราวและความเป็นมา รวมถึงการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค เน้นการสร้างแบรนด์ (Branding) จะช่วยให้ไทยสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับทุเรียนไทยและแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดกับทุเรียนมูซางคิงของมาเลเซียรวมทั้งเสริมสร้างภาพลักษณ์ของทุเรียนไทยได้มากยิ่งขึ้น

2.เน้นการผลิตทุเรียนคุณภาพ มีมาตรฐาน ปัญหาทุเรียนอ่อน และคุณภาพของทุเรียนยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับการพูดถึงจากผู้นำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงต้นฤดูกาลผลิตและช่วงที่ทุเรียนในตลาดมีราคาสูงดังนั้น เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการเลือกซื้อทุเรียนไทย ผู้ประกอบการต้องคัดเลือกทุเรียนที่มีคุณภาพได้มาตรฐานความสุกสำหรับการส่งออก ไม่ให้มีทุเรียนอ่อนหรือด้อยคุณภาพส่งออกมา

โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูกาลของผลผลิตเพราะจะกระทบต่อราคาและตลาดทุเรียนไทยในจีนในวงกว้างได้ง่าย รวมถึงการปฏิบัติตามพิธีสารการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ การใช้ระบU QR Code จากหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานกลางที่น่าเชื่อถือ เพื่อให้สามรถตรวจสอบย้อนกลับได้ ก็จะช่วยให้ผู้บริโภคจีนมีความเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการในระบบห่วงโชการผลิตก็จะใส่ใจและให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

3.การวางแผนการผลิตและขยายตลาด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรศึกษาและวิเคราะห์ภาพรวมการผลิตทุเรียนของประเทศต่าง ๆ เพื่อวางแผนการผลิตทุเรียนของไทยเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาผลผลิตมากกว่าความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต แม้ว่าปริมาณความต้องการบริโภคทุเรียนของจีนจะมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณผลผลิตทุเรียนจากประเทศต่าง ๆ ที่จีนจะอนุญาตให้นำเข้าในอนาคตที่ต่างเริ่มเพาะปลูกทุเรียนจะส่งผลให้ราคทุเรียนในภาพรวมปรับลดลงตามกลไกตลาด การใช้เทคโนโลยีและเทคนิคในการปรับให้ทุเรียนออกผลผลิตนอกฤดูกาลของประเทศอื่น และการขยายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ เพิ่มเติม

4.ติดตามสถานการณ์ปัญหาระบบโลจิสติกส์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมกันพัฒนา เครือข่ายระบบโลจิสติกส์ในประเทศและระหวางประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของการส่งออกผลไม้ในอนาคตที่จะเพิ่มมากข้ึน เนื่องจากผลไมของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งทุเรียนพึ่งพาตลาดจีนเป็นหลัก การขนส่งทุเรียนจึงมีความสําคัญเป็นอยางยิ่ง รวมถึงหน่วยงานและผู้ประกอบการที่เกี่ยวของควรรวมกันวางแผน และติดตามสถานการณ์การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศอยางใกล้ชิดเพื่อให้สามารถวางแผนการขนส่งสินค้าล่วงหน้าเพื่อรองรับปริมาณผลผลิตที่ออกมาจํานวนมากได้อย่างทันท่วงที

5.การตรวจกักกันสินค้าอาหารที่นําเข้าผ่านห่วงโซ่ความเย็น ตามมาตรการ Zero Covid ของจีน ประเทศจีนยังคงให้ความสําคัญ กับการป้องกันการนําเข้าเชื้อโควิด-19 จากต่างประเทศอย่างเข้มงวด ทั้งจากคนและสินค้า ที่เข้าออกประเทศ ผู้ประกอบการจึงควรปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ตลอดห่วงโซอุปทานอย่างเคร่งครัด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายหากมีการตรวจพบ การปนเปื้อนของเชื้อโควิด-19 ที่ปลายทาง และมิใหสงผลกระทบตอความเช่ือมั่นและสถานการณ์การค้าในภาพรวม

6.การพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียน หน่วยงานที่เกี่ยวของควรส่งเสริมให้ผู้ประกอบการคิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากทุเรียนชนิดใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทุเรียน และรองรับการแข่งขันของตลาดทุเรียนสดในอนาคต