“ดาหลา 4 พันธุ์” ตอบโจทย์ตลาดส่งออก

“ดาหลา”เป็นไม้ดอกพื้นเมืองที่มีการใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลายในรูปของไม้ตัดดอกประดับ เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่พันธุ์ดาหลาที่ปลูกในปัจจุบันมีช่อดอกและก้านดอกใหญ่ น้ำหนักมาก เมื่อดอกบานกลีบดอกแผ่ใหญ่ การบรรจุหีบห่อทำได้ยาก ช่อดอกช้ำง่าย เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก

เพื่อเพิ่มความหลากหลายของพันธุ์ดาหลา ทั้งรูปทรง สีสัน และขนาดดอกที่เหมาะสมสำหรับส่งออก ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงพันธุ์ดาหลาเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะทรงถ้วย น้ำหนักช่อดอกน้อย กลีบประดับสีสันสวยงาม ช่อดอกมีขนาดแตกต่างจากพันธุ์ที่มีอยู่เดิม ให้ผลผลิตดอกไม่ต่ำกว่ากอละ 100 ดอกต่อปี มาตั้งแต่ปี 2549 และมาประสบความสำเร็จได้ดาหลาพันธุ์ใหม่ 4 พันธุ์ ที่ผ่านการรับรองเป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร เมื่อ 15 ส.ค.62

325235656 501389348561895 7613973709381516047 n 1 1
พันธุ์ยะลา 1

พันธุ์ยะลา 1 ช่อดอกสีแดงเข้ม กลีบประดับหนาเรียงเป็นระเบียบคล้ายดอกบัว ช่อดอกขนาดปานกลาง ให้ผลผลิตกอละ 386 ดอกต่อปี มีอายุปักแจกัน 5 วัน

%E0%B8%94%E0%B8%B2
พันธุ์ยะลา 2

พันธุ์ยะลา 2 ช่อดอกสีแดงอมส้ม ขอบกลีบมีสีเขียวอ่อน เด่นสะดุดตาเรียงซ้อนหลายชั้น ช่อดอกขนาดเล็ก ให้ผลผลิตกอละ 300 ดอกต่อปี มีอายุปักแจกันนาน 6 วัน

%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2 3
พันธุ์ยะลา 3

-พันธุ์ยะลา 3 ช่อดอกสีแดงสด ขอบกลีบประดับสีขาว ช่อดอกขนาดใหญ่ ให้ผลผลิตกอละ 227 ดอกต่อปี มีอายุปักแจกัน 5 วัน

pt
พันธุ์ยะลา 4

พันธุ์ยะลา 4 ช่อดอกสีชมพูอมแดง กลีบประดับหนา ขอบกลีบมีสีขาว ช่อดอกขนาดปานกลาง ให้ผลผลิตกอละ 280 ดอกต่อปี มีอายุปักแจกันนาน 6 วัน

ดาหลาลูกผสมทั้ง 4 พันธุ์ให้ผลผลิตเกือบตลอดปี ส่วนด้านคุณภาพ พันธุ์ยะลา 1 ยะลา 2 ช่อดอกมีลักษณะโดดเด่นสะดุดตา ช่อดอกขนาดเล็กเป็นทรงถ้วย

ส่วน พันธุ์ยะลา 3 ยะลา 4 ช่อดอกขนาดกลางเป็นทรงถ้วย เหมาะสำหรับการนำมาใช้ประดับตกแต่ง กลีบประดับสีสดใสเรียงซ้อนเป็นระเบียบ ความยาวก้านช่อดอกสั้น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางก้านช่อดอก ขนาดช่อดอก และน้ำหนักช่อดอกไม่ใหญ่มาก ทำให้ง่ายต่อการบรรจุหีบห่อและขนส่ง

เกษตรกรสนใจนำไปปลูกติดต่อได้ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา 0-7320-6121 หรือ 09-3615-0707.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดาหลาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดบริเวณป่าร้อนชื้นของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น แต่ในตำราบางฉบับก็กล่าวว่าถิ่นกำเนิดของดาหลาอยู่แถบหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย

 

สำหรับในประเทศไทยนั้น คนไทยรู้จักดาหลามานานแล้ว ดังปรากฏหลักฐานต่างๆ เช่น ในวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งแต่งขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยปรากฏชื่อที่เรียกว่า กาลา ปรากฏอยู่ในบทชมดง ร่วมกับต้นไม้ป่าชนิดต่าง ๆ และในหนังสืออักขราภิธานศรับท์หมอปรัดเล พ.ศ.2416 มีการเรียกกาหลาว่า กะลา โดยมีคำอธิบาย ว่า “กะลา : คือ ผักอย่างหนึ่ง ต้นเท่าด้ามพาย ใบเหมือนข่า ปลูกไว้สำหรับกินหน่อ เป็นต้น

และในปัจจุบันสามารถพบดาหลาได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยสามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติและพบตามอาคารบ้านเรือน สวนสาธารณะ หรือการปลูกเพื่อจำหน่ายในสวยในไร่แต่จะพบได้มากทางภาคใต้ เพราะคนในภาคใต้นำดาหลามาใช้ประโยชน์มาตั้งแต่ในอดีตแล้ว

ลักษณะสำหรับดาหลาทั่วไป

ดาหลาจัดเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่นคล้ายข่า เรียกว่าลำต้นเทียม โดยลำต้นเทียมที่อยู่เหนือดินจะมีสีเขียวเข้มสูงประมาณ 2-5 เมตร

ใบออกเป็นใบเดี่ยวมีลักษณะคล้ายใบข่าเป็นรูปทรงยาวเรียว ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบเข้าหาก้านใบ ใบกว้างราว 15-20 เซนติเมตร ยาวราว 30-40 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ ใบเป็นสีเขียวเข้มเป็นมันผิวใบเกลี้ยง ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวเป็นช่องอกขึ้นจากเหง้าใต้ดิน ก้านดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร และยาว 50-150 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกจะหนา ผิวเรียบเป็นมันวาวคล้ายพลาสติก กลีบดอกด้านนอกมีขนาดใหญ่ แล้วค่อย ๆ ลดขนาดลงเข้าสู่ด้านใน ตรงศูนย์กลางดอกเป็นเกสร เกาะติดกันเป็นกลุ่ม ใบประดับรอบนอกแผ่น ใบประดับชั้นใน มีขนาดลดหลั่นกัน เกสรผู้ที่เป็นมันสีเลือดหมูเข้ม ขอบขาวหรือเหลือง เกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์มี 1 อัน อับเรณูสีแดง และเมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างประมาณ 10-16 เซนติเมตร ส่วนสีของดอกนั้นขึ้นอยู่กับสายพันธุ์โดยในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 4 สายพันธุ์ได้แก่ พันธุ์ดอกสีชมพู สีแดง สีขาว และสีชมพูอ่อน ผลรูปกลม มีขนนุ่มข้างในมีเมล็ดสีดำหลายเมล็ด