กรมข้าว ติวเข้มยกระดับตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวคุณภาพ ปี 2566

วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 นายชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์พร้อมบรรยาย เรื่อง สรุปผลการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร ปี 2565 และแนวทางการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้า ปี 2566 – 2567 โดยมี นางกัญญาวีร์ ถิ่นแสนดี หัวหน้ากลุ่มตรวจสอบและวิเคราะห์มาตรฐานข้าว กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำความเข้าใจ และระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนเป็นการพัฒนาเพื่อให้การตรวจสอบรับรองสินค้าข้าวคุณภาพบรรลุเป้าหมายเป็นที่ยอมรับ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจประเมินซึ่งจะส่งผลถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ดีขึ้น ณ โรงแรมวีวิช ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

▫️

%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 7
ติวเข้มยกระดับตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวคุณภาพ

การสัมมนาในครั้งนี้มีการบรรยายให้ความรู้ในเรื่อง การตรวจติดตาม ควบคุม กำกับสถานประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ควบคุมข้าวเปลือก การพัฒนาระบบการตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวตามระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17065:2012 การตรวจประเมินระบบผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) การตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ และการตรวจประเมินระบบการผลิตข้าว GAP รวมถึงการสรุปปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขในการตรวจประเมินระบบการผลิตข้าว GAP เมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) และข้าวอินทรีย์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 – 31 พฤษภาคม 2566

%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 5
ติวเข้มยกระดับตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวคุณภาพ

กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ กรมการข้าว ให้การตรวจสอบและรับรองมาตรฐานข้าวคุณภาพในขอบข่ายต่างๆ ตลอดห่วงโซ่การผลิต ดังต่อไปนี้ คือ 1. ระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว (GAP Seed) 2. ระบบการผลิตข้าวคุณภาพ (GAP Grain) 3. ระบบการผลิตข้าวอินทรีย์(Organic Thailand) 4. ระบบ GMP โรงสีข้าว 5. สินค้าข้าว Q และเครื่องหมายรับรองข้าวพันธุ์แท้ และ 6. ระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ (Organic Seed) ตลอดจนควบคุมกำกับสถานประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นในระบบการผลิตข้าวคุณภาพตลอดห่วงโซ่การผลิต เสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิตข้าวคุณภาพ ตั้งแต่การจัดการระดับแปลงจนถึงสินค้าข้าว เพื่อให้คุณภาพชีวิตของชาวนาดียิ่งขึ้น ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวที่ปลอดภัย มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7 4
ติวเข้มยกระดับตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวคุณภาพ