เตือนเกษตรกร ระวัง กล้าปาล์มปลอมระบาด

เตือนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ระวัง กล้าปาล์มปลอมที่เพาะจากเมล็ดปาล์มที่ร่วงหล่นใต้ต้น รวมทั้งต้นกล้าที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ตรงสายพันธุ์ และแนะนำให้เกษตรกรเลือกซื้อต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากสถานที่รวบรวมที่ได้รับอนุญาตรวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ

สำหรับพันธุ์ปาล์มน้ำมันนำเข้า ต้องมาจากแหล่งผลิตที่กรมวิชาการเกษตรได้วิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชแล้ว ได้แก่ ประเทศปาปัวนิวกินี เบนิน และคอสตาริกา โดยควรขอดูใบอนุญาตนำเข้าซึ่งเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้าซึ่งต้องไม่สิ้นอายุ ซึ่งสามารถตรวจสอบรายชื่อผู้นำเข้า ผู้รวบรวม และผู้ขายกล้าปาล์มที่มีใบอนุญาตถูกต้องได้ที่เว็บไซต์ของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th/ard

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1 1
ระวัง กล้าปาล์มปลอมระบาด

และสามารถสอบถามการเลือกซื้อกล้าปาล์มน้ำมันได้จาก ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทร. 077-274025-6 หรือศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ จังหวัดกระบี่ โทร. 077-640412

%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1 2
ระวัง กล้าปาล์มปลอมระบาด

ปาล์มน้ำมันจัดเป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นพืชที่ให้ผลผลิตน้ำมันต่อหน่วยพื้นที่ สูงกว่าพืชน้ำมันทุกชนิด สามารถนำมาแปรรูปทำเป็นทั้งในรูปแบบของน้ำมันพืชที่ใช้ในการประกอบอาหาร และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมข้นหวาน ครีมและเนยเทียม เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทน ไบโอดีเซล รวมถึงเป็นส่วนผสมเพื่อช่วยลดการใช้น้ำมันดีเซล เพิ่มความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยลดปัญหาผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย และยังสามารถแปรรูปเป็น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ต่าง ๆ และอาหารสัตว์ ด้วย ใบมาบดเป็นอาหารสัตว์ กะลาปาล์มเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ด และกระทั่งการปลูกลงดินไปแล้วก็ช่วยในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในการช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีก