มกอช.กับความภูมิใจแห่งประเทศไทย : บทบาทสำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A1
พิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช.

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ได้รับเกียรติขึ้นรับโล่ขอบคุณจาก Codex ในการมีส่วนร่วมในการเป็นเลขานุการเจ้าภาพ (host secretariat) ของการประชุมAd hoc Codex Intergovernmental Task Force on the Processing and Handling of Quick Frozen Foods (TFPHQFF) เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งประเทศไทยโดยศาสตราจารย์นายแพทย์ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์ ทำหน้าที่เป็นประธาน และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ทำหน้าที่จัดทำยกร่างมาตรฐานร่วมกับสหรัฐอเมริกา และเป็นฝ่ายเลขานุการของการประชุม TFPHQFF ทั้งนี้ พิธีมอบโล่ดังกล่าวจัดขึ้นในงานเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปีของโคเด็กซ์ ในช่วงของการประชุมคณะกรรมาธิการโคเด็กซ์ (Codex Alimentarius Commission) ครั้งที่ 46 ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2566 ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A4 scaled
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex

นายพิศาล เปิดเผยว่า โคเด็กซ์ (Codex Alimentarius; Codex) เป็นองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง FAO และ WHO เพื่อกำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคและส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมทางการค้าอาหารระหว่างประเทศ โคเด็กซ์เริ่มประชุมครั้งแรกในปี พ.ศ. 2506 ประเทศไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกตั้งแต่เริ่มต้น โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานโคเด็กซ์ของประเทศไทย

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A6 scaled
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex

และที่ผ่านมา มกอช. ได้มีส่วนร่วมกับงานโคเด็กซ์ในหลายรูปแบบ ทั้งการเป็นเลขานุการเจ้าภาพของการประชุม TFPHQFF ซึ่งมีผลสำเร็จที่ทำให้มีมาตรฐานหลักปฏิบัติสำหรับการแปรรูปและการปฏิบัติต่ออาหารแช่เยือกแข็ง (Code of Practice for the Processing and Handling of Quick Frozen Foods; CXC 8-1976, rev. 2008) และการร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะกรรมการโคเด็กซ์หลายสาขา เช่น คณะกรรมการโคเด็กซ์ สาขาสุขลักษณะอาหาร เมื่อปี 2544, คณะกรรมการโคเด็กซ์ สาขาโภชนาการและอาหารสำหรับวัตถุประสงค์พิเศษเมื่อปี 2549, คณะกรรมการโคเด็กซ์ สาขาระบบการตรวจสอบและการออกใบรับรองสินค้าอาหารนำเข้าและส่งออก เมื่อปี 2556, และคณะกรรมการโคเด็กซ์ สาขาผักและผลไม้สด เมื่อปี 2557

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A5
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศจำนวนมาก โดยมีมาตรฐานที่ประเทศไทยยกร่างและผลักดันจากข้อมูลและมาตรฐานของประเทศไทย เช่น มาตรฐานเงาะ ( CXS 246-2005) มาตรฐานทุเรียน (CXS 317-2014) มาตรฐานน้ำปลา (CXS 302-2011) ประโยชน์ของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพและร่วมเป็นเจ้าภาพของการประชุม Codex คือ การสร้างการรับรู้ด้านมาตรฐานความปลอดภัยอาหารที่อยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเทศให้มากขึ้น การยกระดับอาหารปลอดภัยของประเทศเพื่อดูแลคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการค้า และเพื่อพัฒนาให้ประเทศมีความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A7 scaled
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex

นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศ ตลอดจนยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศไทยทั้งในด้านการเป็นผู้นำในการกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารในเวทีระดับโลก ด้านวิชาการที่ให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารที่อยู่บนพื้นฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์ความเสี่ยง และด้านการเป็นประเทศสำหรับการท่องเที่ยว เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศสมาชิกทั่วทุกภูมิภาคของโลกได้รู้จักประเทศไทยมากขึ้น

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A8 scaled
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex


%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%8A9 scaled
มกอช.กับบทบาทที่สำคัญในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม Codex