ไทยลุยยกระดับมาตรการควบคุมนำเข้าปลากะพงขาวจากมาเลเซีย

%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AF1

จากการตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้างในปลากะพงขาวแช่เย็นนำเข้าจากมาเลเซีย สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมกับกรมประมง จึงได้ประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ต้องมีผลการตรวจวิเคราะห์ (Certificate of Analysis: COA) ที่แสดงว่า ปลอดสารตกค้างประกอบการขออนุญาตนำเข้า เพราะหวั่นเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

Untitled 1 1
นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช.

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า จากประเด็นดังกล่าว ทางฝ่ายมาเลเซียได้ขอหารือเพื่อร่วมวางมาตรการควบคุมการนำเข้า โดย มกอช. ได้มอบหมายให้นางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ร่วมกับผู้แทนจากกรมประมง ในการประชุมเชิงเทคนิคกับกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย

LINE ALBUM %E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87 29267 %E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%93%E0%B9%90%E0%B9%91 1

         

ในการประชุมดังกล่าว ฝ่ายไทยได้อธิบายรายละเอียดในการยกระดับมาตรการควบคุมการนำเข้า  ประกอบด้วยขั้นตอนการนำเข้าและมาตรการที่จะใช้ในอนาคต หากยังตรวจพบสารเคมีตกค้างในสินค้าปลากะพงขาวจากมาเลเซียอีก ซึ่งฝ่ายมาเลเซียรับทราบ และขอให้ไทยเลื่อนกำหนดเวลาการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวออกไปอีก 6 เดือน แต่ฝ่ายไทยยืนยันความจำเป็นที่ต้องเริ่มบังคับใช้ทันที เพื่อปกป้องผู้บริโภคภายในประเทศ และยินดีจะหารือกับฝ่ายมาเลเซีย เพื่อจัดทำแนวทางการควบคุมความปลอดภัยอาหารในสินค้านำเข้าและส่งออกร่วมกันต่อไป

LINE ALBUM %E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87 29267 %E0%B9%92%E0%B9%94%E0%B9%90%E0%B9%93%E0%B9%90%E0%B9%91 14

“มาตรการใหม่นี้จะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 โดยผู้นำเข้าปลากะพงขาวจากมาเลเซียต้องมีหนังสือรับรองผลการตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง (Certificate of Analysis: COA) ที่แสดงว่าปลอดจากการตกค้างของสารเคมี 4 กลุ่ม ได้แก่ Chloramphenicol, Malachite Green, Nitrofuran Metabolite และยาปฏิชีวนะกลุ่ม Fluoroquinolone & Quinolone ซึ่งหากไม่มีหนังสือรับรองดังกล่าวประกอบการนำเข้า สินค้าจะต้องถูกอายัดที่ด่านนำเข้าเพื่อรอผลตรวจวิเคราะห์ทุกล็อต หากตรวจไม่พบสารตกค้าง จึงจะสามารถนำเข้าได้” เลขาธิการ มกอช. กล่าว

%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2

ทั้งนี้ การตรวจพบสารตกค้างจะมีผลต่อผู้นำเข้า ดังนี้

1. มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร 2522 มาตรา 28 นำเข้าอาหารผิดมาตรฐานเพื่อจำหน่าย ลงโทษตามมาตรา 60 ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

messageImage 1709193085692

2. การนำเข้าสินค้าในครั้งต่อไป หลังผลตรวจวิเคราะห์พบสารตกค้าง สินค้าจะต้องถูกอายัดเพื่อรอผลการตรวจวิเคราะห์ หากผลตรวจผ่านจึงจะนำไปจำหน่ายได้ หากไม่ผ่านจะถูกทำลายหรือดำเนินการตามที่เหมาะสม 

%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AF2

3. หากพบสารตกค้าง 3 ตัวอย่าง นับรวมตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงปัจจุบัน อาจถูกเพิกถอนหรือถูกพักใช้ใบอนุญาต อ.7 (การขออนุญาตนําหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร) จะส่งผลให้ไม่สามารถขออนุญาตนำเข้าส่งออกสินค้าต่อไปได้

%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AF3
S 7036955
%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AF5
%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AF6
S 1081346