เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 “นงนุช วงคง” กับอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

นงนุช

นางสาวนงนุช วงคง อายุ ๕๓ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๓/๑ หมู่ที่ ๙ ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

การศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น

ผล


ผลงานดีเด่น

ความคิดริเริ่ม และความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน

นางสาวนงนุช วงคง เดิมเป็นชาวจังหวัดบุรีรัมย์ เกิดในครอบครัวที่มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนเมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้มีการย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวมาอยู่ ณ บ้านอ่างเตย ตำบลท่าตะเกียบ อำาเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา จึงได้มีโอกาสช่วยคุณแม่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จนกระทั่งได้ลงมือทำบ่อย ๆ เกิดการซึมซับและมีแรงบันดาลใจจากผู้เป็นแม่ในการประกอบอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และเกิดการเรียนรู้ในกิจกรรมด้านหม่อนไหม เช่น การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การสาวไหม
การฟอกย้อม การมัดหมี่ การทอผ้าไหม และการถอดลวดลายของผ้ามัดหมี่ เป็นต้น และเสริมสร้างทักษะในขั้นตอนต่างๆ ทั้งการสอบถามข้อมูลจากผู้ที่มีความรู้เพื่อหาวิธีการในการพัฒนาฝีมือทางด้านต่าง ๆ ทั้งทางด้านการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งต้องอาศัยประสบการณ์และความเอาใจใส่ในการเลี้ยงไหมเป็นอย่างดี โดยต้องใช้ความพยายามความอดทน ความตั้งใจจริง เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าทั้งเส้นไหม ผ้าไหม ให้ได้มาตรฐานจนเป็นที่ต้องการตลาด เฉพาะอย่างยิ่งการฟอกย้อมสีธรรมชาติที่ใช้วัสดุธรรมชาติในชุมชนนำมาย้อมสีเส้นไหมซึ่งได้การตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี ตลอดจนการปฏิบัติตนให้เป็นที่ยอมรับต่อคนในครอบครัวและชุมชน

ไหม

ผลงานและความสำเร็จของผลงาน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

-ประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาแล้ว ๔๑ ปี โดยดำเนินการครบวงจร ตั้งแต่ต้นน้ำ– ปลายน้ำ คือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม

ผ้าไหม

-มีพื้นที่ในการปลูกหม่อนเพื่อใช้เลี้ยงไหมจำนวน ๗ ไร่ โดยปลูกหม่อนพันธุ์สกลนคร ได้ผลผลิตใบหม่อนจำนวน ๒๓,๑๐๐ กิโลกรัม มีการดูแลแปลงหม่อน ใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ให้น้ำในแปลงหม่อน ตัดแต่งกิ่งหม่อนตามหลักวิชาการ

-เลี้ยงไหมพันธุ์ไทยลูกผสม จำนวน ๑๐ – ๑๓ รุ่น/ปี รุ่นละ ๑.๕ – ๒ แผ่น

-มีผลผลิตรังไหม ๔๒๐ กิโลกรัม/ปี

ชช

-มีผลผลิตเส้นไหม ๔๖ กิโลกรัม (สามารถผลิตได้ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน ทำให้ไม่ต้องซื้อเส้นยืนจากที่อื่น เป็นการลดต้นทุนการผลิตผ้าไหม)

-มีผลผลิตดักแด้ จำนวน ๓๑๕ กิโลกรัม

ต้น

ทอผ้าไหม


-ผลิตผ้าคลุมไหล่ไหมแกมฝ้าย จำนวน ๓๐.๖ เมตร

-ผลิตผ้าขาวม้าไหมแกมฝ้าย จำนวน ๑๖ เมตร

-ผลิตผ้าผืน/ผ้าไหมมัดหมี่สีธรรมชาติ จำนวน ๒๖ เมตร

วววว

-ผลิตผ้าโสร่งไหมจำนวน ๑.๘ เมตร

-มีผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานรอจำหน่าย ๑๑๙ เมตร

-ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าไหม เส้นไหมและโปรตีนไหม

ในด้านมาตรฐานการผลิต มีดังนี้

  • โรงเลี้ยงไหมมีการบริหารจัดการ ถูกต้องตามหลักวิชาการ
  • แปลงหม่อนได้รับการรับรองมาตรฐาน
    การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับหม่อนเพื่อผลิตใบ
    (มกษ. ๓๕๐๐ – ๒๕๕๓)
  • เส้นไหมได้รับการรับรองมาตรฐาน การปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตเส้นไหมดิบ : เส้นไหมไทยสาวมือ
    (มาตรฐาน มกษ. ๕๙๐๐ – ๒๕๖๕)
  • ผ้าไหมได้รับรองมาตรฐานตรานกยูง
    พระราชทาน สีทอง สีเงิน สีน้ำเงิน และสีเขียว

ในด้านการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และภูมิปัญญาในการดำเนินงาน มีดังนี้

  • มีการนำเครื่องสาวไหมแบบปรับปรุงมาใช้แทนเครื่องสาวแบบเก่าเพื่อให้สามารถผลิตเส้นไหมต่อวันให้ได้มากขึ้นและเส้นไหมที่ผลิตได้มาตรฐาน
ยยย 1
  • ใช้ระบบน้ำระบบพลังงานจากแสงอาทิตย์(Solar Cell) ในการสูบน้ำรดแปลงหม่อน
  • มีการใช้เครื่องเดินเส้นยืน และเครื่องม้วนเส้นยืนแบบมอเตอร์ในการพัฒนาการผลิต โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • การนำขี้ช้างและโคลน มาใช้ย้อมสีเส้นไหม สำหรับทอผ้าเพื่อสร้างอัตลักษณ์และเพิ่มมูลค่า
  • มีการทำการตลาดออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์ม Facebook (Meta) และ Instagram ในชื่อบัญชี Sodelaaor (โส็ตละออ) โดยมีความหมายว่า “ผ้าไหมสวย”
  • ใช้ smart phone ในการค้นหาข้อมูลสำหรับพัฒนา ปรับปรุงการผลิต ประชาสัมพันธ์ผลงาน

ในด้านการส่งเสริมอาชีพสู่ความยั่งยืน ได้ดำเนินการ ดังนี้

  • สร้างทายาทหม่อนไหม โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้ การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้เยาวชนในชุมชนตลอดจนเกษตรกรและนักเรียนที่สนใจ เพื่อเป็นอีกทางเลือกอาชีพ และสืบทอดภูมิปัญญา
  • ส่งเสริม ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการสาวไหมให้เยาวชนจนนักเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันสาวไหม ประกวดเส้นไหมระดับประเทศ โดยในปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ ๑ ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา และปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ประเภทไหมน้อยสาวมือ ระดับประถมศึกษา
ไห

ผลงานดีเด่น

  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ไหมน้อยสาวมือ ระดับบุคคลทั่วไป ในการแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหมระดับจังหวัด
  • พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ไหมลืบสาวมือ ระดับบุคคลทั่วไป ในการแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหมระดับจังหวัด
  • พ.ศ. ๒๕๕๖ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ไหมน้อยสาวมือ ระดับบุคคลทั่วไป ในการแข่งขันสาวไหมและประกวดเส้นไหมระดับจังหวัด
  • พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับพระราชทานรางวัลชนะเลิศ ทายาทหม่อนไหมดีเด่น ระดับชุมชน ในงาน ตรานกยูงพระราชทาน สืบสานตำนานไหมไทย ครั้งที่ ๑๒
  • พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้รับรางวัลชมเชย โดยการส่งผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ลายหนามเตย เข้าประกวดของดีของฝากจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ระดับเขต ในการคัดเลือกการประกวดเกษตรกรดีเด่นสาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ประจำปี ๒๕๖๑
  • พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ ระดับเขต ในการคัดเลือกการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ประจำปี ๒๕๖๒
  • พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๒ การประกวดผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน ประเภทผ้าไหมขาวม้า สีธรรมชาติ นกยูงสีทอง
  • พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ ๑ ระดับเขต ในการคัดเลือกการประกวดเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ประจำปี ๒๕๖๔
  • พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับพระราชทานใบประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา รางวัล ผ้าที่ได้รับเกียรติบัตร การประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ” ประเภท ผ้ามัดหมี่ ๓ ตะกอขึ้นไป
  • พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้รับรางวัลภูฆิราชภัฏ จากสภาศิลปวัฒนธรรม ในเรื่องผู้มีผลงานเชิงประจักษ์ และทำคุณประโยชน์ด้านศิลปะวัฒนธรรมเพื่อท้องถิ่น
  • พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้รับรางวัลปราชญ์หม่อนไหม สาขาการเลี้ยงไหมหัตถกรรม (การเลี้ยงไหมครบวงจร)จากกรมหม่อนไหม
  • พ.ศ. ๒๕๖๗ ได้รับรางวัลสุดยอดผ้าจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปี ๒๕๖๗ ในผลงาน ผ้าไหมมัดหมี่๔ ตะกอ ลายหนามเตย
ผลงาน

รายได้จากอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
ปี ๒๕๖๕ รายได้สุทธิ รวมทั้งสิ้น ๑๘๓,๖๐๐ บาท
ปี ๒๕๖๖ รายได้สุทธิ รวมทั้งสิ้น ๒๐๐,๔๐๐ บาท
ปี ๒๕๖๗ รายได้สุทธิ รวมทั้งสิ้น ๒๒๙,๖๐๐ บาท

เกษตรกร

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

๑. เป็นปราชญ์หม่อนไหม สาขาการเลี้ยงไหมหัตถกรรม (การเลี้ยงไหมครบวงจร) ของกรมหม่อนไหม

๒. เป็นประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรด้านหม่อนไหม

๓. เป็นคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมทอผ้าบ้านอ่างเตย

ผล 1


๔. เป็นคณะกรรมการเงินกองทุน SML ในหมู่บ้านอ่างเตย หมู่ที่ ๙ ตำาบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา

๕. เป็นคณะกรรมการหมู่บ้านอ่างเตย

๖. เป็นวิทยากร เกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้แก่นักเรียนนักศึกษาตลอดจนเกษตรกรที่มีความสนใจเกี่ยวกับอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

๗. ให้ความร่วมมือกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนร่วมกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม วันสำคัญต่าง ๆ วันสำคัญทุกงาน

ววว 1

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

นางสาวนงนุช วงคง มีการประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมให้สอดคล้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

  • ใช้ปุ๋ยคอกบำรุงแปลงหม่อน ใช้ฟางคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น
  • นำสิ่งเหลือใช้จากกระบวนการเลี้ยงไหม เช่น มูลไหมนำมาตากแดดและใส่ในแปลงหม่อน เป็นต้น
  • มีการนำระบบบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการฟอกย้อมสีเส้นไหมมาใช้
  • ใช้วัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น เช่น ใบไม้ ดอกไม้และโคลนขี้ช้าง มาย้อมสีเส้นไหมสำหรับทอผ้า เพื่อเป็นการอนุรักษ์ ไม่ทำลายพันธุ์ไม้ย้อมสี และเป็นการสร้างเอกลักษณ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม ในท้องถิ่น
  • นำเอาหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ผสมผสาน ในการประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมควบคู่ไปด้วยกันโดยมีการปลูกพืชผสมผสานเป็นแนวกันชน เนื่องจากไม่มีการใช้สารเคมีภายในแปลงหม่อน
  • มีการปลูกพันธุ์ไม้ย้อมสีทดแทนต้นที่ใช้ไป