เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2568 “วัชรินทร์ มะณีนิล”สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร

ยุว

นายวัชรินทร์ มะณีนิล อายุ ๑๕ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๑๗/๓ หมู่ที่ ๑ ตำบลศรีโนนงาม อำาเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

การศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี ตำบลศรีโนนงาม อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ

Screenshot 2025 05 21 at 13 28 35 ประวัติและผลงาน ประจำปี 2568 22

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม และความพยายามฟันฝ่า อุปสรรคในการสร้างผลงาน

นายวัชรินทร์ มะณีนิล อาศัยอยู่กับปู่และย่ามาตั้งแต่เด็ก จึงได้ช่วยเหลืองานด้านการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพและรายได้หลักของครอบครัว

Screenshot 2025


ปี ๒๕๖๑ – ๒๕๖๒ ได้แบ่งเบาภาระงานของครอบครัว โดยมีหน้าที่หลักในการทำนา ทำสวน ยางพารา ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลูกผักสวนครัวมีพื้นที่การเกษตร รวม ๒๙ ไร่ เนื่องจากปู่กับย่ามีอายุมากและสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง และเริ่มเรียนรู้การขับรถแทรกเตอร์

Screenshot 2025 05 21 at 13 38 10 ป

ปี ๒๕๖๓ สมัครเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี โดยกลุ่มจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านการเกษตร

Screenshot 2025 05 21 at 13 36 25

ปี ๒๕๖๔ เริ่มต้นทำการเกษตรและบริหารจัดการพื้นที่ด้วยตนเอง บนพื้นที่ ๓ ไร่ และในปีต่อมาได้ขยายพื้นที่ออกเป็น ๙ ไร่ ควบคู่กับการดำเนินกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร โดยนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมมาปรับปรุง และพัฒนากิจกรรมการเกษตรที่บ้าน ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่ครอบครัว ขณะเดียวกันก็ได้นำความรู้และประสบการณ์จากการทำการเกษตรของที่บ้านมาขยายผลความรู้สู่กลุ่มยุวเกษตรกรที่โรงเรียน

Screenshot 2025 05 21

ปี ๒๕๖๕ ได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี ได้ฝึกภาวะความเป็นผู้นำ เรียนรู้การบริหารงานกลุ่มและการทำงานร่วมกับผู้อื่น พร้อมทั้งชักชวนเพื่อน ๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรเพิ่มขึ้น

ปี ๒๕๖๗ – ปัจจุบัน นายวัชรินทร์ มะณีนิล ได้จบการศึกษาจากโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี และได้เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ซึ่งเป็นการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

Sc

ภายหลังจากจบการศึกษาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร ฝึกทักษะ และให้คำแนะนำในการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มยุวเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังหลักของครอบครัวในการประกอบอาชีพ และหารายได้ โดยดำเนินกิจกรรมการเกษตร ดังนี้

๑. ทำนาและปลูกข้าวโพดหลังนา จำนวน ๑๙ ไร่

๒. ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำานวน ๒ ไร่

๓. กรีดยางพารา จำนวน ๖ ไร่

๔. ปลูกพืชผักสวนครัว

๕. รับจ้างไถนาเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวและข้าวโพด

๖. ทำความสะอาดบ้านเรือน

สสส

ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืนในอาชีพ

๑.มีความรู้และทักษะด้านการเกษตร สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มยุวเกษตรกร ครอบครัวและผู้อื่นได้

  • มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยมีกิจกรรมการเกษตรที่ดำเนินการที่บ้าน บนพื้นที่ ๒๙ ไร่ ประกอบด้วย ปลูกข้าวและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์/ข้าวโพดหลังนา ทำสวนยางพารา ปลูกพืชผักสวนครัว และการเลี้ยงสัตว์(ไก่ กบ และปลาดุก)

-มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการผลิตพืชตั้งแต่การเตรียมแปลง การเพาะปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยว ได้แก่ การทำนา การทำสวนยางพารา การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา และการปลูกผักสวนครัว

นนน

-มีทักษะและความชำนาญในการขับรถแทรกเตอร์ สามารถเตรียมแปลงเพาะปลูกของครอบครัวและรับจ้างไถเตรียมดินสำหรับทำนาและปลูกข้าวโพด สร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว

Screenshot 2025 05 21 aแก

๒. ปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตพืชให้มีความปลอดภัยและลดต้นทุนการผลิต โดยการผลิตสารชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราบิวเวอเรียมาใช้ทดแทนการใช้สารเคมีทางการเกษตร

๓. วางแผนการผลิตให้มีรายได้ตลอดทั้งปี โดยเริ่มต้นทำการเกษตรแบบผสมผสาน ได้แก่ ปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลาดุก เลี้ยงไก่พันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ไข่ควบคู่กับการทำกิจกรรมการเกษตรหลักของครอบครัว

Screenshot 2025 05 21 at 13 32 46

๔.จดบันทึกการปฏิบัติงานของตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีการวางแผนการผลิตให้มีผลผลิตจำหน่ายสร้างรายได้รายวัน รายเดือน และรายปี

Screenshot 2025 05 21 at 13 40 02

๕. มีการบริหารจัดการเงินทุนส่วนตัวอย่างเหมาะสมโดยแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ รายจ่ายครัวเรือน รายจ่ายงานสังคม และเงินออม

๖. จดบันทึกรายรับ – รายจ่าย กิจกรรมการเกษตรอย่างสม่ำเสมอ

๗. เข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกรทุกฐาน การเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มทำขนมกะหรี่ปั๊บ กลุ่มทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ กลุ่มปลูกผักสวนครัว และกลุ่มทำเชื้อราไตรโคเดอร์มา ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับ หรือให้คำแนะนำแก่เพื่อนสมาชิกได้

๘. สามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร เช่น ขั้นตอนการประชุมกลุ่ม กิจกรรมของกลุ่ม บทบาทและหน้าที่ของตนเองและสมาชิก

๙. ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มยุวเกษตรกร เช่น ขั้นตอนการประชุมกลุ่ม กิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร บทบาทและหน้าที่ของตนเองและสมาชิก

๑๐. เป็นผู้นำสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรในการดำเนินงานของกลุ่ม

  • งานรวม ร่วมกันกับสมาชิกกลุ่มดำเนินงานจำนวน ๓ ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การปลูกถั่วเขียว การทำนา และการปลูกผักสวนครัว
  • งานกลุ่มย่อย ทำหน้าที่เป็นประธานฐานเรียนรู้เพาะเห็ดนางฟ้า

ความเป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่าง ๆ

๑. กล้าแสดงออก กล้าตัดสินใจ มีความเสียสละและเพื่อช่วยเหลือกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนและชุมชนอยู่เสมอ

๒. มุ่งมั่นจะเป็นเกษตรกรมืออาชีพที่มีความมั่นคงโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

๓. ประธานกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี

๔. ประธานกลุ่มย่อยในฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า

๕. คณะกรรมการสภานักเรียน โรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี

๖. เป็นผู้นำสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรทำกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกร

๗. เป็นผู้นำนักเรียนในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆของโรงเรียนและชุมชน

๘. เป็นตัวแทนกลุ่มยุวเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ

๙. รับผิดชอบและแบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานของกลุ่ม และให้คำแนะนำการทำกิจกรรมด้านการเกษตรให้กับยุวเกษตรกร

๑๐. เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรให้กับกลุ่มยุวเกษตรกร ชุมชน และผู้ที่สนใจ ทั้งที่บ้านและโรงเรียน

๑๑. เป็นที่รักของคนรอบข้างและคนในชุมชนเนื่องจากเป็นเด็กกตัญญูและชอบช่วยเหลืองานของชุมชน ทั้งงานบุญ งานประเพณีท้องถิ่น งานจิตอาสาทำความดีเนื่องโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น

ปัจจุบันนายวัชรินทร์ มะณีนิล ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มยุวเกษตรให้เป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ กลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนโชติพันธุ์วิทยาสามัคคี ทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตร ฝึกทักษะ และให้คำแนะนำาในการดำเนินกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกร

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

๑. ดำเนินกิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตรกรและกิจกรรมการเกษตรส่วนบุคคล โดยยึดหลักการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-ไม่เผาเศษวัสดุทางการเกษตรในไร่นา

-ไถกลบตอซังข้าวและข้าวโพด ให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยบำรุงดิน

-ใช้สารชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืช ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร

๒. นำความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไปเผยแพร่ให้กับเกษตรกรและคนในชุมชน