“วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่โคนมโคกก่อ” จัดตั้งเมื่อ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ สมาชิกแรกตั้ง ๘๕ ราย สมาชิกปัจจุบัน ๑๐๖ คน
ประธานกลุ่ม นายณัฐวุฒิ ประทีปะวณิช
ที่ทำการกลุ่ม เลขที่ ๑๗๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม
“วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่โคนมโคกก่อ” สมาชิกกลุ่มส่วนใหญ่ปลูกข้าวเป็นหลัก แต่เนื่องจากได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน จึงหาอาชีพทางเลือกใหม่ และด้วยลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดมหาสารคาม ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มสลับดอนมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีน้อย เกษตรกรจึงได้ปรึกษาหารือและประสานกับส่วนราชการในพื้นที่ร่วมกันวิเคราะห์พื้นที่โดยใช้กระบวนการ SWOT และได้ข้อสรุปคือ อาชีพการเลี้ยงโคนม จากนั้นจึงได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โดยเริ่มต้นมีสมาชิกร่วมก่อตั้งจำนวน ๘๕ ราย สมาชิกร่วมกันหาความรู้ ด้านการเลี้ยงโคนมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่เนื่องจากยังขาดเงินทุนในการพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนม จึงได้ปรึกษาหารือเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและร่วมกันพัฒนาอาชีพการเลี้ยงโคนมของสมาชิกวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ชื่อ วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่โคนมโคกก่อ และได้รับสนับสนุนงบประมาณจากโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด กลุ่มจึงนำงบประมาณที่ได้รับมาจัดซื้อเครื่องผสมอาหารทีเอ็มอาร์ ชุดเครื่องบรรจุนมแกลลอนกึ่งอัตโนมัติ และชุดเครื่องช็อปหญ้าแบบพกพาเพื่อให้บริการแก่สมาชิกสำาหรับใช้ในกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการเลี้ยงโคนม
กลุ่มได้พยายามแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคนมให้แก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องโดยการพัฒนาความรู้ในด้านสุขภาพสัตว์ ด้านอาหารสัตว์ จัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อจัดหาเครื่องจักร เครื่องมือใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบ ใช้แอปพลิเคชัน “เซียนแดรี่ฟาร์ม” ที่สมาชิกเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่ายมีการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างแบรนด์สินค้าเพิ่มช่องทางการตลาดออนไลน์เชื่อมโยงเกษตรกรเครือข่ายจากโครงการแปลงใหญ่และโครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ด้านการปลูกพืชอาหารสัตว์(มันสำปะหลัง) เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์ที่มีราคาแพง เป็นต้น
ความสามารถในการบริหารและการจัดการสถาบัน
วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่โคนมโคกก่อ จัดตั้งคณะกรรมการ มีกฎระเบียบ กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ และสมาชิก ให้ความร่วมมือในการร่วมวางแผนการดำเนินงาน และสามารถดำเนินการกิจกรรมได้ตามแผน มีการจัดทำ SWOT เพื่อพัฒนากลุ่ม รวมทั้งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนทั้งภาครัฐและเอกชนโดยมีการดำเนินงานดังนี้
๑. ด้านการลงทุน
กิจกรรมที่ ๑ การผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์(อาหารข้นสำเร็จรูป) ใช้ในกลุ่มเดิมสั่งซื้อจากบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงส่งผลให้ต้นทุนด้านอาหารสัตว์สูงขึ้น กลุ่มจึงได้ผลิตอาหารโคนม ใช้เองและจำหน่ายให้สมาชิกทำให้ต้นทุนด้านอาหารสัตว์ลดลง
กิจกรรมที่ ๒ จัดซื้อและจัดหาแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์ในพื้นที่ เดิมจัดซื้อจากเอกชนซึ่งมีราคาสูงส่งผลให้ต้นทุนด้านอาหารสัตว์สูงขึ้น กลุ่มจึงได้รวบรวมและจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในพื้นที่ โดยมีคณะกรรมการจัดหาและประเมินคุณภาพวัตถุดิบ มีการทำMOU กับเครือข่ายแปลงใหญ่ และ ศพก. เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง ราคาถูก วัตถุดิบที่ได้มีคุณภาพสดใหม่เสมอ
กิจกรรมที่ ๓ ส่งเสริมให้สมาชิกปลูกข้าวโพดและหญ้าเลี้ยงสัตว์ (อาหารหยาบคุณภาพสูง) เดิมจัดซื้อจากเอกชนซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง กลุ่มจึงได้ส่งเสริมให้สมาชิกและเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าวโพดและหญ้าเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้ในฟาร์มและจำหน่ายให้กับสมาชิกเพื่อลดต้นทุนด้านอาหารสัตว์และได้วัตถุดิบที่มีราคาถูกคุณภาพสดใหม่เสมอ
กิจกรรมที่ ๔ ทำข้อตกลง (MOU) ซื้อรถฟาร์มแทรกเตอร์เพื่อทดแทนแรงงานคน โดยใช้หลักการ“รวมกลุ่มกันซื้อ” เพื่อเพิ่มอำานาจในการต่อรองโดยทำข้อตกลงในการซื้อรถฟาร์มแทรกเตอร์และได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ลดเงินมัดจำ ลดดอกเบี้ย ร้อยละ ๑ และการดูแลหลังการขาย เป็นต้น
กิจกรรมที่ ๕ จัดตั้งธนาคารโคนมทดแทนฝูงเพื่อให้สมาชิกสามารถบริหารจัดการโคนมของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต ควบคู่กับการเพิ่มปริมาณ และคุณภาพของน้ำนม
๒. ด้านการเพิ่มผลผลิต
กิจกรรมที่ ๑ ส่งเสริมการผสมแม่โคนมหลังคลอด เดิมการจัดการแม่โคนมท้องว่างหลังคลอดใช้เวลามากกว่า ๑๕๐ วัน ทำให้ปริมาณน้ำนมมีจำนวนน้อยส่งผลให้ปริมาณน้ำนมลดลง กลุ่มจึงจัดการระบบสืบพันธุ์เพื่อให้แม่โคสามารถผสมติดในช่วงระยะ ๖๐ – ๙๐ วัน โดยฝ่ายส่งเสริมได้ออกตรวจและให้ความรู้แก่สมาชิกเรื่องการจัดการระบบสืบพันธุ์ ทำให้รอบการผสมติดเร็วขึ้นและมีความเหมาะสม จำนวนโครีดนมเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้น
กิจกรรมที่ ๒ การจัดการอาหารโคนมระยะรีดที่เหมาะสม โดยคิดค้นสูตรอาหารกลางเพื่อให้สมาชิกนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้การให้อาหารโคนมที่เหมาะสมจะช่วยให้โคนมมีปริมาณน้ำนมที่สูงขึ้น
๓. ด้านการพัฒนาคุณภาพนํ้านมดิบ เพื่อลดการปฏิเสธการรับซื้อน้ำนมดิบหน้าศูนย์รับน้ำนมดิบ กลุ่มมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำนมดิบเกษตรกรรายฟาร์มเป็นประจำทุกเดือน กรณีที่ฟาร์มไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะแจ้งทีมเข้าไปให้คำแนะนำการล้างระบบรีดนม ล้างคอกรีด และอุปกรณ์ต่าง ๆให้ถูกสุขลักษณะ ตรวจสอบน้ำและการฆ่าเชื้อในน้ำที่ใช้ในฟาร์มเพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เชื้อในน้ำนมดิบเกินมาตรฐานเพื่อช่วยให้เกษตรกรเพิ่มปริมาณและราคารับซื้อน้ำนมดิบของเกษตรกรตามเกณฑ์ที่สูงขึ้น
๔. ด้านการตลาด ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบจะรวบรวมน้ำนมดิบที่มีคุณภาพจากสมาชิก มีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและเพิ่มช่องทางการจำาหน่ายสู่ผู้บริโภคที่หลากหลาย อาทิเช่น การสร้างแบรนด์สินค้า การจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรงและจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ (Facebook, Line)และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน การทำข้อตกลง (MOU) กับผู้ค้าที่ชัดเจน
๕. ด้านการบริหารจัดการ ประธานและผู้จัดการกลุ่มมีความสามารถในการบริหารจัดการโดยได้รับเกียรติให้เป็นคณะกรรมการต่าง ๆ เช่น ที่ปรึกษาคณะกรรมการแปลงใหญ่ระดับเขต ประธานคณะกรรมการเครือข่ายแปลงใหญ่ระดับจังหวัดมหาสารคาม ที่ปรึกษาสภาเกษตรกร เป็นต้น และเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ให้กับภาครัฐและเอกชน มีการใช้แอปพลิเคชัน“เซียนแดรี่ฟาร์ม” ในการบริหารจัดการข้อมูลภายในฟาร์ม ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการฟาร์มมีความสะดวก รวดเร็ว เกิดความคล่องตัว
บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน
๑. การสร้างความเข้าใจ การมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม
- มีการประชุมใหญ่สามัญประจำาปี เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและเสนอแผนงานในปีถัดไป มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง หรืออาจจะมากกว่าในกรณีที่มีการประชุมแก้ไขปัญหาเร่งด่วน
- มีการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง หรืออาจจะมากกว่าในกรณีที่มีการประชุมแก้ไขปัญหาเร่งด่วน โดยจะมีการประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น การป้องกันโรคระบาดในสัตว์อุบัติใหม่ การแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำนมดิบ ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการรับซื้อ-ขาย น้ำนมดิบ เป็นต้น
๒. ช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม โดยการใช้เทคโนโลยีและใช้แอปพลิเคชันในการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างคณะกรรมการและสมาชิก เช่น การจัดประชุมทั้ง Online และ Offline กลุ่มไลน์/Facebook page การสั่งจองอาหารโคนมผ่าน “Google Forms” การใช้แอปพลิเคชัน “เซียนแดรี่ฟาร์ม” การรายงานข้อมูลการจัดการฟาร์ม เพื่อลดการใช้กระดาษและประหยัดค่าใช้จ่ายในงานด้านเอกสาร
๓. ประสานและสร้างความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
- ประชุมเชื่อมโยงระดับอำเภอ/ระดับจังหวัดร่วมกันทุก ๓ เดือน เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงาน บริหารจัดการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
- ประธานและกรรมการเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการ ศพก. ระดับจังหวัด/เขต เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้สมาชิก สร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำข้อตกลงในการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ในราคาถูกประสิทธิภาพดี
- -ประธานเข้าร่วมการประชุมเชื่อมโยงกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) เป็นการประชุมเชื่อมโยงระหว่างศพก. กับ แปลงใหญ่ ระดับเขต ปีละ ๔ ครั้ง
- เชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่โดยการประสานความร่วมมือเครือข่าย ศพก. และกลุ่มเกษตรกรในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง ซึ่งโดยปกติเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจะเก็บผลผลิตเฉพาะส่วนหัวส่วนอื่น ๆจะปล่อยทิ้ง กลุ่มจึงประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงผ่านผู้นำชุมชน เกษตรตำบล เพื่อรับซื้อส่วนที่เหลือเข้าโรงงานผลิตอาหารของกลุ่มและฟาร์มสมาชิกส่งผลให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังมีรายได้เพิ่มขึ้น
- ๔. จัดทําฟาร์มต้นแบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก มีการจัดทำฟาร์มโคนมต้นแบบจำนวน ๓ ฟาร์ม เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก
- ๕. ส่งเสริมตามแนวนโยบายร่วมกันของสมาชิกภายในกลุ่ม
- ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดพร้อมฝักหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวนาปีเพื่อเป็นอาหารโคนม โดยการตัดต้นข้าวโพดหลังการปลูกพร้อมฝักและเก็บถนอมไว้ในรูปของข้าวโพดหมัก (Corn silage) โดยใช้เครื่องอัดก้อนพืชอาหารสัตว์พร้อมห่อพลาสติก ซึ่งสามารถถนอม
อาหารสัตว์ได้ประมาณ ๓ – ๖ เดือน - การจัดการวัคซีนโคนมรณรงค์การป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคลัมปีสกินในฟาร์มโคนมสมาชิกโดยร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคามและปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่เลี้ยงโคนม ส่งเสริมให้สมาชิกฉีดวัคซีนในฟาร์มโคนมของตนเองให้แล้วเสร็จ ๑๐๐% ภายใน ๔๘ ชั่วโมง หลังจากรับวัคซีนป้องกันโรคในโคนมซี่งเป็นสถาบันเกษตรกรแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการทำข้อตกลง (MOU) กับปศุสัตว์จังหวัด
- จัดทำโครงการร้านนมหน้าฟาร์มโดยร่วมกับปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคามจัดทำโครงการร้านนม – หน้าฟาร์มธุรกิจชุมชนบนฐานวิถีชีวิตใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์นมในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยส่งเสริมการแปรรูปและใช้น้ำนมของสมาชิกโดยสมาชิกมีส่วนในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคน้ำนมและผลิตภัณฑ์จากนม ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ ดังคำกล่าวว่า “คนสารคาม ดื่มนมโคสารคาม”
ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน
๑. งบแสดงฐานะทางการเงิน สรุปผลการดำาเนินงานและรายงานงบแสดงฐานะทางการเงินให้สมาชิกได้รับทราบเป็นประจำทุกปี เพื่อแสดงความโปร่งใสเป็นธรรมสมาชิกมีความเชื่อมั่น ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคนมแปลงใหญ่โคกก่อ
๒. จัดหาทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนากลุ่ม จัดหาทุนภายในกลุ่ม ถ้าไม่เพียงพอจึงขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น ได้รับทุนจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ปัจจุบันชำระหนี้หมดแล้ว เข้าร่วมโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อให้บริการสมาชิก และจัดหาแหล่งทุนสนับสนุนที่เป็นทุนหมุนเวียนสำหรับการซื้อขายอาหารสัตว์และจ่ายค่าน้ำนมดิบให้สมาชิก ได้แก่ กองทุนพัฒนาสหกรณ์ (กพส.) และ ธ.ก.ส. เป็นต้น
๓.จัดทําบัญชีต้นทุนอาชีพ ได้รับความอนุเคราะห์จากสำนักงานตรวจบัญชีจังหวัดมหาสารคาม ในการอบรมและสอนวิธีการลงบันทึกบัญชีต้นทุนอาชีพโคนมโดยคณะกรรมการได้กำาหนดเป็นนโยบายให้สมาชิกกลุ่มต้องทำบัญชีประจำทุกเดือนและนำส่งบัญชีต้นทุนอาชีพไม่เกินวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป โดยมีกติการ่วมกันคือ ถ้าสมาชิกไม่ส่งรายงานการทำาบัญชีต้นทุน จะโดนหักค่าน้ำนมดิบ ๑๕ สตางค์ต่อกิโลกรัมในเดือนนั้น จึงทำให้มีการจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพของสมาชิกทุกราย
๔. การสร้างความมั่นคงและความยั่งยืน
-สร้างทายาทในการสานต่ออาชีพ ปัจจุบันเป็นช่วงรอยต่อในการส่งต่ออาชีพให้ทายาท จึงมีสัดส่วนของเกษตรกรคนรุ่นใหม่จำนวนหลายฟาร์ม และเริ่มมีสมาชิกสมัครเข้าร่วมทายาทยุวเกษตรกรเพื่อสานต่อการประกอบอาชีพโคนมส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งภายในกลุ่ม
-โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน ได้เข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมสหกรณ์ “โครงการความร่วมมือทางการศึกษาเพื่อสานต่ออาชีพพระราชทาน” โดยการสร้างโอกาสให้บุตรหลานของสมาชิกให้ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ปีละ ๑ ราย เมื่อจบการศึกษาจะได้นำความรู้มาพัฒนาฟาร์มซึ่งขณะนี้มีบุตร-หลานของสมาชิกที่โคนมเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน ๔ ราย
การจัดทำหลักสูตรในสถาบันการศึกษาประธานกลุ่มได้รับโอกาสให้เป็นประธานคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนโคกก่อพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จึงได้เสนอแนวทางร่วมกันในการจัดทำาหลักสูตรเกี่ยวกับอาชีพการเลี้ยงโคนมและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงโคนม
-กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ จัดตั้งกองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์เพื่อเป็นหลักประกันให้กับครอบครัวมีเงินจัดงานศพ เงินเหลือจากการจัดการเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว มีเงินทุนประกอบอาชีพ ไว้เป็นทุนการศึกษาบุตรเป็นรากฐานให้ครอบครัวมีความมั่นคงต่อไป
การทำกิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ด้านสาธารณประโยชน์ เป็นแหล่งเรียนรู้ สถานที่ฝึกงานให้กับนักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอดสู่ชุมชน ฝึกอาชีพสู่ลูกหลานในสถานศึกษา คืนกำไรสังคม มอบสิ่งของและเงินให้ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ทำโรงทานงานประเพณีต่าง ๆ ในชุมชน รวมทั้งลดอัตราการว่างงานของคนในชุมชนสร้างรายได้ เกิดความสมดุลและยั่งยืน
ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มตระหนักถึงการดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าซึ่งเกิดประโยชน์ต่อสมาชิกและสภาพแวดล้อมในชุมชน จึงมุ่งเน้นความร่วมมือจากสมาชิกให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทั้งภายในและภายนอกฟาร์มและศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบและการบริหารจัดการน้ำโดยการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ เช่น ประสานกับสำนักงานชลประทานวางแผนการบริหาร จัดการพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ การปล่อยน้ำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ในเขตชลประทานอย่างเพียงพอและคุ้มค่า