สศท.6 เผยผลประเมินเกษตรกรภาคตะวันออกพึงพอใจ”โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่”

“โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” เป็นโครงการที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 บรรเทาปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่น ๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุุมชนในท้องถิ่น ให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะสั้นและสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เกษตรกรสามารถเลี้ยงตนเองและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอและยั่งยืน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการพัฒนาพื้นที่จุดเรียนรู้ ในรูปแบบ “กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่” เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำสำหรับทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ ทั้งในส่วนกิจกรรมหลัก และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องตลอดทั้งปี และเพื่อฟื้นฟูภาคการเกษตรภายหลังการแพร่ระบาตของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมุ่งเน้นเกษตรกรที่มีความตั้งใจสร้างงาน เอาใจใส่อย่างจริงจัง มีเป้าหมาย ดำเนินการในพื้นที่ 75 จังหวัด 4,009 ตำบล เกษตรกร 32,000 ราย และมีการจ้างงานในระตับตำบลรวม 16,000 รายซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผลร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการประเมินผลโครงการในระยะแรก โดยใช้เกณฑ์ประเมินผลของ OECD – DAC ประกอบด้วยเกณฑ์หลัก 5 ด้าน ได้แก่ ความสอดคล้องประสิทธิผล ประสิทธิภาพ ผลกระทบและความยั่งยืนและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายหรือเปรียบเทียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า ได้คะแนนตามเกณฑ์การประเมิน 91.44 ซึ่งตามเกณฑ์การวัดถือว่าโครงการประสบความสำเร็จอยู่ในระดับดีมาก

capture 20220810 200239
โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นระยะแรกในการดำเนินโครงการ การประเมินผลดังกล่าวยังไม่เห็น ผลกระทบและความยั่งยืนที่ชัดเจน ประกอบกับมติการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามโครงการภายใต้แผนงานสร้างความเข้มแข็งแก่เศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 มีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการติดตามและประเมินผลต่อเนื่องไปจนถึงระยะเวลาภายหลังสิ้นสุดโครงการ 1 ปี

ดังนั้น ศูนย์ประเมินผลร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่่ 1-12 จึงต้องประเมินผลโครงการต่อเนื่องจากระยะแรกโดยประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาในการปรับปรุง แก้ไข การดำเนินงานโครงการให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันต่อไป

capture 20220810 195921
โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

ดังนั้น ในปีงบประมาณ 2565 ศูนย์ประเมินผลร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1-12 จึงติดตามประเมินผลต่อเนื่องจากระยะแรกเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินโครงการ โดยมีเป้าหมายดำเนินการร่วมกันจากการสุ่มเป้าหมายในภาพรวมทั้งประเทศ 36 จังหวัด จำนวนตัวอย่าง 2,232 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ 1,376 ราย ผู้รับจ้างงาน 676 ราย และเจ้าหน้าที่ 180 ราย

โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 (สศท.6) ไต้รับมอบหมายดำเนินการในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสระแก้ว เป็นตัวเทนภาคตะวันออก มีเป้าหมายเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ 60 ราย ผู้รับจ้างงาน 30 ราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 10 ราย ได้แก่ สถานีพัฒนาที่ดิน สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด สำนักงานประมงจังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

ในการนี้ สศท.6 ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลหลังโดรงการสิ้นสุดประมาณ5-6 เดือน มีข้อค้นพบดังนี้

1.ด้านภาพรวมของโครงการ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระตับดีมาก หรือคิดเป็นร้อยละ 38.97 แต่ด้วยเป็นโครงการใหม่ทำให้การตำเนินงานโครงการค่อนข้างล่าช้า เช่น การขุดสระน้ำ การแจกปัจจัยการผลิต ซึ่งทำให้ผลกระทบต่อการวางแผนการผลิต

2.ด้านการอบรมของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 38.97 เพราะด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ต้องใช้การอบรมโดยวิธีการ ผ่านระบบสื่่อทางไกล (Application Zoom) ทำให้การเรียนรู้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

3.ด้านการขุดสระน้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับดีหรือคิดเป็นร้อยละ 43.85 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนสระน้ำขนาตใหญ่ เป็นปัจจัยสำคัญในการทำกิจกรรมการผลิต แต่การดำเนินการขุดสระน้ำบางแห่ง มีปัญหาพื้นที่เป็นตินปนหิน ทำให้การขุดสระไม่ได้ตามแปลน ที่วางแผนไว้ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนตามสภาพพื้นที่ และผู้รับเหมาบางราย ขุดในช่วงฤดูฝนทำให้การทำงานล่าช้าลง

4.ด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิต เกษตรกรที่เข้ารวมโครงการจะได้รับแจกปัจจัยการผลิต เช่น ไม้ผล (กล้วย มะม่าง มะละกอ) สัดว์ปีก ( ไก่ไข่ เป็ดไข่) สัตว์น้ำ (ปลานิล) พืชผักสวนครัว พืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร และน้ำหมักชีวภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง หรือคิดเป็นร้อยละ 33.91 เนื่องจากปัจจัยที่ได้รับสนับสนุนไม่ค่อยตรงกับความต้องการกับที่ได้แจ้งความประสงค์ และจำนวนที่ไต้รับสนับสนุนค่อนข้างน้อย ซึ่งไม่สมดุลกับพื้นที่แปลงของเกษตรกร เนื่องจากงบประมาณสนับสนุนมีจำกัด โดยไก่ไข่เป็นปัจจัยที่สร้างรายได้ และเพื่อบริโภคได้ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากไก่ไข่ที่รับแจก มีอายุโตเต็มวัยสามารถให้ไข่ได้ทันที

5.ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และผู้รับจ้างงาน เกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับดีมาก หรือคิดเป็นร้อยละ 47.30 โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือเกษตรกร แต่ผู้รับจ้างงานบางรายยังขาดความรู้และประสบการณ์ด้านการเภษตรทำให้ภารกิจการให้คำแนะนำกับเกษตรกรยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แต่ภารกิจการประสานงานติดต่อสามารถดำเนินการได้ค่อนข้างดี

ข้อเสนอแนะในภาพรวม ดังนี้

1.โครงการควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงเพื่อให้ครอบคลุมกับเกษตรกรทุกช่วงวัยที่ต้องการเข้าร่วมโดรงการทั้งผ่านระบบ Social Network หรือผ่านทางการประชาสัมพันธ์ของผู้นำชุมชนในพื้นที่

2.โครงการควรเร่งดำเนินการให้สอดคล้องกันเพื่อให้เกษตรกรทำกิจกรรมการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การขุดสระน้ำและการสนับสนุนปัจจัยการผลิต

3.หน่วยงานร่วมดำเนินงานควรปรับวิธีการอบรมให้เข้าถึงได้ง่าย และได้รับความรู้เชิงปฏิบัติโดยสามารถนำความรู้มาใช้ให้ด้วยตนเอง ส่วนเกษตรกรมือใหม่ที่สนใจทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ควรส่งเสริมให้เกิดเวที/ช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน หรือกับเครือข่าย ศพก

4.ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรเพื่อลดค่าใช้จ่ายกรณีผู้รับเหมาไม่ยอมปรับเปลี่ยนหรือทำงานไม่เรียบร้อย และวางแผนการขุดสระ เพื่อลดปัญหาความเสี่ยงจากฤดูกาล

5.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรชี้แจงข้อจำกัดในการสนับสนุนปัจจัยการผลิตกับผู้เข้าร่วมโครงการร่วมกันให้เหมาะสมกับเกษตรกรแต่ละกลุ่ม เพื่อให้สามารถดำเนินกิจกรรมการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. หน่วยงานควรประสานแนะนำ ช่องทางการขอสนับสนุนอุปกรณ์สูบน้ำ ทางการเกษตรจากพลังงานทางเลือกให้กับเกษตรกรที่มีเงินทุนน้อย เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับเกษตรกร

7.การคัดเลือกผู้จ้างงาน ควรพิจารณาให้เหมาะสมกับภารกิจที่ต้องดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างแท้จริง และผู้รับจ้างงานบางรายที่มีศักยภาพ และสนใจควรนำมาจ้างงานหรือเป็นอาสาสมัครด้านการเกษตรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

8.เมื่อจบโครงการ เกษดรกรต้องการให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ลงพื้นที่ติดตามตรวจเยื่ยมอย่างต่อเนื่องให้ครบทุกราย เพื่อให้การสนับสนุนนองค์ความรู้หรือปัจจัยการผลิตหรือข้อแนะนำ เช่น การปรับปรุงดิน การรักษาคุณภาพน้ำในสระและการดูแลสัตว์เลี้ยง เป็นต้น