ก.เกษตรฯจับมือ คปภ.เปิดตัวโครงการ“คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา”

.เกษตรฯ จับมือ คปภพร้อม 2 บริษัท โบรกเกอร์ประกันภัย TQM TQR เปิดตัวโครงการคุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา” นำร่อง อกมและ ศกอ. 20,000 กรมธรรม์

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดตัว “โครงการคุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา” ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 3 อาคารนวัตกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) บริษัท ทีคิวเอ็มคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ที คิว อาร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมมือกันในการสร้างแรงกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับความคุ้มครองภายใต้ระบบประกันภัย ผ่านการมอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุรายย่อย หรือไมโครอินชัวรันส์ จำนวน 20,000 กรมธรรม์ แก่อาสาสมัครของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

E9DD3728 883E 4BC7 88A1 BA7290B2D71F

โดยให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมความสูญเสียของร่างกายและชีวิต อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ ในวงเงินเอาประกันสูงสุด 100,000 บาท รวมไปถึงค่าชดเชยจากการขาดรายได้ระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ภายในระยะเวลา 60 วัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายนำร่อง ได้แก่ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ผู้ทำหน้าที่ประสานงานและเชื่อมโยงการทำงานของอาสาสมัครเกษตรในสาขาต่าง ๆ เกษตรกร องค์กร และหน่วยงานในระดับหมู่บ้าน และเศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสำรวจข้อมูลการเกษตร ติดตามและรายงานสถานการณ์การผลิตและราคาสินค้าเกษตรในพื้นที่

38D13955 3E13 4593 BB0F FB2B41198B51

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย โดยมีบุคลากรที่มุ่งมั่นทำงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหลายหมื่นคน แต่ยังคงไม่เพียงพอที่จะเข้าถึงปัญหาและความต้องการของเกษตรกรรายบุคคลที่มีมากถึง 7.5 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครเกษตรนับเป็นฟันเฟืองสำคัญที่จะทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านการเกษตรในพื้นที่ ประสานงาน และเชื่อมโยงเกษตรกรกับหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงเกษตรฯ ในการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร แต่ในปัจจุบันนอกจากเกษตรกรจะต้องเผชิญกับความเสี่ยง ทั้งภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความผันผวนของราคา ความไม่แน่นอนของตลาดรวมไปถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19แล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือความเสี่ยงทางด้านอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและในทุกสถานที่ โดยไม่ได้คาดคิด 

1FC32438 3A8F 4E68 92BF A7C036C6F19A

การดำเนินโครงการดังกล่าว จึงถือเป็นการเตรียมความพร้อมและปกป้องเกษตรกรไว้ล่วงหน้า เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เสริมภูมิคุ้มกัน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินนโยบายเพื่อให้ความคุ้มครองและดูแลอาสาสมัครเกษตร รวมไปถึงเกษตรกรทุกท่านให้ครอบคลุมในด้านอื่น ๆ ต่อไป เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงปลอดภัย

7084A14D DAFE 4533 92BA 7DD42D73620D

“ต้องขอขอบคุณในความเสียสละและความทุ่มเทในการทำงานของอาสาสมัครเกษตรทุก ๆ ท่าน และขอขอบคุณทาง คปภ. รวมทั้ง บริษัท ทีคิวเอ็ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ที คิว อาร์ จำกัด(มหาชน) ที่ได้ให้ความร่วมมือและผลักดันโครงการ “คุ้มครองอุบัติเหตุเซฟ เกษตรอาสา” จนเป็นผลสำเร็จร่วมกัน” อย่างไรก็ตาม จะพยายามผลักดันให้มีโครงการระยะที่ 2 ระยะที่ 3 ต่อไป รวมถึงจะให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นนโยบายของรัฐบาลให้ได้ พร้อม ๆ กับค่าป่วยการของอาสาสมัครเกษตรทั่วประเทศด้วย” รัฐมนตรีเกษตรฯ กล่าว

941570D1 730C 4091 A0E8 110A4666A0B0

ด้านนายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับ อกม. และ ศกอ. ที่สนใจทำประกันอุบัติเหตุในโครงการนี้ สามารถสมัครได้ผ่านระบบออนไลน์ QR Code ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นในการสมัคร ก็สามารถรับความคุ้มครองประกันอุบัติเหตุได้ทันที โดยความร่วมมือระหว่าง สศก. และ คปภ. จะยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบประกันภัยภาคเกษตรร่วมกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือ ดูแล และคุ้มครองพี่น้องเกษตรกร ซึ่งดำเนินการร่วมกันภายใต้ “คณะกรรมการความร่วมมือพัฒนาระบบประกันภัยการเกษตร” ในการกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินการ ทั้งการขยายขอบเขตของการประกันภัยในปัจจุบันไปสู่สินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ  นอกเหนือไปจากข้าวนาปีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตามนโยบายของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ พืชรอง หรือสินค้าเกษตรที่มีอนาคตทางการตลาดสูง รวมถึงต่อยอดกรมธรรม์ประกันภัยสินค้าเกษตรที่เอกชนเป็นผู้ดำเนินการอยู่แล้ว 

นอกจากนี้ จะร่วมกันสร้างทีมงานเพื่อร่วมมือกันทางด้านวิชาการ คิดค้นและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยรูปแบบใหม่ ๆโดยศึกษาข้อมูล อย่างครอบคลุม ครบทุกมิติความเสี่ยง ทั้งความผันผวนของปริมาณผลผลิต ราคา ตลาดและความต้องการของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการคุ้มครองความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และหันมาใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทางการเงินของตนเอง