รองปลัดเกษตรฯนำทีมดูงานวิจัยยางพารา สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มอ.

รองปลัดเกษตรฯ นำทีมเกษตรฯ 14 จังหวัดภาคใต้ เยือนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศึกษา ดูงานวิจัยยางพารา สถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา

นายสำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังรับฟังบรรยาย และศึกษาดูงานจากคณะทรัพยากรธรรมชาติ และสถาบันวิจัยและพัฒนาวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วม และมีรองศาสตราจารย์ ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณะบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ รศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมยางพารา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นผู้บรรยาย ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ว่า คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานด้านวิชาการ และพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ด้านเกษตร การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะทรัพยากรชายฝั่งที่สามารถฟื้นฟูได้อาทิ ทรัพยากรเกษตร ประมง ดิน น้ำ ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม ซึ่งภารกิจของคณะทรัพยากรธรรมชาตินั้นส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ และเป็น partner ที่สำคัญมายาวนาน โดยเฉพาะทางคณะทรัพยากรธรรมชาติ มีความเชี่ยวชาญด้านระบบเกษตรยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ

6AC585D4 2AA6 4F3E BC76 7D32440E54D6

“กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อนำมาพัฒนาภาคเกษตรไทย ดังนั้น ในการลงพื้นที่ตรวจราชการ 14 จังหวัดภาคใต้ในครั้งนี้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายให้ตนและคณะ  ผู้บริหารกระทรวงฯ มาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน รวมถึงหารือกับทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในเรื่องของการผลักดันงานวิจัยเกี่ยวกับยางพาราต่างๆ ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรไทย ให้เดินหน้าสู่การปฎิบัติและใช้งานจริง ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้ายางพาราโดยวันนี้ ได้เห็นงานวิจัยที่น่าสนใจหลายชิ้น อาทิ โฟมยางปล่อยกลิ่นช้าล่อแมลงวันชนิดต่างๆ รองเท้าโคจากยางพารา เบาะรองนั่งสัตว์จากยางพารา ปุ๋ยละลายช้าโดยใช้ยางพาราเข้าไปเคลือบ และอีกหลายๆงานวิจัย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีการสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ในสังกัด หารือกับทางมหาวิทยาลัยในภาพของการทำข้อตกลงความร่วมมือที่มีอยู่แล้ว เพื่อผลักดันงานวิจัยสู่การนำมาใช้ในภาคเกษตรไทยอย่างแพร่หลาย และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรให้สามารถนำงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้เอง และพัฒนาต่อยอดสู่การเป็นเกษตรกรผู้พัฒนางานวิจัยต่อไป” นายสำราญ กล่าว

5576A78B 607B 43FC 8ED0 0B81E2C3D265
9C329979 E116 45C7 9EF2 6E63E6980B73