“อลงกรณ์”ขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จ.นครปฐม ชูนโยบายการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล และการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่เมืองและพื้นที่ชุมชน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม โดยมีนายรัฐศาสตร์ ชิดชู รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายพูลลาภ อุไรงาม เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม นายศิริชัย เลี้ยงอำนวย เกษตรจังหวัดนครปฐม นายณฐกร สุวรรณธาดา คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายจิตติศักดิ์ ศรีปัญญา ผู้อำนวยการกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสามัคคีมุขมาตย์ ชั้น 4 (ส่วนต่อขยาย) ศาลากลางจังหวัดนครปฐม

29744439 E346 4C5D A7DA 71D24CB40D7E

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า โครงการสำคัญที่เป็นอีกคานงัดการปฏิรูปภาคเกษตรของกระทรวงเกษตรฯ คือโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน และเพื่อชุมชน” โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทุกตำบลของจังหวัดนครปฐม ซึ่งจะเป็นกลไกพัฒนาหมู่บ้านตำบลแบบบูรณาการทุกภาคส่วนตามแผนพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบลควบคู่กับการเดินหน้าโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ วนเกษตร เกษตรธรรมชาติเกษตรผสมผสาน โดยมีการวางโครงสร้างและระบบแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคเกษตรในพื้นที่เมืองและพื้นที่ชุมชน ซึ่งทั้ง 2 โครงการขับเคลื่อนโดยคณะกรรมการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนแห่งชาติ ซึ่งมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานและมีที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนครอบคลุม 77 จังหวัด

       สำหรับการขับเคลื่อนการดำเนินงานภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ตามนโยบาย 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีโครงการสำคัญที่ดำเนินการใน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนการเกษตรระดับหมู่บ้านสู่การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 2) การพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง 3) การพัฒนาการเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล 4) การขับเคลื่อน BCG ด้านการเกษตร และ 5) การขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่จังหวัดนครปฐม มีสินค้าสำคัญ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ได้แก่ ข้าว กล้วยไม้มะพร้าวน้ำหอม กุ้งขาว กุ้งก้ามกราม ปลานิล สุกร โคนม และไก่ไข่

69B6B208 FDFE 4124 A234 3697987264EA

       “กระทรวงเกษตรฯ มุ่งขับเคลื่อนภาคการเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง (Next Normal) โดยมี 12 ก้าวใหม่ที่กล้าเดิน เป็นคานงัดสำคัญ ได้แก่ 1) ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) 2) ศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ 3) ดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่น (Digital Transformation) 4) เกษตรอัจฉริยะและตลาดออนไลน์ 5) เกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง-ชนบท 6) เกษตรแห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต7) โลจิสติกส์เกษตรเชื่อมไทย-เชื่อมโลก 8) เกษตรแปลงใหญ่ สตาร์ทอัพเกษตร 9) ยกระดับเกษตรกรก้าวใหม่ 10) เกษตรสร้างสรรค์ สู่เกษตรมูลค่าสูง (The Brand Project) เน้นแปรรูปสร้างมูลค่าและพัฒนาแบรนด์11) การพัฒนาเชิงพื้นที่ (Area base) ไม่มีเหลื่อมล้ำ 12) เปิดกว้างสร้างหุ้นส่วน (Partnership platform) ในประเทศและต่างประเทศ

01213BB1 20EB 4064 98E6 9E03276E49ED

       อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ มุ่งปฏิรูปภาคการเกษตรให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งจากการเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งโควิด-19 และสงครามรัฐเซีย-ยูเครน จนกลายเป็นสงครามเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้ราคาปุ๋ยและราคาอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น เกิดภาวะเงินเฟ้อ และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ จึงเป็นโอกาสของไทยที่จะเพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าเกษตร โดยกระทรวงเกษตรฯ จะต้องมีแผนพัฒนาการเกษตรอย่างรอบด้านตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยการประชุมในครั้งนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบ(ร่าง)แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครปฐม ฉบับ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)ฉบับทบทวน รอบปี พ.ศ. 2567 ที่จะเป็นกรอบในการขับเคลื่อนงานภาคการเกษตรในพื้นที่ต่อไป

E78F700D FEF4 4BB9 8F81 D7BBEFD8AEA5

       จากนั้นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานแปลงใหญ่ข้าวและการบริหารจัดการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) โดยมี ว่าที่ร้อยโทอรรถชล ทรัพย์ทวี นายอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม และเจ้าหน้าที่ รวมถึงเกษตรกร ให้การต้อนรับ ณ หมู่1 ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 

ซึ่งแปลงใหญ่ดังกล่าว สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต จากเดิม 800 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มเป็น 1,000 กิโลกรัม/ไร่ มีการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งสมาชิกผู้ปลูกข้าวแปลงใหญ่ทั้งหมด อยู่ระหว่างการขอการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าว GAP แบบกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรอง เป้าหมายเกษตรกรแปลงใหญ่ได้รับใบรับรอง GAP ทั้งหมด 32 ราย หรือ 100% รวมถึงมีการสร้างเครือข่ายด้านการตลาด และจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น facebook ฯลฯ

       ปัจจุบันกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ผลิตข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 มีสมาชิก จำนวน 32 ราย และมีพื้นที่ จำนวน 425 ไร่ เดิมสมาชิกต่างคนต่างขายโดยตรงให้กับโรงสี เมื่อรวมกลุ่มแปลงใหญ่ได้มีการพัฒนาแปรรูปผลผลิตเป็นข้าวสาร โดยกลุ่มมีโรงสีขนาดเล็กสำหรับแปรรูปผลผลิตของสมาชิก ผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นข้าวสารแบ่งบรรจุขนาด 1 กิโลกรัม และ 5 กิโลกรัม จำหน่ายตลาดในชุมชน ออกบูทตามงานต่าง ๆ ตลาดนัดศิลปากรตลาดเกษตรกร และช่องทางออนไลน์ เป็นต้น ทั้งนี้ กลุ่มแปลงใหญ่ฯ ได้ร่วมกันจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลทุ่งขวาง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย

7A9AA016 92F3 4459 A487 A261821FE29B