เกษตรฯ เร่งแก้หนี้ธนาคารรัฐช่วยเกษตรกร ตามมติ ครม.

กระทรวงเกษตรฯ ดันโครงการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง ตามมติคณะรัฐมนตรี

DA5D3EAC 7BBF 4AFA B35C 8CDB16FAE19E

นาย สำราญ สาราบรรณ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือการกำหนดแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ของเกษตรกร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง 

โดยคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการให้เกษตรกรทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิม โดยพักชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง ตามระยะเวลาที่ตกลงไว้ แต่ไม่เกิน 15 ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกร ได้ชำระหนี้สินงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว 

116C7886 5D2A 41A0 9501 98966576AF57

ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรฯ โดยสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรายละเอียด และแนวทางการดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น รวมถึงกำหนดกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการตามความจำเป็น เหมาะสม และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปในส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ 4 แห่ง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

06FBE9B8 DBB9 491C 84BA A371AA747BC2

นายสำราญ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าว สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) ได้จัดทำ (ร่าง) ขั้นตอนและวิธีปรับโครงสร้างหนี้ตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง รวม 7 ขั้นตอน เพื่อหารือร่วมกับสถาบันเจ้าหนี้ธนาคารของรัฐทั้ง 4 แห่งซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการแล้ว

โดยขั้นตอนที่ 1) กฟก. จัดส่งรายชื่อเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายให้ กฟก.จังหวัดติดประกาศ 2) เกษตรกรแจ้งความประสงค์ร่วม / ไม่เข้าร่วมโครงการ 3) กฟก. จังหวัดสรุปรายชื่อเกษตรกรที่เข้าร่วม และไม่เข้าร่วม รอรายละเอียดและการสั่งการจัดส่งให้ธนาคารเจ้าหนี้ 4) ธนาคารเจ้าหนี้พิจารณาปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกรตามรายชื่อ 5) ธนาคารเจ้าหนี้แจ้งรายชื่อเกษตรกรที่ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ จัดส่งให้ กฟก. จังหวัด เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกร 6) ธนาคารเจ้าหนี้ขอชดเชยเงินต้นร้อยละ 50 และดอกเบี้ยจากรัฐบาล เมื่อเกษตรกรชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญา 7) กฟก. เสนอเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาเงินชดเชยต่อไป