อธิบดีกรมวิชาการเกษตรลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น ขับเคลื่อนเทคโนโลยี สู่กลุ่มเป้าหมายพร้อมส่งเสริมนโยบายลดก๊าซเรือนกระจก”

วันที่ 16 ธันวาคม 2565 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จ.ขอนก่น เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามความคืบหน้า ความพร้อม สำหรับการใช้งาน อาคารปฏิบัติการ กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 จากหน่วยรับรองกรมวิทยาศาสตร์บริการ 

โดยห้องปฏิบัติการมีมาตรฐานการด้านการวิเคราะห์และให้บริการในระดับเดียวกับส่วนกลาง เทียบเท่าระดับสากล สร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือกับผู้ใช้บริการ ผลการวิเคราะห์สามารถนำไปใช้ประกอบการบังคับคดีได้ตามกฎหมายเป็นเครื่องมือในการป้องปรามผู้กระทำผิดตาม พรบ. ปุ๋ย พ.ศ. 2518 และ พรบ. วัตถุอันราย พ.ศ. 2535 หรือใช้ในการปรับปรุงระบบการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พร้อมกันนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้สำรวจพื้นที่และเส้นทางการจัดงานกิจกรรมขยายผล ขับเคลื่อนและถ่ายทอดเทคโนโลยี 50 ปี กรมวิชาการเกษตร สู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการจัดกิจกรรมในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ภายในสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น 

รวมทั้งประเมินศักยภาพ ความเหมาะสม Route เส้นทางการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อรองรับกิจกรรมพืชสวนโลกใน ปี 2569 Route กิจกรรมสถานท่องเที่ยววิชาการเกษตร ณ ตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น Route กิจกรรมสถานท่องเที่ยววิชาการเกษตร ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

D65EACFA 2A13 4BD1 BE87 35115A95A624

หลังจากนั้น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้เป็นประธานในการประชุมหารือเพื่อสร้างความร่วมมือกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด ภายใต้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) 

โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และหน่วยงานกรมวิชาการเกษตร ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และหน่วยงานเครือข่ายของกรมวิชาการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีการเตรียมความพร้อม เพื่อการขับเคลื่อนการนำเทคโนโลยีที่กรมวิชาการเกษตร วิจัยและพัฒนาแล้วพบว่าได้ผลดี นำไปแก้ปัญหา หรือขยายผลสู่เกษตรกรให้นำไปปรับใช้ในพื้นที่เพื่อให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมสำหรับการสนับสนุนและถ่ายทอดองค์ความรู้ สู่กลุ่มเป้าหมาย 

ตลอดจนพัฒนาความก้าวหน้าเชิงวิชาการ เพื่อความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลงานสู่กลุ่มเป้าหมายในวงกว้าง การร่วมมือกับภาคเอกชน องค์กรต่างๆ เพื่อมุ่งสู่การขับเคลื่อนนโยบายระดับโลกที่จะลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต และการใช้เทคโนโลยี ซึ่งจะนำไปสู่ความยั่งยืนของการใช้ทรัพยากร ปัจจัยประกอบการผลิต และสิ่งแวดล้อม ในอนาคต

5113814A B519 4743 8A05 41E2C4906BCB

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มีเป้าหมายในปี 2566 ที่จะขยายร้านค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตร (Q-shop) ให้ได้ทั่วประเทศ 10,000 ร้านค้า สร้างความมั่นใจให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ ซื้อขาย ปุ๋ย ยา และปัจจัยการผลิตทางเกษตร คุณภาพ ราคาเหมาะสม โดยอำนวยความสะดวกในการพิจารณาให้ร้านค้าสามารถเข้าร่วมโครงการได้ที่ 

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 (สวพ. 1-8) สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว.) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ เมื่อสมัครแล้ว จะเสนอให้ ผอ. สวพ. 1-8 หรือ ผอ.สคว. ลงนามหนังสือรับรอง พร้อมมอบตราสัญลักษณ์ให้กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เป็นการบริการที่สะดวก รวดเร็วเข้าถึงประชาชน เกษตรกร และ ผู้ประกอบการในพื้นที่