เปิดตัว’สมาคมมังคุดไทย(TMA)’สมาคมไม้ผลน้องใหม่ ดัน “ปัทมา นามวงษ์“ อดีตเกษตรจังหวัด จันทบุรีขึ้นแท่นนายกสมาคมมังคุดไทยคนแรก 

จากงานเสวนา มังคุดไทย ทำอย่างไรให้ยั่งยืนในงานพืชสวนก้าวหน้าครั้งที่ 17 วันที่ 11 ธันวาคม 2565 นำไปสู่การประชุมจัดตั้ง “สมาคมมังคุดไทย (TMA)”อย่างเป็นทางการในวัน 21 ธันวาคม 2565 และในวันที่ 28 ธันวาคม 2565 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี อ.ขลุง จ.จันทบุรี มีการร่วมประชุมเพื่อลงมติเลือก นายกสมาคมมังคุดไทย (TMA)   

โดยมีการคัดเลือกชาวสวนมังคุดที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาเพื่อเป็นนายกสมาคมมังคุดไทย ( TMA ) และที่ประชุมมีมติให้ นาง ปัทมา นามวงษ์ อดีตเกษตรจังหวัดจันทบุรี ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกสมาคมมังคุดไทยคนแรก เพราะเห็นถึงประสบการณ์ ความรู้ความสามารถในการทำงานเรื่องมังคุดมาตั้งแต่ยังเป็นเกษตรจังหวัดจันทบุรี จนเกษียณอายุราชการก็ยังคงเป็นที่ปรึกษาดำเนินการเรื่องมังคุดในกลุ่มมังคุดหลายๆ กลุ่ม

นาง ปัทมา นามวงษ์ ได้กล่าวว่า “ขอขอบคุณทางคณะกรรมการที่ได้เลือกดิฉันเป็น สมาคมมังคุดไทย(TMA)คนแรก ดิฉันจะขอใช้ความรู้ ประสบการณ์การทำงานเพื่อทำให้วงการมังคุดไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืน เป็นปากเป็นเสียงให้กับชาวสวนมังคุด และสนุบสนุนทั้งความรู้ วิชาการ งานวิจัย การพัฒนาสินค้าแปรรูป การส่งออกมังคุด เพื่อให้อาชีพชาวสวนมังคุด ผลไม้ที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นราชินีผลไม้ ยืนหนึ่งและรักษาคุณภาพมังคุดไทยให้ยืนหนึ่งในเวทีมังคุดโลก “ 

2C43B53E B700 4B4F 8489 7ECC02E83236

สำหรับนาง ปัทมา นามวงษ์ เริ่มทำงานด้านมังคุดตั้งแต่ กรมส่งเสริมการเกษตรมีการตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด เป็นเกษตรตำบล อำเภอขลุง แล้วย้ายมาอำเภอแหลมสิงห์ส่งเสริมกลุ่มเริ่มทำสัญญากับล้งที่ทำส่งออก จากนั้นย้ายมาเป็นเกษตรอำเภอเขาคิชฌกูฏ สนับสนุน กระตุ้นให้ทำการตลาดแบบประมูลมังคุด ในกลุ่มแปลงใหญ่มังคุดคิชฌกูฏ ร่วมขับเคลื่อนจนกลุ่มประสบความสำเร็จเป็นแปลงต้นแบบด้านการประมูลระดับจังหวัด ระดับเขตฯ และระดับประเทศ 

จากนั้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศ ที่เกษตรจังหวัด ดูแลเกษตรแปลงใหญ่ทั้งจังหวัด มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายมังคุดประมูลแปลงใหญ่จังหวัดจันทบุรี มีการขับเคลื่อนด้านมาตรฐานการประมูลมาตรฐานการคัดเกรด หลายอำเภอ ยกระดับรายได้ จากการประมูล และการพัฒนาแปลงใหญ่มังคุดสู่เกษตรสมัยใหม่ 

CBFFFD30 248C 48F5 9E2C 679C07B26804

ต่อมาขึ้นเป็นเกษตรจังหวัด พัฒนาต่อเนื่องด้านเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรทั่วไป ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรวมตัวเข้าสู่ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อพัฒนาทุกด้านให้เกษตรกรมีการบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง ปัจจุบันยังมาเป็นที่ปรึกษากลุ่ม KMK เพื่อมาร่วมพัฒนายกระดับต่อเนื่องในหลายๆด้านเพื่อรับทราบปัญหาเกี่ยวกับมังคุดของเกษตรกรและเชื่อมโยงผู้ประกอบการ 

โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาการปลูกมังคุด โดยเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับมังคุดไทย ทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในสมาคมมังคุดไทย เพื่อสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิตมังคุด ทั้งแต่การผลิต แปรรูป ส่งออก ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ

FA989E34 A589 4FFC 9C02 035ECCE06BE7