เกษตรฯ ลุยต่อเนื่องเดินหน้าโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตรปี 66 ต่อยอดกลุ่มเกษตรกรเพิ่มอีก 586 กลุ่มทั่วประเทศ  

นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เปิดเผยถึงโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร ภายใต้แผนงานพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งมี 3 หน่วยงานร่วมบูรณาการร่วมกัน 

โดยเป็นหน่วยงานในสังกัดในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 2 หน่วยงาน ได้แก่ กรมหม่อนไหมและกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1 หน่วยงาน คือสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากการติดตามผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ที่ผ่านมา สศก. พบว่า สามารถส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรโดยอบรมถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ให้กับกลุ่มเกษตรกร 559 กลุ่ม และ 25 ชุมชนตามเป้าหมาย 

E26AA70A 7D59 4625 B6C4 73FC4C48F0D8

ประกอบด้วย กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 20 กลุ่ม กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 154 กลุ่ม กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 231 กลุ่ม กลุ่มยุวเกษตรกร 154 กลุ่ม และชุมชนที่อาศัยในเขตพื้นที่อนุรักษ์ในความรับผิดชอบและดูแลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 25 ชุมชน 

โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทของกลุ่ม/ชุมชน สนับสนุนปัจจัยการผลิต/วัสดุอุปกรณ์การผลิตตามความต้องการของกลุ่ม เช่น ท่อนพันธุ์หม่อน อุปกรณ์สำหรับแปรรูปผลผลิต เส้นไหม วัสดุสำหรับทำสบู่ เป็นต้น โดยผลสำเร็จของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมสามารถผลิตสบู่และแชมพูจากโปรตีนไหม พวงกุญแจ กระเป๋าจากเศษผ้าไหม สร้างรายได้เฉลี่ย 10,695 บาท/เดือน/ราย เพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนเข้าโครงการฯ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 10,086 บาท/เดือน/ราย(เพิ่มขึ้น609 บาท/เดือน/ราย หรือร้อยละ 6)  

16449876 1F02 4E39 AB91 D53A0148329C

กลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สามารถผลิตสินค้า อาทิ กล้วยฉาบแปรรูป น้ำพริก  สร้างรายได้เฉลี่ย 15,429 บาท/เดือน/ราย เพิ่มขึ้นจากเดิมก่อนเข้าโครงการฯ ซึ่งมีรายได้เฉลี่ย 14,097 บาท/เดือน/ราย (เพิ่มขึ้น 1,332 บาท/เดือน/ราย หรือร้อยละ 10)  

อย่างไรก็ตาม กลุ่มยุวเกษตรกรถึงแม้จะไม่ได้ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในเชิงธุรกิจ แต่ได้มีการทำการเกษตรจำหน่ายให้กับโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการอาหารกลางวัน ซึ่งทำให้กลุ่มยุวเกษตรกรมีความรู้ในด้านการเกษตร และสามารถทำการเกษตรในเบื้องต้น และนำไปใช้เพื่อบริโภคในครัวเรือนได้ต่อไป

ขณะที่สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการโดยมีการจัดประชุมกับชุมชนเครือข่าย เน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เกิดความรู้และประสบการณ์เพิ่มพูนศักยภาพในด้านการผลิตสินค้าและบริการ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และภูมิปัญญาท้องถิ่น 

B0A94392 51F4 4094 8541 8C239DE4141D

นอกจากนี้ได้ให้ชุมชนที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ดำเนินการจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับเงินสนับสนุนจากหน่วยงาน เช่น โครงการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าแปรรูปผลผลิตกาแฟในพื้นที่อนุรักษ์ โครงการผลิตจานชามใบไม้ โครงการโรงเพาะชำกล้าไม้ชุมชน โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยว โครงการพัฒนาสินค้า โครงการพัฒนาเครื่องหมายมาตรฐานสินค้าชุมชน และอาคารโซลาร์เซลล์เป็นต้น ซึ่ง สพภ. จะดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กับชุมชน เพื่อจัดซื้อครุภัณฑ์ เครื่องมือ  

สำหรับปีงบประมาณ 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้บูรณาการขับเคลื่อนต่อเนื่อง กำหนดเป้าหมายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับกลุ่มเกษตรกรกลุ่มใหม่เพิ่มเติม 586 กลุ่ม 25 ชุมชน ในพื้นที่ 76 จังหวัดทั่วประเทศ  

ซึ่งจากการติดตามโครงการฯ ของ สศก. ในช่วงไตรมาส 1 ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม – ธันวาคม2565) พบว่า ได้ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่ม โดยการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรเรียบร้อยแล้วจำนวน 110 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 19 ของเป้าหมาย 586 กลุ่ม 

EC1EB6EF 0C64 4A29 9A01 2706D8B9B072

แบ่งเป็น กรมหม่อนไหม ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้ว 7 กลุ่ม(ร้อยละ 23 ของเป้าหมาย 30 กลุ่ม) กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการพัฒนาศักยภาพกลุ่มส่งเสริมอาชีพการเกษตร 34 กลุ่ม(ร้อยละ 22 ของเป้าหมาย 154 กลุ่ม)       

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 40 กลุ่ม(ร้อยละ 17 ของเป้าหมาย 231 กลุ่ม) กลุ่มยุวเกษตรกรและเยาวชนเกษตรในระดับอุดมศึกษา 29 กลุ่ม(ร้อยละ 17 ของเป้าหมาย 171 กลุ่ม)  

ขณะที่มีการสนับสนุนปัจจัยการผลิตและวัสดุอุปกรณ์การผลิตให้กลุ่มเกษตรกร 15 กลุ่ม(ร้อยละ 3 ของเป้าหมายทั้งหมด 586 กลุ่ม) 

DC036029 EF12 4A03 B865 24E97228A6E3

โดย สพภ. ดำเนินการคัดเลือกชุมชนเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมโครงการในปี 2566 แล้ว จำนวน 25 ชุมชนตามเป้าหมาย มีการจัดประชุมใหญ่ชุมชนในเครือข่ายระดับประเทศ เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการของชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานของแต่ละชุมชนเรียบร้อยแล้ว

“เห็นได้ว่าที่ผ่านมาโครงการฯ สามารถพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องของรายได้และช่องทางการตลาด เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกรที่มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่ง สศก. มีแผนจะลงพื้นที่เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการฯ ช่วงไตรมาส 2 ในเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2566 และจะได้รายงานผลการสำรวจให้ทราบในโอกาสต่อไป” รองเลขาธิการ สศก. กล่าว

7677FC27 1119 473D 9400 9D4EDC86C995 rotated