ชาวสวนเมืองจันทบุรีร้อง ต้นทุเรียนยืนต้นตายเกือบยกสวน หลังฉีดอาหารเสริม

เจ้าของสวนทุเรียน พื้นที่ทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ร้องสื่อมวลชน ให้เจ้าของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพืชเยียวยา หลังฉีดฝังเข้าลำต้นผ่านไป 4 เดือน ทุเรียนยืนต้นตาย

นายวินัย พลอยสิทธิ์ เจ้าของสวนทุเรียน ม.5 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พาผู้สื่อข่าวดูความเสียหายของต้นทุเรียน ที่เหลือแต่หลุมจำนวน 104 หลุม และต้นที่กำลังยืนต้นตาย

โดยนายวินัยเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา ตนดูช่องยูทูป มีการโฆษณาถึงอาหารเสริมพืชยี่ห้อหนึ่ง ผลิตโดยผู้ประกอบการ ในพื้นที่อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่ดีต่อ ต้นทุเรียน ช่วยรักษาโรครากเน่าโคนเน่า ให้ดอกออกเยอะ ผลทุเรียนลูกใหญ่ ตนสนใจ จึงตัดสินใจซื้อ มาฉีดฝังเข้าไปในลำต้นทุเรียนทั้ง 200 กว่าต้นของตน ในพื้นที่ 20 ไร่ หวังให้ผลผลิตงอกงามดียิ่งขึ้น

9471F633 2462 4163 99A7 EB143949DEE1

ผ่านไปประมาณ 10 วัน สังเกตเห็นใบทุเรียนเริ่มเหลือง จากนั้นลำต้น ทยอยแห้งตาย มีอาการรากเน่าโคนเน่าชัดเจน จนกระทั่งเดือนธันวาคม จึงตัดสินใจ ซื้อยาอาลีเอท ซึ่งเป็นยากำจัดเชื้อราไฟท็อปเทอรา มาทารอบโคนต้น ช่วยชะลอความเสียหายได้บางส่วน

ส่วนต้นทุเรียนที่เสียหายรีบถอน เพื่อนำไม้ไปขาย ก่อนจะแห้งตาย ไม่เหลืออะไรเลย หลังจากนั้นได้แจ้งไปทางผู้ประกอบการที่ป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมพืชตัวดังกล่าว ได้รับคำตอบให้ทำใจ เพราะสาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟท็อปเทอรา ไม่เกี่ยวกับการที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพืชของที่ร้าน

E2B14EC8 4B31 4C41 81DD C494E49DAD3D

นายวินัย จึงเดินทางเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจภูธรทุ่งเบญจา ขณะนี้อยู่ระหว่างที่ สวพ.6 จันทบุรี ส่งชิ้นส่วนของต้นทุเรียน และผลิตอาหาร เสริมพืชดังกล่าวตรวจสอบ โดยความเสียหายที่เกิดขึ้น ซึ่งประเมินขั้นต่ำได้ที่ต้นละ 5 หมื่นบาท รวมเป็นเงินกว่า 5 ล้านบาท ที่ต้องการให้ทางผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น

ด้านนางองุ่น วีระนันท์ ผู้รับซื้อทุเรียนสวนของนายวินัยยืนยันว่า ซื้อขายทุเรียนสวนนี้มานาน มูลค่าของทุเรียนสวนนี้อยู่ที่ประมาณปีละ 10 ล้านบาท จากที่เข้าตรวจสอบประเมินต่อเนื่องทั้งปี พบสภาพสวนมีความสมบูรณ์ ต้นทุเรียนอายุระหว่าง 20-50 ปี ให้ทุเรียนคุณภาพ และหากไม่เสียหาย จะยังคงมีเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นต่อไปทุกปี

8E6E823D E8FB 4DC9 B1AA C3004C48B0CC

ขณะที่เจ้าหน้าที่กลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดจันทบุรี เดินทางลงพื้นที่สอบตรวจความเสียหาย และเปิดเผยว่ากรณีที่เกิดขึ้น กับสวน ของนายวินัย ทางภาครัฐไม่สามารถเบิกจ่ายเยียวยา ชดเชยความเสียที่หาย ที่เกิดขึ้นได้ เนื่องจากไม่เข้าหลักเกณฑ์ภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย หรือ วาตภัย แต่เป็นการที่เกษตรกรใช้สารปรับปรุงพืช ทำให้พืชล้มตายเสียหาย ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์การช่วยเหลือ การเข้ามาดูแลทำได้เพียงให้คำแนะนำว่า หลังจากนี้ควรจะตัดแต่ง เอาลูกออกเพื่อให้ลำต้นฟื้นตัว ซึ่งเท่ากับปีนี้เกษตรชาวสวนท่านนี้ จะไม่สามารถขายผลผลิตที่เหลือติดต้น ตามที่เห็นอยู่นี้ได้ หรือได้เป็นส่วนน้อย

119C45D0 B86B 43AD 989F 4C2E6578F799

ด้านนายเกรียงไกร ปัญญาพงศธร นายอำเภอท่าใหม่ เดินทางมาให้ กำลัใจงเกษตรกรและ พร้อมที่จะติดตามเรื่องการส่งตัวอย่างพืช และอาหารเสริมพืชตัวที่คาดจะเกิดปัญหานี้ ให้ทางสวพ.6 ตรวจสอบหาข้อสรุป เพื่อให้ทางเกษตรกรดำเนินการฟ้องร้อง ตามกระบวนการ และเพื่อเป็นการ ป้องปรามไม่ให้เกิดเหตุการณ์ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นกับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่หลงเชื่อโฆษณาเกินจริง สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรในพื้นที่

ล่าสุดนายสมชาย  ฉันทพิริยะพูน ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมตามพระราชบัญญัติ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 หรือ สารวัตรเกษตร ชี้แจงกรณีดังกล่าวผ่านทางโทรศัพท์ว่าทางสวพ.6 ไม่ได้นิ่งนอนใจหลังจากรับเรื่องจากสถานีตำรวจภูธรทุ่งเบญจา ได้เข้าดำเนินการเก็บตัวอย่าง ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และ ส่งตัวอย่างพืช และอาหารเสริมพืช ที่เข้าข่ายเป็นวัตถุอัตรายชนิดที่ 3 นี้ ส่งตรวจไปยังห้องแล็ปส่วนกลางที่กรุงเทพฯ โดยระบุความผิดเบื้องต้นของผู้ผลิตอาหารเสริมพืชชนิดดังกล่าว่า เข้าข่ายไม่มีใบอนุญาตผลิต

6BC0AC63 9C07 4E6D 9685 C516FE96F385
F8AC3D24 F731 45CF 9B1B 4CDAF450955E

ขอบคุณข้อมูล : NBTจันทบุรี