รมช.มนัญญา เปิด Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง

%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%B2
Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม Kick Off “ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน” พร้อมมอบนโยบายและแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้องประชุม 126 กรมส่งเสริมสหกรณ์ เทเวศร์ กรุงเทพฯ พร้อมถ่ายทอดสัญญาณไปยังหน่วยงานในสังกัดกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย

%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%B2 1
นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ

รมช.มนัญญา กล่าวว่า “สหกรณ์” เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากและสังคมของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) ได้ให้แนวทางในการพัฒนาการสหกรณ์ไว้ในแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้สอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงทั้งกระบวนการคิด และวิธีในการบริหารจัดการให้ทันยุคสมัยและบริบทที่เปลี่ยนไป ภายใต้ 5 การปรับตัวของสหกรณ์ ได้แก่ การจัดการและบริหารการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม การพัฒนาคนวัยทำงานรุ่นใหม่สู่ช่วงยุคเปลี่ยนผ่าน การพัฒนาองค์กรสู่รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนของการสหกรณ์

%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%8D
Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ

“การ Kick off ในวันนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการสร้างรูปแบบการทำงานส่งเสริม พัฒนา และตรวจสอบสหกรณ์ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมและสนับสนุนให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมให้มีความเข้มแข็ง และเน้นให้สร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก การบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ความเข้มแข็งของสหกรณ์อย่างยั่งยืน ช่วยยกระดับสหกรณ์ให้มีสมรรถนะสูง ส่งเสริมให้สหกรณ์เป็นองค์กรที่สร้างคุณค่าให้กับชุมชน และจัดการการมีส่วนร่วมสู่การพัฒนาได้อย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้ขอฝากไว้ว่า การสื่อสารที่จะส่งไปยังสหกรณ์ หรือประชาชนต้องพยายามทำในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจได้ง่าย เพราะหากระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทำไว้จะดีอย่างไร แต่หากสื่อสารไม่เข้าใจก็จะส่งผลให้เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ไม่สำเร็จ และขอฝากข้าราชการทุกท่านให้พัฒนาตนเองให้ทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง” รมช.มนัญญา กล่าว

%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%8D 2
Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ

รมช.เกษตร กล่าวด้วยว่า ได้ให้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ดำเนินการนำสินทรัพย์ที่มีการยึดอายัดไว้ และอยู่ระหว่างดำเนินคดีของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนกลับมายังสหกรณ์เจ้าทรัพย์เพื่อลดหนี้ และลดผลกระทบต่อสมาชิก อีกทั้งป้องกันทรัพย์เสื่อมสภาพ ซึ่งเบื้องต้นได้หารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว จึงขอให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เร่งรัดดำเนินการ และหารือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนำมาสู่การตั้งกรรมการบริหารผลประโยชน์ในสินทรัพย์ดังกล่าว

สำหรับกิจกรรม Kick Off “ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรแบบบูรณาการ พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูง และเติบโตอย่างยั่งยืน” มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้บุคลากรของทั้ง 2 หน่วยงาน รับทราบแนวทางปฏิบัติในการยกระดับการพัฒนาสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตามแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) รวมถึงการสร้างความเข้าใจแนวทางการนําเกณฑ์การประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติแบบบูรณาการได้อย่างเป็นรูปธรรม และให้เป็นกลไกสําคัญของรัฐในการส่งผ่านนโยบาย และขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand : FVCT) สู่ภาคสหกรณ์ ในระยะ 5 ปี

ทั้งนี้ ในปี 2566 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบมิติการประเมินความเข้มแข็งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ความสามารถในการให้บริการสมาชิก มิติที่ 2 ประสิทธิภาพในการดําเนินธุรกิจ มิติที่ 3 ประสิทธิภาพในการจัดการองค์กร และ มิติที่ 4 ประสิทธิภาพของการบริหารงาน โดยกรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบต้องร่วมมือกับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนในการยกระดับ พัฒนา และผลักดัน การมีส่วนร่วมแบบบูรณาการ ให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรมีความเข้มแข็ง พุ่งเป้าสู่องค์กรสมรรถนะสูงและเติบโตอย่างยั่งยืน บรรลุผลตามค่าเป้าหมาย ที่แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ กําหนดไว้

%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A9 1 scaled
นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์

โอกาสนี้ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ และอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้มอบนโยบาย “ปรับแนวคิด บูรณาการงานสหกรณ์ สู่อนาคตการสหกรณ์ยั่งยืน” และร่วมเสวนา “พัฒนาสหกรณ์สู่มิติความเข้มแข็ง ขับเคลื่อนสหกรณ์ด้วยข้อมูลและเทคโนโลยี” รวมทั้งการบรรยายเรื่อง แนวทางการนำเกณฑ์ประเมินความเข้มแข็งของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรไปสู่การปฏิบัติร่วมกันตามยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) และการตอบประเด็นซักถาม ผ่านระบบ Zoom Meeting อีกด้วย

%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1 18 scaled
นางสาวอัญมณี ถิรสุทธิ์ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์
%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1 1 8
Kick Off ประกาศนโยบายขับเคลื่อนความเข้มแข็งสหกรณ์แบบบูรณาการ