ปลัดเกษตรฯถกความร่วมมือกับอินโดนีเซียพร้อมกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหารในภูมิภาคอาเซียน

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนุญาตให้นายเบอร์นาดิโน เวก้า (Mr. Bernardino Vega) รองประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council : ASEAN-BAC) และ ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมอินโดนีเซีย (Indonesian Chamber of Commerce and Industry : KADIN) พร้อมคณะเข้าเยี่ยมคารวะ โดยมี ผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญ วิสัยทัศน์ และแผนสำหรับการดำรงตำแหน่งประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนที่จะผลักดันให้ภาคธุรกิจของอาเซียนมีความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน ตลอดจนหารือถึงความเป็นไปได้ในการเสริมสร้างความร่วมมือในกรอบ ASEAN Business and Investment Summit (ABIS)

นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำหรับการหารือในวันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดัน มาตรการ 5 ด้าน เพื่อดำเนินงานและขับเคลื่อนความมั่นคงอาหารอย่างเป็นรูปธรรม มุ่งสู่ความยั่งยืนด้านการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ได้แก่ 1) การสนับสนุนความปลอดภัยด้านอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 2) การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร 3) การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตร-อาหาร และ 5) การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงนโยบาย 3’S คือ Safety ความปลอดภัยของอาหาร Security ความมั่นคงของภาคการเกษตรและอาหาร และ Sustainability ความยั่งยืนของภาคการเกษตร

ปลัดเกษตรฯถกอินโดนีเซียความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

ทั้งนี้ ฝ่ายอินโดนีเซียแลกเปลี่ยนการดำเนินงานด้านการเกษตร โดยให้ความสำคัญด้านการประเด็นความมั่นคงของอาหาร การส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยเชื่อมโยงกับการตลาดตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดย ASEAN–BAC กำหนดเป้าหมายที่จะลดการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีในภูมิภาคอาเซียน การลงทุนในโครงการพื้นฐานภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกรรายย่อย ทั้งนี้ ASEAN – BAC ได้นำเสนอโครงการที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการ Inclusive Closed-Loop Model for Agricultural Product ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมภาคสาธารณูปโภคภาคเกษตร โดยจะหาแนวทางในการร่วมมือกันต่อไป

ปลัดเกษตรฯถกอินโดนีเซียความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

นายประยูร อินสกุล กล่าวว่า ขอขอบคุณรองประธาน ASEAN-BAC และคณะ จากสาธารณรัฐอินโดนีเซียที่ให้เกียรติเดินทางมาเยี่ยมคารวะในวันนี้ ซึ่งฝ่ายไทยพร้อมจะสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับทางอินโดนีเซียไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตร ด้านความมั่นคงทางอาหารและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและยินดีให้การสนับสนุนประเด็นด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในวาระประธานอาเซียนปี 2566 ที่จะผลักดันในอาเซียนให้ร่วมกันขับเคลื่อนดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2566 (Priority Economic Deliverables: PEDs) ซึ่งเกี่ยวข้องภายใต้กรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (Senior Officials’ Meeting of the ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: SOM-AMAF) โดย SOM-AMAF ของไทยได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการในภาวะวิกฤตแล้ว ซึ่งสำนักเลขาธิการอาเซียนจะเสนอให้รัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (ASEAN Ministers on Agriculture and Forestry: AMAF) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

ปลัดเกษตรฯถกอินโดนีเซียความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจ (PEDs) ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯ อาทิ 1) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้านที่ 1 การฟื้นฟูและสร้างใหม่อีกครั้ง (Recovery and Rebuilding) ได้แก่ ปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (ASEAN Leaders’ Declaration on Strengthening Food Security) และ โครงการพื้นฐานของอาเซียน (ASEAN Industrial Project-Based Initiative) และ 2) ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนด้านที่ 3 ความยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนากรอบเศรษฐกิจภาคทะเลของอาเซียน (Development of ASEAN Blue Economy Framework) สำหรับภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 5 ของไทย โดยในปี 2566 มีการส่งออกไปอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจาก 31,867 ล้านบาท เป็น 41,287 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 9,420 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.56 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก มีสัดส่วนการส่งออกรวมกันถึงร้อยละ 82.71 ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไปอินโดนีเซีย ได้แก่ (1) น้ำตาลที่ได้จากอ้อยอื่น ๆ เช่น น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว เกรด 3 น้ำตาลทรายดิบ 2) แป้งมันสำปะหลัง 3) น้ำตาลอื่น ๆ ที่ได้จากอ้อย เช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลก้อน น้ำตาลละเอียด 4) ผลไม้สดอื่น ๆ เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลางสาด และ 5) อาหารปรุงแต่งอื่น ๆ เช่น เต้าหู้ แอลกอฮอล์ผง ครีมเทียม สิ่งสกัดจากยีสต์

ปลัดเกษตรฯถกอินโดนีเซียความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

ปลัดเกษตรฯถกอินโดนีเซียความร่วมมือด้านการเกษตรและอาหาร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า