อินโดนีเซียดันส่งออก ‘สับปะรด’ เจาะตลาดจีน

ณ จังหวัดลัมปุงทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย กลุ่มคนงานสวมถุงมือเก็บสับปะรดสุกจากแปลงเพาะปลูกและโยนลงสายพานลำเลียงที่มีรถบรรทุกรออยู่ที่ปลายทาง เพื่อขนส่งผลผลิตเหล่านี้สู่โรงงานบรรจุกระป๋อง

ด้วยแสงแดดอบอุ่นและอุณหภูมิสูงเพียงพอตลอดทั้งปี ทำให้สวนสับปะรดหวานของเกรต ไจแอนท์ ไพน์แอปเปิล (GGP) ผู้ผลิตสับปะรดกระป๋องรายใหญ่จากภาคเอกชน สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ราว200,000 ลูกทุกวัน

เมอร์ดี สุปรายิตโน คนงานวางแผนการผลิตของสวนสับปะรดของจีจีพี กลุ่มที่ 1 กล่าวว่ามีการแบ่งสวนสับปะรดที่ครอบคลุมที่ดินกว่า 187,500 ไร่ ออกเป็นหลายส่วน ซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแต่ละส่วนได้ในเวลาเดียวกัน

รายงานระบุว่าผลผลิตสับปะรดของจีจีพีราวร้อยละ 50 ถูกส่งออกไปยังมากกว่า 60 ประเทศและภูมิภาคโดยนอกจากสับปะรดกระป๋องแล้ว จีจีพียังผลิตสับปะรดสด แยม น้ำแข็งก้อนบรรจุแก้ว น้ำผลไม้เข้มข้นและผลไม้รวมบรรจุกระป๋องด้วย

เวลลี ซอจีโอโน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของจีจีพี กล่าวว่าหลังจากสับปะรดสดของอินโดนีเซียได้รับอนุญาตให้เข้าถึงตลาดจีนอย่างเป็นทางการ จีจีพีจึงเริ่มต้นเพาะปลูกต้นสับปะรดเพิ่มขึ้นทันทีเพื่อกระตุ้นกำลังการผลิต

เมื่อเดือนสิงหาคม 2022 สำนักงานศุลกากรทั่วไปของจีนได้ออกพิธีสารฉบับใหม่ ซึ่งอนุมัติการส่งออกสับปะรดสดจากอินโดนีเซียที่ผ่านเกณฑ์ข้อบังคับสู่จีน โดยซอจีโอโนชี้ว่าเป็นข่าวดีเพราะการผลิตสับปะรดในจีนมีอยู่จำกัด ทำให้สับปะรดนำเข้ามีโอกาสอีกมาก

จีจีพีเริ่มต้นส่งออกสับปะรดสดสู่จีนทันทีที่มีการอนุมัติข้างต้น โดยปัจจุบันมีการขนส่งสับปะรดกว่า 580 ตัน ผ่านตู้คอนเทนเนอร์ 42 ตู้ ภายใต้ระบบห่วงโซ่ความเย็นจากจังหวัดลัมปุงสู่ท่าเรือทางตอนใต้ของจีน

การจัดส่งสับปะรดสู่จีนใช้เวลาราว 8-10 วัน โดยมีการหยุดแวะประเทศอื่นๆ ระหว่างทาง และการรักษาอุณหภูมิไว้ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันสับปะรดเน่าเสีย

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนถ่ายสับปะรดออกแล้วจะถูกเติมเต็มด้วยผลไม้อย่างแอปเปิล ส้ม และลูกสาลี่ ซึ่งมีการเพาะปลูกอยู่มากมายในจีนแต่ไม่ใช่ในอินโดนีเซีย และเดินทางกลับสู่จังหวัดลัมปุง

อนึ่ง การค้าผลไม้ระหว่างจีนและอินโดนีเซียมีความคึกคักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา

ซินยันโต คริสเตียน ซีอีโอของเซวู เซการ์ นูซันตารา (Sewu Segar Nusantara) บริษัทจัดจำหน่ายและทำการตลาดผลไม้สดร่วมกับจีจีพี เผยว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลงการค้าเสรีจีน-อาเซียน ช่วยเกื้อหนุนการส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรดสู่จีน

คริสเตียนเสริมว่าด้วยพิธีการศุลกากรที่รวดเร็ว ทำให้ขนส่งสับปะรดอินโดนีเซียราคาดีถึงมือลูกค้าได้อย่างว่องไว ทั้งหมดนี้ช่วยให้สินค้ามีความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มขึ้น ขณะผลสำรวจตลาดก่อนนี้พบลูกค้าชาวจีนยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อผลไม้ที่มีคุณภาพ และชอบผลไม้สดมากกว่าผลไม้กระป๋อง

คริสเตียนระบุว่าสภาพการณ์เช่นนี้ผลักดันให้บริษัทต้องยกระดับมาตรฐานการผลิตในท้องถิ่น เพราะลูกค้าจะสามารถรู้คุณภาพของสับปะรดทันทีที่ปอกเปลือก ทำให้บริษัทต้องรับประกันได้ว่าสับปะรดที่ส่งออกนั้นสดใหม่และมีคุณภาพสูง

ปัจจุบันคริสเตียนต้องเดินทางระหว่างจีนและอินโดนีเซียบ่อยครั้ง โดยเขาไม่เพียงหวังขยายตลาดจีนจากตอนใต้ขึ้นสู่ตอนเหนือและค้นหาผู้จัดจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ แต่ยังใช้งานนิทรรศการระดับนานาชาติต่างๆในจีนมาส่งเสริมการขายสับปะรดอินโดนีเซียด้วย

จีจีพีเริ่มต้นมีส่วนร่วมในเทศกาลชอปปิงต่างๆ ในจีน และเข้าร่วมการจำหน่ายสินค้าผ่านไลฟ์สตรีมมิงหรือไลฟ์สด โดยใช้แบรนด์ออริจิ (Oriji) เพื่อชูสับปะรดอินโดนีเซียที่มีกลิ่นหอมเข้ม สีสันจัดจ้าน และรสชาติหวานอร่อยให้โดดเด่นเตะตาผู้บริโภคชาวจีนยิ่งขึ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า