รมต.เกษตรฯ ติดตามการดำเนินงาน”ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จ.สกลนคร

รมต.เกษตรฯ ติดตามการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.สกลนครศูนย์ตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาด้านการเกษตร ที่สามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ติดตามการดำเนินงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ณ จังหวัดสกลนคร 

4254CD6D D7E8 41DD 83A4 EA59F0A0CE0B

โดยมีส่วนราชการที่เข้าร่วมดำเนินงานบูรณาการร่วมกัน 16 หน่วยงาน ใน 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุขกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เข้าร่วม ได้แก่ กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตรกรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมประมง และกรมการข้าว

5A87A8FB A715 4C08 8DA0 46EABD564ECA

ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นหน่วยงานในการดูแลของกรมชลประทาน เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นให้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2525 เป็น 1 ใน 6 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั่วประเทศ ที่ดำเนินงานสนองพระราชดำริ 

C7CE3E57 22AB 4802 9BCD 10277FC77CA9

โดยมีวัตถุประสงค์ให้เป็นสถานที่ทำการศึกษาทดลองแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งการพัฒนาที่ดิน การพัฒนาแหล่งน้ำ การฟื้นฟูสภาพป่า การวางแผนปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ และการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชม ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ฝึกอบรมความรู้เพิ่มเติมและนำไปปฏิบัติได้ เพื่อพัฒนาอาชีพในพื้นที่ทำมาหากินของตนเองให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

“ตลอดระยะเวลากว่า 39 ปี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ เป็นตัวอย่างรูปแบบการพัฒนาด้านการเกษตรที่ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการประกอบอาชีพที่ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถขยายผลไปสู่ราษฎรได้เป็นอย่างดี เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ยกระดับความเป็นอยู่คุณภาพชีวิตให้กับเกษตรอย่างมั่นคงและยั่งยืน” ดร.เฉลิมชัย กล่าว

31969C61 256F 45D8 8945 724263A030C9
5C82B10A EF83 4B54 BC82 4479BC1460BD
14B12562 7A91 4B29 91D1 F8E0E58AE761