ก.เกษตรฯ จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือเฉลิมพระเกียรติฯ

กระทรวงเกษตรฯ จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโคกระบือ เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถฯ โดยโคกระบือจะให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตภายใต้ระเบียบและหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโคกระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ หลังครบสัญญาเกษตรกรจะได้รับกรรมสิทธิ์โคเป็นของตนเองต่อไป

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม2565 

BB4354B6 159F 42C1 99CC 94DC55D600DB

โดยมีนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายกัมพล สุภาแพ่ง คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ โรงเรียนนิคมสร้างตนเองเขื่อนเพชร (พิบูลสงเคราะห์ 1) ตำบลเขาใหญ่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วจำนวน 1,251 ราย 

ลูกเกิดโคเพศเมียที่ขยายผลให้เกษตรกรรายอื่น จำนวน 93 ตัว ลูกเกิดโค-กระบือเพศผู้ ที่จำหน่ายแล้วนำเงินส่งโครงการธนาคารโค-กระบือ จำนวน 877 ตัว คิดเป็นมูลค่า 6,370,122 บาท มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือให้แก่เกษตรกรไปแล้วจำนวน 968 ราย คิดเป็นมูลค่า7,744,000 บาท และยังมีกษตรกรอยู่ในความดูแลของโครงการรวม 283 ราย จำนวนโค-กระบือ 375 ตัว 

ซึ่งโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบกับมีการทำงานบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุยในไร่นา     การทำแก๊สชีวภาพ และการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น

40BDA6D9 1E48 4A5D AA62 23F0E9817A3A

ทั้งนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี ได้จัดทำโครงการมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือเฉลิมพระเกียรติและถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยมีกิจกรรมดำเนินการ 2 กิจกรรม ประกอบด้วย 

1) การมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือแก่เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริจำนวน 30 ราย 

และ 2) การไถ่ชีวิตโคเพศเมีย จำนวน 90 ตัว โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีจะนำไปให้เกษตรกรยืมเพื่อการผลิตภายใต้ระเบียบและหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ และเมื่อครบสัญญาแล้ว เกษตรกรจะได้รับกรรมสิทธิ์โคเป็นของตนเองต่อไป

สำหรับโคเพศเมีย จำนวน 90 ตัว ที่ได้รับการไถ่ชีวิตในวันนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรีจะนำไปให้ความช่วยเหลือเกษตรกรตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริในพื้นที่ต่าง ๆ ได้แก่ อำเภอบ้านลาด จำนวน 31 ตัว อำเภอชะอำ จำนวน 28 ตัว อำเภอท่ายาง จำนวน 25 ตัว และอำเภอหนองหญ้าปล้อง จำนวน 6 ตัว

CFDF1EC3 EA2A 402F 8FFC 0C8CB8635B3E

“การขับเคลื่อนโค-กระบือของจังหวัดเพชรบุรี ต้องดำเนินการทั้งในด้านการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้เนื้อมีคุณภาพ ได้ผลตอบแทนที่สูง ถ้าเราสามารถพัฒนาสายพันธุ์ได้ ด้านการตลาดก็จะไม่มีปัญหา อีกทั้งยังต้องรักษาคุณภาพของสินค้าที่ส่งไปขาย ถ้าทำได้จะมีตลาดที่มั่นคง มีลูกค้าที่แน่นอน นอกจากนี้ ยังต้องมีการป้องกันโรค โดยต้องทำความเข้าใจและให้ความรู้แก่ประชาชนว่าโรคต่าง ๆ ที่ระบาดติดต่อได้อย่างไร และมาตรการที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการ เป็นมาตรการที่ช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อไม่ให้การระบาดของโรคแพร่กระจายเป็นวงกว้าง สำหรับการลงพื้นที่ในวันนี้ จะเห็นว่าจังหวัดเพชรบุรีมีความพร้อมในการทำด้านเกษตรและปศุสัตว์ มีพื้นที่เกษตรที่พร้อมเป็นแหล่งอาหาร ที่สำคัญจังหวัดเพชรบุรียังมีโคมากเป็นอันดับ 2 ของภาคกลาง ถ้าเราสามารถพัฒนาคุณภาพและสายพันธุ์เนื้อให้ดียิ่งขึ้น จะสามารถสร้างมูลค่านับหมื่นล้านได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากการดูแลพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์แล้ว กระทรวงเกษตรฯพร้อมที่จะดูแลพี่น้องเกษตรกรทุกกลุ่ม ทั้งพี่น้องชาวประมง และพี่น้องชาวนา เป็นต้น โดยได้มอบหมายหน่วยงานในสังกัดร่วมบูรณาการการทำงาน อาทิ การบริหารจัดการน้ำ การดูแลพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านและการพัฒนาปรับพันธุ์ข้าว เป็นต้น เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องชาวจังหวัดเพชรบุรีอย่างยั่งยืนสามารถเพิ่มเงินในกระเป๋าและสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพี่น้องเกษตรกร” ดร.เฉลิมชัย กล่าว