ระวัง! ด้วงหนวดยาวอ้อย ทำให้หน่อแห้งตาย

เตือนชาวไร่อ้อย เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อย โดยตัวหนอนของด้วงหนวดยาวอ้อยจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ระยะเริ่มปลูกอ้อยด้วยการเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก หน่ออ้อยอายุ 1–3 เดือนจะถูกกัดกินตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออก ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย 

หากอ้อยมีลำแล้วพบการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวอ้อยจะทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งตายทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย   หนอนที่มีขนาดเล็กจะกัดกินบริเวณเหง้าอ้อยทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง  เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย

คำแนะนำสำหรับอ้อยปลูกใหม่หากพบการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน  คือไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยตามรอยไถ   หากพบการเข้าทำลายไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ  โดยโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้วกลบดิน   

35448C06 25E5 447F BF39 35E4D467B528

ส่วนในพื้นที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีตามคำแนะนำสารเคมีชนิดน้ำพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน สารเคมีชนิดเม็ด โรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล0.3% GR อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน 

สำหรับอ้อยระยะแตกกอ  หากพบการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยให้ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ถ้าพบหน่ออ้อยแห้งตายให้ขุดกออ้อยและจับตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยออกมาทำลายนอกแปลง  การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติให้ปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียมอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน   

02EE6D96 0057 4033 B480 8E91246157B4

ส่วนในพื้นที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีตามคำแนะนำการใช้สารเคมีชนิดน้ำให้เปิดร่องอ้อยแล้วพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน  ส่วนการใช้สารเคมีชนิดเม็ดให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% GR อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน

“ด้วงหนวดยาวอ้อยพบการระบาดเข้าทำลายได้ทั้งอ้อยที่ปลูกใหม่และอ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอ  จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจไร่อ้อยหากพบการระบาดไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีกลและวิธีผสมผสาน  แต่หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีชนิดและอัตราการใช้ตามคำแนะนำ  

27BF09C9 3F78 4D01 A231 396E2BCF349D

กรณีการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมและสารเคมีขณะใช้ดินต้องมีความชื้นหรือเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้  และในช่วงที่ฝนเริ่มตกด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกเป็นตัวเต็มวัยให้เฝ้าระวังเมื่อฝนตกหนักครั้งแรกให้สำรวจตัวเต็มวัยในช่วงพลบค่ำ  ถ้าไม่พบตัวเต็มวัยให้รอฝนตกซ้ำครั้งที่ 2  ด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัยให้ทำกับดักหลุมในแปลงอ้อยเพื่อจับตัวเต็มวัยหรือเดินเก็บตัวเต็มวัยในแปลงอ้อยช่วงค่ำ”

2A262EA4 6890 470C 8A52 4F243BED413A
C54448DA 56E1 4311 A2CB 021E25CA1FC1

ที่มา สำนักควบคุมวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร